พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์, พินัยกรรม, และสิทธิในทรัพย์มรดก: ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินและสิทธิการเช่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทตั้งอยู่ซอยขี้วัวถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานครเนื้อที่ 1 ไร่เศษ มีบ้านเลขที่ 34 ถึงเลขที่ 38 และเลขที่ 40 ตั้งอยู่ จำเลยทั้งสองสามารถเข้าใจดีแล้วว่าเป็นที่แปลงใด ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ว่า เป็นที่ดินโฉนดที่เท่าใด เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องมา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ข้อความตอนต้นในพินัยกรรมระบุว่า ข้าพเจ้าทำหนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นก่อนหน้าที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศมีกำหนด 45 วัน หนังสือพินัยกรรมฉบับนี้ข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้มีผลใช้บังคับได้ เมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตไปแล้วข้อความดังกล่าวเป็นแต่เพียงการระบุข้อเท็จจริงให้ทราบว่าได้ทำพินัยกรรมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มิได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากตนเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วให้พินัยกรรมสิ้นผลบังคับ พินัยกรรมฉบับนี้จึงไม่มีลักษณะเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านพินัยกรรมตามเอกสารหมาย ล.6ไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องกับต้นฉบับคงอ้างว่าเอกสารหมาย ล.6 เป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าต้นฉบับของพินัยกรรมสูญหาย ศาลย่อมรับฟังสำเนาพินัยกรรมตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) ตามทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเอกสารหมาย จ.4 ปรากฏว่าขณะเจ้ามรดกจดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมเจ้ามรดกมีอายุ 25 ปี จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1582 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้นที่กำหนดว่าผู้รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 30 ปี ส่วนการรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมตามเอกสารหมาย จ.3 เจ้ามรดกแจ้งว่าเป็นโสด แต่ความจริงเจ้ามรดกได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ โจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จึงขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับขณะนั้น การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลตามกฎหมาย มารดาเจ้ามรดกเช่าที่ดิน 3 แปลง จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำหนดเพียง 1 ปี เมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับไป จึงรับมรดกเป็นผู้เช่าต่อไปไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองคงครอบครองที่ดินต่อมาแล้วให้ผู้อื่นเช่าก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสองกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หาใช่ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6417/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความวิกลจริตของผู้ทำพินัยกรรมและการบังคับใช้พินัยกรรม
สิทธิและหน้าที่ใด ๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรมจะบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไป และกรณีจะพิสูจน์ว่าพินัยกรรมเป็นอันเสียเปล่าเพราะเหตุในเวลาที่ทำพินัยกรรมผู้ทำจริตวิกลอยู่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1704 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันว่าพินัยกรรมที่บุคคลวิกลจริตทำขึ้นนั้นเสียเปล่า โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียได้กล่าวอ้างขึ้นเพื่อให้มีการพิสูจน์เช่นนั้น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรมยังมิได้ถึงแก่ความตายจึงยังถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องหรือเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ว่าขณะที่ผู้ร้องทำพินัยกรรมนั้น ผู้ร้องเป็นคนวิกลจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6417/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์พินัยกรรมเป็นโมฆะเนื่องจากวิกลจริต ต้องมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากผู้มีส่วนได้เสีย
กรณีจะพิสูจน์ว่า พินัยกรรมเป็นอันเสียเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1704 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทว่า พินัยกรรมที่บุคคลวิกลจริตทำขึ้นนั้นเสียเปล่า โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียได้กล่าวอ้างขึ้นเพื่อให้มีการพิสูจน์เช่นนั้น คำร้องขอของผู้ร้องให้พิสูจน์ว่าพินัยกรรมเป็นอันเสียเปล่าต่างจากการร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลได้ กรณีของผู้ร้องยังถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิหรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การถอดถอนผู้จัดการมรดกและคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกก็เพราะเหตุที่ผู้ร้องเห็นว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องและบุตรของผู้ร้องเท่านั้นและทรัพย์มรดกที่มีอยู่ทั้งหมดถูกระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว การไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในกรณีเช่นนี้ยังไม่เป็นเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดก การที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องโอนทรัพย์มรดกอันเป็นสินสมรสของผู้คัดค้านเป็นของตน เป็นการส่อไปในทางทุจริตนั้น คดีไม่มีประเด็นให้พิจารณาว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ผู้ร้องได้รับตามพินัยกรรมมีสินสมรสของผู้คัดค้านอยู่ด้วยหรือไม่ ผู้คัดค้านกับ ส. มิได้มีสิทธิในทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้งไม่มีประเด็นว่าทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมมีสินสมรสของผู้คัดค้านรวมอยู่ด้วยหรือไม่ จึงยังไม่มีเหตุผลสมควรจะตั้ง ส.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาและการถือครองทรัพย์สินแทนผู้อื่น: ศาลฎีกาพิพากษาว่าข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ระบุทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยส่งหมายนัดให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในคำให้การ ปรากฏว่าส่งไม่ได้ จึงปิดประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลเมื่อถึงวันที่ 29 เมษายน 2534 ซึ่งเป็นวันนัดศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2534ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าการที่จำเลยไม่ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพราะเจ้าหน้าที่มิได้นำหมายนัดไปส่งให้แก่ทนายจำเลยตามที่อยู่ใหม่ การประกาศแจ้งวันนัดหน้าศาลจึงไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงยุติและในวันเดียวกันนั้นศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าอนุญาตให้จำเลยยื่นฎีกานับแต่วันนี้จึงถือได้ว่าในวันที่ 13 กันยายน 2534 จำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ซึ่งจะครบกำหนดฎีกาในวันที่ 13 ตุลาคม 2534แต่ปรากฎว่าวันที่ 13 ถึง 15 ตุลาคมเป็นวันหยุดราชการ จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 16 ตุลาคม 2534 จึงอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมย่อมเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5647/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในพินัยกรรม และการระบุพยานผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่นประกอบ
ที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลควรอนุญาตให้ผู้ร้องระบุพยานผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม เพราะตามรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ลายมือชื่อของเจ้ามรดกมีลักษณะการเขียนไม่คงที่ เขียนได้หลายแบบไม่มีลักษณะของการเขียนเด่นชัดเพียงพอ ไม่อาจตรวจพิสูจน์ได้ เป็นความเห็นมีลักษณะเอื้อประโยชน์แก่ผู้คัดค้านฝ่ายเดียว ผู้ร้องจำเป็นต้องซักค้านผู้เชี่ยวชาญและระบุผู้เชี่ยวชาญอื่นเป็นพยานเพิ่มเติมนั้นปรากฏว่าผู้ร้องก็เป็นฝ่ายขอให้ทำการตรวจพิสูจน์เช่นเดียวกันความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมิได้ส่อไปในทางไม่สุจริต แม้สามารถทำการตรวจพิสูจน์ได้ก็มิใช่จะรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเสียทีเดียว จะต้องพิจารณาตามลักษณะการเขียนและพยานหลักฐานอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งศาลย่อมตรวจดูได้ การขอให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นทำการตรวจอีกจึงไม่จำเป็น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องระบุพยานผู้เชี่ยวชาญอื่นเป็นพยานเพิ่มเติม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทตามพินัยกรรมมีอำนาจฟ้องเรียกร้องมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง
การตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมก็เพื่อความสะดวกในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทเท่านั้น หาได้มีกฎหมายห้ามทายาทตามพินัยกรรมฟ้องเรียกเอามรดกเป็นส่วนของตนไม่ โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งห้าเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทคนละ 78.33 ตารางวา ในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องแต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ต้องถือทุนทรัพย์แต่ละคนแยกกัน โจทก์ทั้งห้าตั้งทุนทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 833,466 บาท เท่ากับโจทก์ตั้งทุนทรัพย์คนละ 166,693.20บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดก: ทายาทผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิมากกว่าทายาทโดยธรรมเมื่อมรดกมีผู้รับพินัยกรรมชัดเจน
ทายาทที่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นได้แก่ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมซึ่งมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก แม้ผู้ร้องที่ 2 จะเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่มีสิทธิรับมรดก แต่มรดกที่ผู้ร้องที่ 2 ขอเป็นผู้จัดการนั้นมีพินัยกรรมระบุยกให้แก่ ส. ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับมรดกดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดกและการตัดสิทธิทายาทโดยพินัยกรรม
ผู้ร้องทั้งสองเป็นบิดามารดาของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านที่ 1เป็นบุตรของผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร้างกันในเวลาต่อมาโดยตาย กับผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินร่วมกันจากนั้นผู้ตายถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับเงินรางวัลและผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องทั้งสอง, ส.,ล., จ. และตั้งให้ผู้ร้องทั้งสองหรือคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วมกันกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 1 นั้น แม้จะเป็นบุตรที่ผู้ตายได้รับรองแล้วมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรม แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ถูกผู้ตายตัดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรมประการหนึ่ง กับเมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้วถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้ได้รับมรดกอีกประการหนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะมาร้องขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกพระภิกษุ & ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: ทรัพย์สินตกแก่วัดเมื่อไม่มีพินัยกรรม
แม้เจ้ามรดกจะมีความประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่จะนำทรัพย์สินที่ชาวบ้านมาถวายไปสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุก็ตาม แต่เจ้ามรดกก็ไม่ได้ทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ เพียงแต่แสดงเจตนาไว้เท่านั้น ดังนั้น ความประสงค์หรือเจตนารมณ์ของเจ้ามรดกที่จะสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุหลังจากมรณภาพแล้วจึงไม่เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมาย และด้วยเหตุนี้ทรัพย์สินทุกอย่างไม่ว่าจะได้มาโดยทางใดรวมทั้งทรัพย์สินที่ชาวบ้านถวายเพื่อทำบุญสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุก็เป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาเพราะเป็นพระภิกษุโดยตรง เมื่อเจ้ามรดกมรณภาพในขณะเป็นพระภิกษุโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร ทรัพย์สินของเจ้ามรดกนั้นย่อมตกได้แก่วัดผู้ร้องที่พระภิกษุนั้นมีภูมิลำเนา เมื่อผู้คัดค้านถอนเงินมรดกของเจ้ามรดกซึ่งตามกฎหมายจะต้องตกได้แก่วัดผู้ร้อง โดยผู้คัดค้านมิได้นำไปให้วัดผู้ร้องแต่กลับนำไปสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมม่อนธาตุ เมื่อผู้ร้องทวงถามในฐานะเป็นเจ้าของผู้คัดค้านไม่ยอมส่งมอบ ทั้งไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเป็นการละเลยต่อหน้าที่ จึงสมควรถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก