พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีของบริษัทเมื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่เสียภาษีในนามบุคคลธรรมดา สิทธิในการหักค่าใช้จ่ายของบริษัท
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 75 ที่บัญญัติว่าให้เสียภาษีในส่วน 2 ว่าด้วยการเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดานั้น หมายความว่าบุคคลธรรมดาผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ๆ จะต้องไปเสียภาษีในส่วน 2 หาได้หมายความว่าให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ๆ ไปเสียภาษีตามส่วน 2 ไม่ จึงไม่มีอะไรที่จะหักค่าใช้จ่ายให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 47 (1) (ก) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีบุคคลธรรมดาจากหุ้นส่วน/ผู้ถือหุ้นนิติบุคคล: ค่าใช้จ่ายไม่สามารถหักลดหย่อนในนามนิติบุคคล
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 75 ที่บัญญัติว่าให้เสียภาษีในส่วน 2 ว่าด้วยการเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดานั้นหมายความว่าบุคคลธรรมดาผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วน ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นๆ จะต้องไปเสียภาษีในส่วน 2 หาได้หมายความว่าให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นๆ ไปเสียภาษีในส่วน 2 ไม่จึงไม่มีอะไรที่จะหักค่าใช้จ่ายให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 47(1)(ก) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกบริษัทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถือหุ้นมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แล้วต่อมาจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ศาลได้พิพากษาตามยอมโดยหาได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่ามีเหตุที่จะเลิกบริษัทดังฟ้องไม่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194, 1236 (4) โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 อยู่ด้วย ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีปลดเปลื้องความเสียหายโดยขอให้ศาลแสดงว่าคำพิพากษาตามยอมในคดีนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ในอันที่จะให้บริษัทจำเลยที่ 1 คงมีอยู่ต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกบริษัทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถือหุ้นมีสิทธิฟ้องปลดเปลื้องความเสียหาย
จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องบริษัทจำเลยที่ 1 ขอให้เลิกบริษัทจำเลยที่1 จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แล้วต่อมาจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ศาลได้พิพากษาตามยอมโดยหาได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่ามีเหตุที่จะเลิกบริษัทดังฟ้องไม่ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194,1236(4) โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 อยู่ด้วย ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีปลดเปลื้องความเสียหาย โดยขอให้ศาลแสดงว่าคำพิพากษาตามยอมในคดีนั้นไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1ในอันที่จะให้บริษัทจำเลยที่ 1 คงมีอยู่ต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ถือหุ้น และการวินิจฉัยข้อกฎหมายหลังฟังข้อเท็จจริงไม่สมฟ้อง
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกเงินของบริษัท แต่ขณะที่ฟ้องนี้โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้น โดยถ้อยคำและความหมายย่อมชัดเจนอยู่ว่าไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของบริษัทอันจะฟ้องความหรือจัดการแทนบริษัทในคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (3) จะขอให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับก็ไม่มีทางจะอนุโลมได้ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 ที่โจทก์อ้างมาก็เป็นเรื่องฟ้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการอันเป็นเรื่องทางแพ่ง
ศาลไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยปัญหาทุกข้อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดจริงตามฟ้องแล้ว จะไม่วินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องก็ได้
ศาลไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยปัญหาทุกข้อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดจริงตามฟ้องแล้ว จะไม่วินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัทต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(3) และต้องมีหลักฐานการกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยยักยอกเงินของบริษัท แต่ขณะที่ฟ้องนี้โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้น โดยถ้อยคำและความหมายย่อมชัดเจนอยู่ว่าไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของบริษัท อันจะฟ้องความหรือจัดการแทนบริษัทในคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) จะขอให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาบังคับก็ไม่มีทางจะอนุโลมได้ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1169 ที่โจทก์อ้างมาก็เป็นเรื่องฟ้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการอันเป็นเรื่องทางแพ่ง
ศาลไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยปัญหาทุกข้อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดจริงตามฟ้องแล้ว จะไม่วินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องก็ได้
ศาลไม่จำเป็นจะต้องวินิจฉัยปัญหาทุกข้อ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดจริงตามฟ้องแล้ว จะไม่วินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ผู้เช่า: เจ้าของกรรมสิทธิ์ฟ้องได้แม้มีการมอบอำนาจและมีผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
ล.เป็นบิดา ฉ. เป็นมารดาของ ภ.พ.และ อ. เมื่อ ล.ตายศึกพิพาทตกเป็นมรดกแก่ ฉ.ภ.พ. และ อ. ผลที่สุดเมื่อ ฉ. ตายอีกก็ตกเป็นมรดกแก่ ภ.พ. และอ. พ. และอ. มอบให้ ภ. เป็นผู้จัดการ ภ. มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้จัดการแทนอีกทอดหนึ่ง หนังสือมอบอำนาจจะเขียนว่าตึกพิพาทเป็นมรดกของ ล. หรือ ฉ. ก็หามีความหมายผิดกันไม่ และการที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มอบอำนาจทั่วไปแก่ ส.นี้ก็ไม่ใช่เรื่องผู้จัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 และ 1358 ไม่ตรงกับรูปคดีนี้
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เชียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไป เป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆ ไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง
เมื่อทำสัญญาเช่าก็เชียนชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ว่าเป็นเจ้าของบริษัทจำเลยที่ 2 เมื่อนำสืบก็รับว่ามีคนภายนอกถือหุ้นอยู่ด้วยไม่เกินร้อยละสิบ ที่ตั้งทำการของจำเลยที่ 2 ก็คือตึกรายพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าไป เป็นเหตุผลเพียงพอให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์ระบุชัดในคำฟ้องเรียกบริษัทเป็นจำเลยที่ 2 โดยบรรยายด้วยว่าเป็นนิติบุคคล คำขอให้ขับไล่จำเลยย่อมหมายถึงจำเลยทั้งสอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกรายพิพาทในขณะที่ฟ้องขับไล่ ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดถึงความเป็นมาแห่งตึกนี้
คำฟ้องระบุชื่อจำเลยทั้งสองไว้ในตอนต้นแล้ว ตอนต่อๆ ไปแม้จะใช้คำว่าจำเลยก็มีความหมายว่าจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลของการโอนหุ้นที่ไม่สมบูรณ์
สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้นั้น เป็นการให้เรียกร้องมาเป็นสินทรัพย์ของบริษัทผู้ล้มละลาย เพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายตามส่วนดังนั้น จะต้องเป็นผู้ถือหุ้นตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดชำระต่อบริษัทส่วนผู้ที่จะต้องรับผิดเพราะการแสดงออกให้เจ้าหนี้บางคนหลงเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ถือหุ้นประการใดนั้นเป็นเรื่องของเจ้าหนี้ผู้หลงเข้าใจผิดแต่ละรายไปหาใช่สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องคดีอาญาแทนบริษัทเมื่อกรรมการฉ้อโกง และหลักการฟ้องซ้ำในคดีอาญา
ในกรณีที่กรรมการบริษัทจำกัดฉ้อโกงบริษัท และบริษัทนั้นไม่ยอมดำเนินคดีกับกรรมการที่ฉ้อโกง ผู้ถือหุ้นย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีทางอาญาขอให้ลงโทษกรรมการผู้นั้นได้
เมื่อได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่หาว่าจำเลยได้กระทำขึ้นเกี่ยวกับเงินจำนวนใดแล้ว จะฟ้องจำเลยนี้ในจำนวนเงินเดียวกันนั้นอีก แม้จะอ้างความผิดคนละฐานกับคดีเดิมก็ตาม จะกระทำมิได้ เป็นฟ้องซ้ำเพราะสิทธินำคดีมาฟ้องระงับไปแล้ว
อุทธรณ์บางข้อที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเสียเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไป ถ้าเห็นเป็นการสมควร (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
เมื่อได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่หาว่าจำเลยได้กระทำขึ้นเกี่ยวกับเงินจำนวนใดแล้ว จะฟ้องจำเลยนี้ในจำนวนเงินเดียวกันนั้นอีก แม้จะอ้างความผิดคนละฐานกับคดีเดิมก็ตาม จะกระทำมิได้ เป็นฟ้องซ้ำเพราะสิทธินำคดีมาฟ้องระงับไปแล้ว
อุทธรณ์บางข้อที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเสียเองได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไป ถ้าเห็นเป็นการสมควร (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ถือหุ้นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อที่บิดพริ้วสัญญา แม้ผู้ถือหุ้นไม่ได้ทำสัญญากับผู้ซื้อโดยตรง
ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นบริษัทตกลงให้ขายหุ้นของบริษัทแก่ผู้ซื้อ และผู้จัดการบริษัทได้ทำสัญญาขายหุ้นกับผู้ซื้อแทนผู้ถือหุ้น ภายหลังผู้ซื้อบิดพริ้วไม่ยอมรับซื้อหุ้น ที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นได้ตกลงให้ขายหุ้นให้แก่บุคคลอื่นไปได้ราคาต่ำกว่าที่ผู้ซื้อตกลงไว้ ผู้ถือหุ้นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ซื้อเดิมเป็นจำเลยได้ เพราะการทำสัญญาของผู้ซื้อกับผู้แทนบริษัทซึ่งทำแทนผู้ถือหุ้นนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการประชุมของผู้ถือหุ้น