คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681-3682/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: คำขอค่าเสียหายในคดีอาญาขัดแย้งกับฟ้องคดีแรงงาน, การอุทธรณ์พยานหลักฐานต้องห้าม
พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยในคดีก่อนว่า ได้ร่วมกับจำเลยอื่นยักยอกเงินรายอื่น ซึ่งเป็นเงินรายเดียวกับรายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ หาใช่เป็นเงินจำนวนที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ คดีแพ่งอันเกี่ยวเนื่อง กับคดีอาญาที่จะต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ ศาลแรงงานกลางต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ว่า โจทก์นำสืบได้สมกับที่มีภาระการพิสูจน์หรือไม่ จากการนำสืบของโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานใดที่จะพิสูจน์ได้สมตามประเด็นที่กล่าวอ้าง โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งมีผลเท่ากับขอให้ศาลฎีการับฟังว่า จำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติผิดต่อข้อบังคับ และมิได้กระทำการทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ดังที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานร่วมกันยักยอกและฉ้อโกง กับมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้เสียหายคือโจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นรายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้อง และมีคำขอบังคับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้โดยโจทก์ยื่นฟ้องในระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาข้างต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)ซึ่งอนุโลมมาใช้บังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ละเมิด: ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายเช็ค, ค่าทนาย, ค่าเสียหายทางชื่อเสียง, และการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายด้วยแล้ว ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าเสียหายที่โจทก์ต้องไปซื้อถ้วยแก้วจากผู้อื่นแพงขึ้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการที่โจทก์ต้องชำระเงินตามเช็คที่จำเลยโอนไปให้แก่บุคคลภายนอกและเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่โจทก์ต้องแต่งตั้งทนายความสู้คดีและต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นคนละเรื่องต่างประเด็นกัน และโจทก์เพิ่งชำระเงินตามเช็คไปหลังจากศาลชั้นต้นในคดีก่อนพิพากษาคดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
คำให้การของจำเลยต่อสู้ปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 มิได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำมาตรา 144 และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ ดังนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จึงชอบแล้ว
จำเลยผิดนัดสัญญาโอนเช็คที่โจทก์จ่ายเป็นประกันการชำระราคาซื้อขายถ้วยแก้วให้บุคคลภายนอก โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องและได้ชำระเงินตามเช็คให้บุคคลภายนอกไปแล้ว ค่าดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกผู้เป็นโจทก์นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยได้ เพราะไม่เป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา
ความรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเรื่องละเมิดเกี่ยวกับการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณนั้น มีแต่เฉพาะการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรณีต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติยศ เพราะถูกจำคุกตามคำพิพากษา
ค่าจ้างทนายความต่อสู้คดีที่โจทก์ผู้สั่งจ่ายถูกผู้ทรงฟ้องไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาและแม้จะเป็นเรื่องละเมิดก็นับว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเอาแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง: การพิพาทสิทธิที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดและขัดขวางการครอบครอง
คดีแรก พ.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินกับโจทก์และส. ได้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายจำเลยในคดีนี้ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าว โดยถูกศาลเรียกให้เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วยคนหนึ่งฟ้องว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขัดขวางไม่ให้โจทก์เก็บค่าเช่าห้องแถวพิพาทขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับในคดีทั้งสองแตก ต่างกัน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 173(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-อำนาจฟ้อง: การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด, การโต้แย้งสิทธิ, และการครอบครองปรปักษ์
คดีแรก พ.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินกับโจทก์และส. ได้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าเดิมออกจากห้องแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายจำเลยในคดีนี้ได้เข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวโดยถูกศาลเรียกให้เข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วยคนหนึ่งฟ้องว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาโดยซื้อจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยขัดขวางไม่ให้โจทก์เก็บค่าเช่าห้องแถวพิพาท ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินและห้องแถวพิพาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับในคดีทั้งสองแตกต่างกันจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ฟ้องโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 173(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดซ้อน: จัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีคำพิพากษาในคดีก่อน ศาลยังฟ้องซ้ำได้หากคดีแรกเป็นฟ้องซ้อน
จำเลยถูกฟ้องข้อหาจัดหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 สองคดี เมื่อระยะเวลาเกิดเหตุในอีกคดีหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาเกิดเหตุในคดีนี้ ทั้งไม่มีการหยุดดำเนินกิจการในช่วงระยะเวลาเกิดเหตุตามฟ้องทั้งสองคดี แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะดำเนินการในการจัดหางานคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้อีกคดีหนึ่งศาลชั้นต้นจะพิพากษาก่อนคดีนี้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีนี้แสียแล้ว การกระทำความผิดในข้อหานี้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3622/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีการฟ้องก่อนและยกฟ้องซ้อน ศาลยังฟ้องซ้ำได้
จำเลยถูกฟ้องข้อหาจัดหางานโดยเรียกและรับค่าบริการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 สองคดี เมื่อระยะเวลาเกิดเหตุในอีกคดีหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาเกิดเหตุในคดีนี้ ทั้งไม่มีการหยุดดำเนินกิจการในช่วงระยะเวลาเกิดเหตุตามฟ้องทั้งสองคดี แสดงว่าจำเลยมีเจตนาที่จะดำเนินการในการจัดหางานคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้อีกคดีหนึ่งศาลชั้นต้นจะพิพากษาก่อนคดีนี้ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีนี้แสียแล้ว การกระทำความผิดในข้อหานี้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องซ้อนความผิดจัดหางาน-ฉ้อโกง, ข้อจำกัดการฎีกาในคดีจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ฎีกาว่าข้อนำสืบของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชักชวนผู้เสียหายหรือโฆษณาต่อประชาชนให้ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลาง และไม่นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ตั้งใจส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดทางอาญาแต่เป็นความรับผิดทางแพ่ง เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้ว่าวันเกิดเหตุของคดีความผิดฐานฉ้อโกงในคดีนี้จะคาบเกี่ยวกันกับคดีแรก แต่ผู้เสียหายเป็นคนละชุดกัน ถูกหลอกลวงต่างวันหรือต่างเวลากัน เงินที่ถูกหลอกลวงก็เป็นคนละจำนวนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำซ้อนกับคดีแรก
ปัญหาที่ว่ามีการกระทำผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาว่าการจัดหางานนั้นได้กระทำต่อเนื่องเป็นคราวเดียวกันหรือไม่ มิใช่พิจารณาว่าเป็นการจัดหางานให้แต่ละคนหรือแต่ละช่วงเวลาตามแต่จะกำหนดเป็นสำคัญ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามได้ออกอุบายตั้งสำนักงานจัดหางานให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งการกระทำผิดในคดีนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกับคดีแรกโดยไม่ปรากฏว่ามีการหยุดดำเนินกิจการในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาดำเนินการในการจัดหางานคราวเดียวกันการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองคดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นกรรมเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานจัดหางาน ฯ จึงซ้อนกับคดีแรก ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ฎีกาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนนั้นเป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัย
เมื่อฟ้องโจทก์บางฐานความผิดเป็นฟ้องซ้อน ถือได้ว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษในฐานความผิดที่เป็นฟ้องซ้อนด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-กรรมเดียว: จัดหางาน, ฉ้อโกง, ข้อจำกัดการฎีกา, อำนาจศาล
ฎีกาว่าข้อนำสืบของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชักชวนผู้เสียหายหรือโฆษณาต่อประชาชนให้ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลาง และไม่นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ตั้งใจส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดทางอาญาแต่เป็นความรับผิดทางแพ่ง เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้ว่าวันเกิดเหตุของคดีความผิดฐานฉ้อโกงในคดีนี้จะคาบเกี่ยวกันกับคดีแรก แต่ผู้เสียหายเป็นคนละชุดกัน ถูกหลอกลวงต่างวันหรือต่างเวลากัน เงินที่ถูกหลอกลวงก็เป็นคนละจำนวนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำซ้อนกับคดีแรก
ปัญหาที่ว่ามีการกระทำผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตหลายกรรมหรือไม่ต้องพิจารณาว่าการจัดหางานนั้นได้กระทำต่อเนื่องเป็นคราวเดียวกันหรือไม่ มิใช่พิจารณาว่าเป็นการจัดหางานให้แต่ละคนหรือแต่ละช่วงเวลาตามแต่จะกำหนดเป็นสำคัญ เมื่อได้ความว่าจำเลยทั้งสามได้ออกอุบายตั้งสำนักงานจัดหางานให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งการกระทำผิดในคดีนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาคาบเกี่ยวต่อเนื่องกับคดีแรกโดยไม่ปรากฏว่ามีการหยุดดำเนินกิจการในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาดำเนินการในการจัดหางานคราวเดียวกันการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองคดีในความผิดฐานนี้จึงเป็นกรรมเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานจัดหางาน ฯ จึงซ้อนกับคดีแรก ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ฎีกาที่ว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนนั้นเป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัย
เมื่อฟ้องโจทก์บางฐานความผิดเป็นฟ้องซ้อน ถือได้ว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษในฐานความผิดที่เป็นฟ้องซ้อนด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีภาษี: การฟ้องซ้ำเรื่องเดิม แม้คำสั่งต่างกัน ถือฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เงินภาษีและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยไว้ในอุทธรณ์ฉบับแรก แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้มีคำสั่งแจ้งการประเมินเพิ่มเติมอีก ก็หาใช่เป็นผลจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่างหาก แต่เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฉบับแรกนั้นเอง เมื่อโจทก์ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับแรกในคดีก่อนและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับหลังซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน แม้คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะเป็นคนละคำสั่ง ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-สิทธิซื้อคืนที่เช่า: การโอนขายที่ดินเช่าและสิทธิของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 อ้างว่าไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขณะคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เป็นคดีใหม่ โดยเพิ่มข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ร่วมกันแสดงเจตนาลวงโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 7 โดยสมยอม ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ ดังนี้มูลค่าที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ทั้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายเดียวกัน ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (1) การที่โจทก์ถอนฟ้องคดีเดิมหลังจากฟ้องคดีใหม่ ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ในคดีใหม่ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 29 สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือการเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหรือนาที่ให้เช่าผู้รับโอนจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่า จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่านาพิพาทโอนขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โดยไม่ได้แจ้งการขายให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โอนขายนาพิพาทต่อไปให้จำเลยที่ 7 จำเลยที่ 7 ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 มีอยู่ต่อโจทก์ทั้งสองผู้เช่านาพิพาทโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะซื้อนาจากจำเลยที่ 7 ตามราคาและวิธีการชำระเงินตามที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซื้อไว้
of 31