คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผิดนัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้แชร์
การที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ตกลงกับจำเลยที่ 1 และน. ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกวงเปียแชร์นำเงินไปชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดต่อ น. โดยโจทก์ทั้งสองรับจะเป็นผู้ส่งเงินแชร์วงดังกล่าวและแชร์วงอื่นแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงด้วยนั้น ข้อตกลงเช่นนี้เป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ทำละเมิดต่อ น. จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ย่อมไม่อาจบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้ หนี้เงินแชร์อันเกิดจากการที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ได้ออกแทนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงไปนั้นเป็นหนี้เงิน โจทก์ทั้งสอมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้เงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
ในกรณีที่จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายและโจทก์ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอน และคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์แล้ว หนี้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไม่ใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันที จึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้เงินที่ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด แม้ศาลกำหนดเป็นเงินก้อน
ในกรณีที่จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายและโจทก์ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะเป็นกำหนดเวลาแน่นอน และคำนวณเป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งให้จำเลยชำระให้แก่โจทก์แล้ว หนี้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไม่ใช่หนี้ในอนาคต แต่เป็นหนี้เงินที่จำเลยจะต้องชำระทันที จึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นผิดนัด: เหตุผลเรื่องสติสัมปชัญญะไม่พอฟัง ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ที่ 1 มีสติไม่บริบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อน แต่พฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ของคู่สัญญา
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความตามคำพิพากษาจะกำหนดให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันที่ 20 ตุลาคม2532 เวลา 11 นาฬิกาก็ตาม แต่ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าได้มอบหมายให้ทนายไปที่สำนักงานที่ดินเวลา 10.45 นาฬิกาและได้แจ้งให้ทนายจำเลยที่ 2 ทราบ โดยขอให้แจ้งเจ้าพนักงานเตรียมหลักฐานการโอนไว้ด้วย และโจทก์ได้ไปถึงสำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเช็คและเงินสดเมื่อเวลา 12.10 นาฬิกา แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมดำเนินการให้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้อง ก็ไม่อาจถือว่าโจทก์ผิดนัดผิดสัญญา เพราะเวลา11 นาฬิกาที่กำหนดนัดหมาย ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น หมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิธีของทางราชการมิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จเรียบร้อย แต่ข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์ จำเลยที่ 2 แถลงคัดค้านอยู่ จะต้องมีการไต่สวนทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใดจึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดโดยพิจารณาเฉพาะคำร้องนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ประกอบ การวินิจฉัยต้องอาศัยการไต่สวนข้อเท็จจริง
การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดนัดผิดสัญญานั้นจะต้องพิจารณาการกระทำประกอบกับเจตนาที่ฝ่ายนั้นได้แสดงออกว่าจะไม่นำพาต่อการปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่เป็นสำคัญ แม้ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในวันที่ 20 ตุลาคม 2532เวลา 11 นาฬิกา ก็ตาม แต่เวลา 11 นาฬิกา ที่ กำหนดนัดหมายนั้นต้องหมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิธีของทางราชการมิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จ ฉะนั้นถ้าทนายความซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวแทนโจทก์ไปถึงตามเวลานัดหมายและแจ้งให้ทนายฝ่ายจำเลยทราบถึงเรื่องที่จะดำเนินการต่อไปเช่นนี้ ถือได้ว่าฝ่ายโจทก์ได้ไปตามเวลาที่นัดหมายแล้ว
ถ้าข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์นั้น จำเลยที่ 2 แถลงคัดค้านอยู่จะต้องมีการไต่สวนทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใด จึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา แต่ศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงยังไม่พอให้วินิจฉัย การวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดโดยที่ยังมิได้มีข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นประการใดนั้นไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องพิจารณาเจตนาและพฤติการณ์ของคู่สัญญาประกอบ
การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายใดผิดนัดนั้นจะต้องพิจารณาการกระทำประกอบกับเจตนาที่ฝ่ายนั้นได้แสดงออกมาว่าจะไม่นำพาต่อการปฏิบัติตามนัดตามสัญญาหรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าได้มอบหมายให้ทนายความไปที่สำนักงานที่ดินเมื่อเวลา 10.45 นาฬิกา และได้แจ้งให้ทนายความจำเลยร่วมทราบโดยขอให้เจ้าพนักงานเตรียมหลักฐานการโอนไว้ แต่จำเลยร่วมไม่ดำเนินการให้ กรณีก็ไม่อาจจะถือได้ว่าโจทก์ผิดนัด เพราะเวลา 11 นาฬิกา ที่กำหนดนัดหมายในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นต้องหมายถึงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายไปพร้อมกันเพื่อเริ่มดำเนินการตามแบบพิธีของทางราชการ มิใช่หมายถึงเวลาที่ทำการโอนเสร็จเรียบร้อย จะต้องมีการไต่สวนคู่ความทั้งสองฝ่ายว่าความจริงเป็นประการใดจึงจะวินิจฉัยได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับค่าจ้างและโบนัสของลูกจ้าง, การผิดนัดชำระค่าจ้าง, และขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน
โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยหลีกเลี่ยงให้โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันและหาทางบ่ายเบี่ยงไม่ให้ค่าจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์มาลงชื่อเพื่อปฏิบัติงานในวันต่อไป เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการอุทธรณ์นอกเหนือไปจากที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์และจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานของจำเลยทุกคนในวันที่ 28 สิงหาคม 2533 โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ย่อมมีความหมายว่าการจ่ายเงินโบนัสของจำเลยในวันดังกล่าว นอกจากพนักงานผู้มีสิทธิได้รับเงินโบนัสต้องมีอายุการทำงานครบ 1 ปี นับแต่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว ยังต้องมีตัวอยู่ในวันที่มีการจ่ายเงินโบนัสด้วย เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนวันที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัส โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส
จำเลยจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายเป็นการผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังจ่ายให้ไม่ครบตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การจ่ายค่าจ้าง, โบนัส, และดอกเบี้ยกรณีผิดนัด จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำ
โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยหลีกเลี่ยงให้โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันและหาทางบ่ายเบี่ยงไม่ให้ค่าจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์มาลงชื่อเพื่อปฏิบัติงานในวันต่อไป เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการอุทธรณ์นอกเหนือไปจากที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์และจำเลยทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่าจำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานของจำเลยทุกคนในวันที่ 28 สิงหาคม 2533โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ย่อมมีความหมายว่าการจ่ายเงินโบนัสของจำเลยในวันดังกล่าวนอกจากพนักงานผู้มีสิทธิได้รับเงินโบนัสต้องมีอายุการทำงานครบ 1 ปี นับแต่มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วยังต้องมีตัวอยู่ในวันที่มีการจ่ายเงินโบนัสด้วย เมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนวันที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัส โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส จำเลยจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายเป็นการผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังจ่ายให้ไม่ครบตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำเลยต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์ระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละสิบห้าต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระหลายงวดต่อเนื่อง ยึดทรัพย์ได้ แม้โจทก์เคยผ่อนผัน
แม้สัญญาเช่าซื้อระบุชัดแจ้งว่า ผู้เช่าซื้อจะต้อง ชำระเงินตาม ที่กำหนดไว้ในรายการ แต่ ปรากฏว่าเมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาทุกงวด โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ก็ยอมรับโดย มิได้ทักท้วงและออกใบเสร็จรับเงินระบุเป็นการ ชำระ ค่าเช่าซื้องวดที่ค้างชำระ จึงถือ ได้ ว่าคู่สัญญามิได้ ถือ เอากำหนดเวลาชำระเป็นสำคัญแต่ ถือ เอา การชำระตาม งวดเป็น ข้อสำคัญ แต่ จำเลยมิได้ชำระค่างวด 5 งวดติดต่อ กัน จึงเป็น การ ค้าง ชำระติดต่อ กันเกิน 2 งวดแล้ว อันเป็นการผิดสัญญาใน ข้อสำคัญ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้.
of 41