คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภารจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยปริยาย-สัญญาต่างตอบแทน-เจตนาหลอกลวง-การจดทะเบียนเลิกภารจำยอม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยเคยตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำและทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาจำเลยปิดกั้นไม่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดิน ขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินออกไปสู่ถนนสาธารณะและนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามเดิม เพราะการที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมนั้นเป็นการช่วยเหลือโจทก์ให้นำที่ดินไปจำนองแก่ธนาคารโดยไม่มีเจตนาที่จะยกเลิกภารจำยอมกันอย่างแท้จริงแม้โจทก์จะไม่บรรยายฟ้องว่าทางภารจำยอมกว้างยาวเท่าใดเครื่องสูบน้ำอยู่บริเวณใด ก็เป็นเพียงรายละเอียด เพราะที่ดินของจำเลยเคยจดทะเบียนตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์มาก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและวัตถุประสงค์ในการมีคูน้ำและอ่างเก็บน้ำโดยระบุว่าโจทก์จำเลยรู้ถึงวัตถุประสงค์นั้น จึงช่วยกันเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการขุดคูน้ำและทำอ่างเก็บน้ำ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นเรื่องการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในที่ดินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ไว้ด้วย จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องนั้นมีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้โจทก์เกิดสิทธิในการใช้น้ำในสถานที่ดังกล่าวโดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางบ้างหรือไม่ หากมีบัญญัติไว้ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาปรับบทแก่คดีของโจทก์ได้ ไม่จำเป็นที่ศาลจะพิพากษาให้สิทธิโจทก์เฉพาะบทกฎหมายที่โจทก์อ้างเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 142 โจทก์และจำเลยตกลงให้มีการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนนและสร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินของจำเลยตามที่ จ. แนะนำโดยประสงค์จะให้บุตรทุกคนที่ จ. แบ่งปันที่ดินให้ มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรมในที่ดินของตน โดยให้บุตรทุกคนที่ได้รับแบ่งปันที่ดินเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายตามส่วนที่ได้รับที่ดินจำเลยก็ร่วมเฉลี่ยออกค่าจ้างด้วย จนการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนนและสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวแล้วเสร็จ แสดงว่าจำเลยรับรู้เจตนาของ จ. และยอมรับการกระทำของ จ. จึงมีผลเท่ากับโจทก์และจำเลยยอมรับกันโดยปริยายว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสิทธิใช้น้ำจากคูน้ำและอ่างเก็บน้ำตลอดระยะเวลาที่โจทก์และจำเลยทำเกษตรกรรมในที่ดินของตนตลอดไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิห้ามโจทก์ใช้น้ำดังกล่าว การจดทะเบียนเลิกภารจำยอมเป็นไปเพื่อช่วยเหลือโจทก์ให้สามารถนำที่ดินของโจทก์ไปจำนองแก่ธนาคารได้เท่านั้นจึงเชื่อได้ว่า มิใช่มีเจตนาจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอมเนื่องจากจะให้ภารจำยอมสิ้นไปหรือโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ให้มีภารจำยอมอีกต่อไปเพราะภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การจดทะเบียนเลิกภารจำยอมด้วยเจตนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยกันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ vs. การได้มาซึ่งที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียน แม้ไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอมก็ใช้ยันได้
โจทก์ใช้ทางพิพาทจนได้สิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินโดยอายุความแม้โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอม แต่โจทก์ก็สามารถยกสิทธิภารจำยอมซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนขึ้นใช้ยันจำเลยผู้ได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วได้ จึงไม่จำต้องกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้ที่ดินมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่ ตามที่จำเลยให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: ระยะเวลาการใช้ทางเดินข้ามที่ดินของผู้อื่นเกิน 10 ปี ทำให้เกิดสิทธิภารจำยอม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และ 1388 เพ่งเล็งถึงความสำคัญของที่ดินที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ ไม่ใช่ตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 24324 มาจาก ส. เมื่อวันที่ 25สิงหาคม 2520 จนถึงวันที่ ส. ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2529 เป็นระยะเวลาเพียง 8 ปีเศษ แต่หลังจากนั้นโจทก์ยังคงใช้ทางเดินในที่พิพาทติดต่อมาในช่วงที่จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีก 2 ปีเศษถือได้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยทั้งสามมีทางเดินเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงของโจทก์มาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ย่อมเกิดภารจำยอมโดยอายุความได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมหมดประโยชน์ พิจารณาประโยชน์ต่อสามยทรัพย์ ไม่ใช่ตัวบุคคลผู้ใช้
การที่จะพิจารณาว่าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1400 หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสามยทรัพย์เป็นสำคัญมิใช่พิจารณาถึงตัวบุคคลที่อยู่ในสามยทรัพย์ แม้ตัวบุคคลที่อยู่ในสามยทรัพย์จะมิได้ใช้ภารยทรัพย์ แต่ถ้าภารยทรัพย์ยังมีประโยชน์ต่อสามยทรัพย์อยู่ ก็จะถือว่าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่ พิจารณาประโยชน์ต่อสามยทรัพย์เป็นหลัก ไม่ใช่การใช้งานจริงของผู้ใช้
การที่จะพิจารณาว่าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสามยทรัพย์เป็นสำคัญ มิใช่พิจารณาถึงตัวบุคคลที่อยู่ในสามยทรัพย์แม้ว่าตัวบุคคลที่อยู่ในสามยทรัพย์จะมิได้ใช้ภารยทรัพย์ แต่ถ้าภารยทรัพย์ยังมีประโยชน์ต่อสามยทรัพย์อยู่ ก็จะถือว่าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์มิได้ สามยทรัพย์เป็นที่ดิน 3 แปลงอยู่ติดกัน แต่เป็นของเจ้าของคนเดียวกัน ฉะนั้นเจ้าของสามยทรัพย์จึงเลือกที่จะทำประตูออกไปสู่ภารยทรัพย์ซึ่งอยู่ติดกับสามยทรัพย์แปลงใดก็ได้ และถ้าเจ้าของสามยทรัพย์ขายสามยทรัพย์แปลงสุดท้ายซึ่งมิได้ทำประตูเข้าออกให้ผู้อื่นไป ผู้ซื้อก็ยังเป็นเจ้าของสามยทรัพย์แปลงนั้นอยู่และมีสิทธิใช้ภารยทรัพย์ที่ติดกับสามยทรัพย์นั้นได้ ดังนี้ภารจำยอมส่วนนี้จึงไม่ได้หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมต้องมีเจ้าของสามยทรัพย์ ผู้ดูแลแท็งก์น้ำไม่อาจอ้างสิทธิได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินอื่นทุกแปลงของหมู่บ้านวิภาวดี โดยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ10,000 บาท แต่ที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้า และจำเลยใช้ที่ดินพิพาทปลูกเพิงพักอาศัยเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่ดินพิพาทจึงอาจให้เช่าในขณะยื่นฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 34,000 บาทจำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง และวรรคหนึ่งตามลำดับ ลักษณะสำคัญของภารจำยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1387 คือต้องมีอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อยสองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นของเจ้าของต่างคนกันและอสังหาริมทรัพย์หนึ่งต้องตกอยู่ในภาระรับกรรมบางอย่าง หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่อีกอสังหาริมทรัพย์หนึ่ง อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระรับกรรมนั้นเรียกว่าภารยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์นั้นเรียกสามยทรัพย์ ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะกล่าวอ้างว่าได้ภารจำยอมเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภารยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์ จำเลยปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อทำหน้าที่ดูแลแท็งก์น้ำบาดาลประจำหมู่บ้านเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่นที่จะเป็นสามยทรัพย์ต่างหากจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่อาจอ้างสิทธิภารจำยอมของผู้อื่นขึ้นต่อสู้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี และภารจำยอมหมดประโยชน์
การจะรับฟังว่าภารจำยอมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1399 นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า ทางภารจำยอมมิได้ใช้สิบปีขึ้นไป ส่วนภารจำยอมสิ้นไปตามมาตรา 1400 โจทก์ก็จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าภารจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยกทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ใช้ที่ดินแปลงอื่นซึ่งซื้อจากบุคคลภายนอกไปสู่โรงงานของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น เป็นทางซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงอื่นเพื่อใช้ออกสู่โรงงาน ไม่ใช่สำหรับที่ดินแปลงสามยทรัพย์เพื่อใช้ออกทางสาธารณะ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าทางภารจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครอง และภารจำยอม: ศาลพิจารณาความเป็นธรรมในการแบ่งมรดกและกำหนดภารจำยอมใหม่
โจทก์ทั้งสองได้รับส่วนแบ่งมรดกคือบ้านและที่ดินที่ใช้ปลูกบ้านและได้เข้าครอบครองเป็นส่วนสัด ที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสองการที่โจทก์ทั้งสองผ่านที่ดินของจำเลยและทายาทอื่นออกสู่ทาสาธารณะโดยโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกทางอื่นเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ทั้งสองจึงได้ภารจำยอมในการผ่านที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยและทายาทอื่น แต่ทางภารจำยอมที่โจทก์ทั้งสองแสดงไว้แตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์และมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่ที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์เกินความจำเป็น ศาลเห็นสมควรกำหนดทางภารจำยอมของโจทก์ทั้งสองเสียใหม่ให้เหมาะสมและเป็นธรรม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าเงินที่ อ. ซื้อที่ดินพิพาทที่ส่วนที่เป็นมรดกรวมอยู่ด้วย ผลของคำพิพากษาย่อมทำให้เสียสิทธิของจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6039/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยภารจำยอมเกินขอบเขตประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันนำดินถมลำรางสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างตึกแถว โดยชายคาตึกแถวรุกล้ำลำรางสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์เสียหายนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าร่องน้ำพิพาทเป็นภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความแต่อย่างใดเมื่อจำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธว่าร่องน้ำพิพาทมิใช่ลำรางสาธารณประโยชน์ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าร่องน้ำพิพาทเป็นภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องภารจำยอมขึ้นวินิจฉัยว่าร่องน้ำพิพาทเป็นภารจำยอม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6004/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายภารจำยอม: ศาลพิจารณาความสะดวกของผู้ใช้ทางและผลกระทบต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
ตามฎีกาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ปรากฏว่าการย้ายภารจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612ของจำเลยที่ 5 ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงประการใดบ้าง เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าการย้ายภารจำยอมดังกล่าวทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงเท่านั้นและทางที่เปิดเป็นภารจำยอมขึ้นใหม่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 24612ก็ปรากฏว่าเป็นทางเชื่อมต่อกับที่ดินว่างเปล่าพื้นเทคอนกรีตในที่ดินโฉนดเลขที่ 1157 ของจำเลยที่ 1 ออกสู่ถนนโดยสะดวกทั้งจำเลยที่ 1 ก็ดำเนินการปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทเดิมตั้งแต่ปี 2525 หากทางพิพาทเป็นทางที่โจทก์ที่ 2และที่ 3 ผ่านเข้าออกโดยสะดวกอยู่ก่อนแล้ว โจทก์ที่ 2 และที่ 3ก็น่าจะรีบดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำทางพิพาทในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2ก็เพิ่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2527โดยมีโจทก์ที่ 3 ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และโจทก์ที่ 2และที่ 3 ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 5 ถึงที่ 10 มาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังซึ่งเป็นเวลาหลังจากเริ่มทำการก่อสร้างตึกแถวนานถึง 2 ปี และเป็นเวลาหลังจากทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเป็นเวลาหลังจากโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10ไปแล้วอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าทางพิพาทที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ใช้ผ่านเข้าออกมาแต่เดิมนั้นไม่ใช่ทางที่ผ่านเข้าออกโดยสะดวกถือได้ว่าการย้ายภารจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5 ไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2และที่ 3 ลดน้อยลง นอกจากนี้ก็ปรากฏว่าตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทกว้างประมาณ 3 ถึง 4 เมตร จำนวนตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาก็มีถึง 12 คูหา ซึ่งเห็นได้ว่าหากมีการรื้อตึกแถวในส่วนที่รุกล้ำเข้ามาทุกคูหาย่อมเกิดความเสียหายมาก การย้ายภารจำยอมดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และเป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์อีกด้วย
of 46