คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ขับขี่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5160/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้ขับขี่และผู้เอาประกันภัย รวมถึงการคิดดอกเบี้ยจากวันที่จ่ายค่าเสียหาย
ตารางกรมธรรม์เอกสารท้ายคำให้การที่จำเลยที่ 2 ทำประกันภัยกับจำเลยที่ 3 ข้อ 2.3 ระบุให้จำเลยที่ 3 รับผิดในความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไม่เกิน 250,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จำเลยที่ 3 จึงร่วมรับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินไป เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายจำนวน 500,000 บาท ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ซึ่งใบสั่งจ่ายระบุวันจ่ายเงินวันที่ 27 มีนาคม 2539 จึงเห็นสมควรแก้ไขให้จำเลยทั้งสามรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 27 มีนาคม 2539 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
จำเลยที่ 4 ไม่นำสืบว่าเหตุใดจึงยอมรับทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันนี้กับจำเลยที่ 3 ทั้งๆ ที่น่าจะทราบดีว่าจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามพฤติการณ์เชื่อว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 โดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใดๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำให้แทนตนก็ได้ สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีผลบังคับใช้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์นำรถยนต์คันนี้ไปใช้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้ว และตามสัญญาประกันภัย หมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 2.6 ระบุว่าการคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุนกรณีผู้ขับขี่รถยนต์ทำละเมิด และดอกเบี้ยจากค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 โดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ตัวการซึ่งเปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำไว้แทนตนก็ได้ สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีผลบังคับใช้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปใช้ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้วตามสัญญาประกันภัยหมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 2.6 ระบุว่า การคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในฐานะผู้เอาประกันภัยจะไม่ต้องรับผิดในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11149/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับขี่ที่ก่อเหตุแล้วไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและหลบหนี มีองค์ประกอบความผิดฟ้องได้
คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ว่า ภายหลังจากที่จำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. แล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่รถในทางและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่นดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. แล้ว มิได้หยุดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บตามสมควร และมิได้นำเหตุที่เกิดไปแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีโดยจำเลยหลบหนีไป และขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78, 160 ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดตามมาตราที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยแล้ว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า มิได้หยุดให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บตามสมควร โดยไม่ได้บรรยายว่าหยุดอะไรนั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องตอนต้นแล้วว่า จำเลยเป็นผู้ขับขี่รถในทางและก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าจำเลยมิได้หยุดรถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องได้ดี จึงมิใช่ฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10267/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิด: เจ้าของรถ vs. ผู้ขับขี่และผู้จ่ายค่าพาหนะ
แม้โจทก์จะเป็นบิดา ณ. เจ้าของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ และเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ และไม่มีกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุจะต้องรับผิดต่อ ณ. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเหตุละเมิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่เกี่ยวกับตัวรถโดยตรงจากจำเลย นอกจากนี้ ณ. เป็นผู้ใช้รถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุขับไปเรียนหนังสือ จึงเป็นสิทธิของ ณ. ที่จะฟ้องเรียกค่าพาหนะดังกล่าวมิใช่โจทก์ แม้โจทก์จะเป็นผู้จ่ายค่าพาหนะให้แก่ ณ. ก็ตามโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเรียกหน่วยงานรัฐเข้ามาในคดีละเมิด และประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลภายนอกให้เข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ เมื่อความปรากฎแก่ศาลว่า จำเลยร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นเห็นเป็นการสมควรและเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมย่อมมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามที่โจทก์ร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ได้ ไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: การประเมินความประมาทของผู้ขับขี่และน้ำหนักพยานหลักฐาน
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่ว่าได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุ ทำแผนที่เกิดเหตุ และให้ความเห็นจากการตรวจที่เกิดเหตุ และแผนที่เกิดเหตุประกอบกันว่าเหตุเกิดเพราะความผิดของฝ่ายใด มิใช่พยานบอกเล่า รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10368/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติในคดีเสพยาเสพติดขณะปฏิบัติหน้าที่ พิจารณาจากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 และภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำความผิดอื่นอีก น่าเชื่อว่าจำเลยมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติจำเลยไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6277/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์ กรณีผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับเอง และการกำหนดดอกเบี้ยที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามสัญญาประกันภัยในกรณีที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของ ม. และ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการที่โจทก์กระทำละเมิดขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยเฉี่ยวชนรถยนต์ของ ม. และ ส. ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ในนามของโจทก์จากจำเลยผู้รับประกันภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 ส่วนที่โจทก์จะได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ม. และ ส. บุคคลภายนอกแล้วหรือไม่นั้น ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะมิใช่กรณีรับช่วงสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่การที่จำเลยปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ เนื่องจากมีหลักฐานในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ขับรถยนต์ในขณะเกิดเหตุ และคนขับรถของโจทก์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์อันเป็นเงื่อนไขที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงเป็นการสู้ความโดยมีเหตุสมควร สมควรกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297-308/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ขับขี่และเจ้าของรถต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ ไปรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปจากความปกครองดูแลของจำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยินยอมอนุญาต น่าเชื่อว่าบิดามารดาของจำเลยที่ 1 ไว้วางใจให้จำเลยที่ 4 ดูแลจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ออกไปข้างนอกกับจำเลยที่ 4 ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับดูแลจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์โดยปริยาย กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 430 แห่ง ป.พ.พ. ที่บัญญัติว่า ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้น ๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
การที่จำเลยที่ 4 เป็นผู้ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถออกไปขับโดยจำเลยที่ 4 ไม่ได้ห้ามปรามทั้งที่จำเลยที่ 4 ทราบดีว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์และไม่มีใบอนุญาตขับรถ เป็นการไม่เอาใจใส่ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ จะขับรถไปเสี่ยงแก่การเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ จำเลยที่ 4 ผู้รับดูแลจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์โดยปริยาย จึงมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนอันเป็นการละเมิดต่อผู้อื่น จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ป.พ.พ. มาตรา 430
of 19