คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าจากดอกเบี้ยรับ จำเป็นต้องพิสูจน์การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
ตามประมวลรัษฎากร บัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 12 ธนาคาร ชนิด 1 ได้กำหนดรายการที่ประกอบการค้าไว้ได้แก่ 'การออมสินที่มิใช่ของรัฐบาล การธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่นให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ' แม้คำว่าประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ นั้น หาจำต้องประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น ให้กู้ยืมอย่างธนาคาร ดังที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างปีภาษีที่พิพาทในคดีนี้บัญญัติไว้ก็ตาม แต่การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายดังกล่าวจะต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารพาณิชย์ และจะต้องเป็นการประกอบกิจการโดยปกติด้วย คำว่า โดยปกติย่อมมีความหมายในตัวเองว่าได้มีการประกอบกิจการดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าการขายกิจการด้านการตลาดให้แก่บริษัท ซ.แล้วแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ก็ดี การให้บริษัท ล. กู้ยืมเงินไปสร้างโรงงานผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และการให้บริษัท อ.กู้ยืมเงินไปซื้อเรือบรรทุกน้ำมันก็ดี แต่ละรายการล้วนแต่โจทก์ได้กระทำเพียงครั้งเดียวทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เคยปฏิบัติเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน จึงไม่มีทางจะแปลการประกอบกิจการของโจทก์ไปได้ว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำโดยตลอดและได้ดอกเบี้ยต่ำโดยโจทก์ได้ประโยชน์ในการขยายกิจการและการผลิตการจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น ก็หาทำให้กิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายของประมวลรัษฎากรไม่ เมื่อกรณีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะได้ดอกเบี้ยก็จะถือเป็นรายรับอันจะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 2.5 หาได้ไม่เพราะคำว่า'ดอกเบี้ย'ที่กำหนดไว้ในชนิด 1 ของประเภทการค้า 12 ต้องพิจารณาประกอบกับรายการที่ประกอบการค้าดังกล่าวคือ ต้องประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคาร และเป็นการประกอบกิจการโดยปกติ
การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ที่จะเข้าข่ายบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า12.ธนาคารชนิด1อันจะต้องเสียภาษีการค้านั้นจะต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารและจะต้องเป็นการประกอบกิจการโดยปกติด้วยคำว่า"โดยปกติ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าได้มีการประกอบกิจการดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาการที่โจทก์ขายกิจการด้านการตลาดให้แก่บริษัทอื่นแล้วแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้หรือการที่โจทก์ให้บริษัทอื่นกู้ยืมเงินไปสร้างโรงงานผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือซื้อเรือบรรทุกน้ำมันซึ่งแต่ละรายล้วนแต่ได้กระทำเพียงครั้งเดียวทั้งสิ้นนั้นไม่อาจแปลไปได้ว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ทั้งนี้แม้จะได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำโดยตลอดและได้ดอกเบี้ยต่ำโดยโจทก์ได้ประโยชน์ในการขยายกิจการและการผลิตการจำหน่ายเพิ่มขึ้นก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3417/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และการเสียภาษีการค้า ดอกเบี้ย
ตามประมวลรัษฎากรบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า12ธนาคารชนิด1ได้กำหนดรายการที่ประกอบการค้าไว้ได้แก่'การออมสินที่มิใช่ของรัฐบาลการธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์เช่นให้กู้ยืมเงินฯลฯ'แม้คำว่าประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์นั้นหาจำต้องประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้และใช้ประโยชน์เงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทางเช่นให้กู้ยืมอย่างธนาคารดังที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505มาตรา4ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับระหว่างปีภาษีที่พิพาทในคดีนี้บัญญัติไว้ก็ตามแต่การประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายดังกล่าวจะต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารพาณิชย์และจะต้องเป็นการประกอบกิจการโดยปกติด้วยคำว่าโดยปกติย่อมมีความหมายในตัวเองว่าได้มีการประกอบกิจการดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่าการขายกิจการด้านการตลาดให้แก่บริษัทซ.แล้วแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ก็ดีการให้บริษัทล.กู้ยืมเงินไปสร้างโรงงานผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และการให้บริษัทอ.กู้ยืมเงินไปซื้อเรือบรรทุกน้ำมันก็ดีแต่ละรายการล้วนแต่โจทก์ได้กระทำเพียงครั้งเดียวทั้งสิ้นไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์เคยปฏิบัติเช่นเดียวกันนั้นมาก่อนจึงไม่มีทางจะแปลการประกอบกิจการของโจทก์ไปได้ว่าเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์แม้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำโดยตลอดและได้ดอกเบี้ยต่ำโดยโจทก์ได้ประโยชน์ในการขยายกิจการและการผลิตการจำหน่ายน้ำมันเพิ่มขึ้นก็หาทำให้กิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามความหมายของประมวลรัษฎากรไม่เมื่อกรณีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะได้ดอกเบี้ยก็จะถือเป็นรายรับอันจะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ2.5หาได้ไม่เพราะคำว่า'ดอกเบี้ย'ที่กำหนดไว้ในชนิด1ของประเภทการค้า12ต้องพิจารณาประกอบกับรายการที่ประกอบการค้าดังกล่าวคือต้องประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: ทองเหลืองรูปตัวที/แอลเป็นวัตถุก่อสร้าง ต้องเสียภาษี
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่54) พ.ศ.2517 บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 4 บัญญัติว่า 'หมวด 4 วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน(1) ฯลฯ (6) กลอน บานพับ คานเหล็ก ผลิตภัณฑ์โลหะใด ๆ ที่มิได้ผลิตจากสินค้าตาม (4)' กลอนบานพับคานเหล็กเหล็กฉาก เป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้าง แต่หาใช่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการก่อสร้างทุกรายไม่ผลิตภัณฑ์โลหะที่บัญญัติต่อท้ายกลอน บานพับ คานเหล็กและเหล็กฉากดังกล่าวก็ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ไม่ต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการก่อสร้างจนถึงแก่จะขาดเสียมิได้ด้วยทองเหลืองรูปตัวทีใช้สำหรับทำคิ้วพื้นหินขัดสามารถแบ่งพื้นหินขัดออกเป็นแผ่นๆป้องกันมิให้พื้นแตกเป็นทางยาวข้ามแผ่นได้และทองเหลืองรูปตัวแอลใช้ทำขอบของขั้นบันไดหินขัด ก็หุ้มขอบบันไดมิให้แตกและสึกกร่อนง่ายทองเหลืองดังกล่าวจึงเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างการที่ใช้ประกอบเข้าแล้วทำให้เกิดความสวยงามด้วยก็เป็นลักษณะของวัตถุก่อสร้างทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ฟังไม่ได้ว่าทองเหลืองดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งประดับ ดังนี้ทองเหลืองรูปตัวทีและตัวแอลย่อมเป็นผลิตภัณฑ์โลหะอันเป็นวัตถุก่อสร้างตามหมวด 4(6) แห่งบัญชีที่1ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ.2517 และเมื่อเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1แล้วย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) ในบัญชีอัตราภาษีการค้า ท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: ทองเหลืองรูปตัวที/แอล เป็นวัตถุก่อสร้าง ต้องเสียภาษี
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่1หมวด4บัญญัติว่า'หมวด4วัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือน(1)ฯลฯ(6)กลอนบานพับคานเหล็กผลิตภัณฑ์โลหะใดๆที่มิได้ผลิตจากสินค้าตาม(4)'กลอนบานพับคานเหล็กเหล็กฉากเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างแต่หาใช่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการก่อสร้างทุกรายไม่ผลิตภัณฑ์โลหะที่บัญญัติต่อท้ายกลอนบานพับคานเหล็กและเหล็กฉากดังกล่าวก็ต้องมีลักษณะทำนองเดียวกันกล่าวคือไม่ต้องเป็นสิ่งจำเป็นต่อการก่อสร้างจนถึงแก่จะขาดเสียมิได้ด้วยทองเหลืองรูปตัวทีใช้สำหรับทำคิ้วพื้นหินขัดสามารถแบ่งพื้นหินขัดออกเป็นแผ่นๆป้องกันมิให้พื้นแตกเป็นทางยาวข้ามแผ่นได้และทองเหลืองรูปตัวแอลใช้ทำขอบของขั้นบันไดหินขัดก็หุ้มขอบบันไดมิให้แตกและสึกกร่อนง่ายทองเหลืองดังกล่าวจึงเป็นวัตถุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างการที่ใช้ประกอบเข้าแล้วทำให้เกิดความสวยงามด้วยก็เป็นลักษณะของวัตถุก่อสร้างทั่วๆไปนั่นเองฟังไม่ได้ว่าทองเหลืองดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งประดับดังนี้ทองเหลืองรูปตัวทีและตัวแอลย่อมเป็นผลิตภัณฑ์โลหะอันเป็นวัตถุก่อสร้างตามหมวด4(6)แห่งบัญชีที่1ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2517และเมื่อเป็นสินค้าตามบัญชีที่1แล้วย่อมไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา5(8)จึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ7ตามประเภทการค้า1ชนิด1(ก)ในบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ลักษณะ2แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2529 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินชำระหนี้ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 79
โจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้หนี้ของโจทก์ลดลง นับได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตอบแทนแล้ว ถือได้ว่าเป็นการขายตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า 'ขาย' ว่า 'หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย'
แม้ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจะมิใช่เป็นประโยชน์ตอบแทนทางการค้าหรือเป็นการปลดเปลื้องหนี้สินบางส่วน มิใช่รายรับเนื่องจากการประกอบการค้าโดยตรงแต่เมื่อโจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการ การที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคาร ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบการค้าของโจทก์นั่นเอง หนี้ที่ลดลงก็เป็นประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า จึงเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 อันโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028-1029/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้ากระดาษแล้วนำมาตัดเป็นม้วนเล็กขาย ไม่ถือเป็นการผลิตกระดาษชนิดใหม่
หมวด8(9) โจทก์สั่งกระดาษม้วนใหญ่มีความกว้าง782มิลิเมตรยาวประมาณ6,100เมตรจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าร้อยละ7ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ประมวลรัษฎากรประเภทการค้า1การขายของชนิด1(ก)แล้วโจทก์นำกระดาษดังกล่าวมาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกตัดให้มีความกว้าง48มิลลิเมตรยาว2,000เมตรม้วนเป็นม้วนเล็กๆขายให้โรงงานยาสูบไปใช้พันก้นกรองบุหรี่เช่นนี้การประกอบกิจการของโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตกระดาษใช้พันก้นกรองบุหรี่ตามนัยประมวลรัษฎากรมาตรา77เพราะการที่โจทก์นำกระดาษม้วนใหญ่มาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกแล้วตัดทำเป็นม้วนเล็กๆนั้นเป็นการทำให้เหมาะสมและสะดวกแก่การใช้พันก้นกรองบุหรี่สินค้ากระดาษที่โจทก์นำเข้ามายังเป็นกระดาษอย่างเดิมมิได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นสินค้าใหม่โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตกระดาษทุกชนิดตามบัญชี1หมวด8(9)ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ในอัตราร้อยละ7ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ประเภทการค้า1การขายของชนิด1(ก)อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าและเงินได้นิติบุคคลจากรายรับค่าถนน การประเมินที่ถูกต้องและการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินขาย โจทก์ให้ผู้ซื้อที่ดินเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจัดทำถนนเองโดยโจทก์รับเป็นตัวแทนหาผู้รับเหมามาจัดทำถนนในที่ดินของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้ถนนดังกล่าวต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรแต่ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ดังนั้นถนนที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า อันเป็นรายรับซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 และเป็นเงินได้อันจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39, 65 และรายรับดังกล่าวไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของผู้ซื้อที่ดินตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 10 แต่เป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 และต้องถือราคาของถนนตามจำนวนเงินที่ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายจัดทำเป็นรายรับของโจทก์
เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้าที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำขึ้นนั้นเป็นของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนประปาเมื่อทำแล้วตกเป็นของผู้ซื้อที่ดินร่วมกันจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ทั้งไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับอันจะเป็นเหตุให้จำเลยประเมินภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบไต่สวนโดยไม่ให้เวลาล่วงหน้า 7 วัน ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 23, 87 ตรี โจทก์มีสิทธิเพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นและเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 21 และ 25 มิได้แต่เมื่อโจทก์ยอมปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้งจนเจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและประเมินภาษีเสร็จสิ้นไปแล้วโจทก์จะอ้างเหตุว่าการประเมินไม่ชอบหาได้ไม่
กรณีเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีและได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดก็ให้ลดเงินเพิ่มลงกรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจึงไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ ส่วนเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) นั้นเมื่อโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ก็ต้องเสียเบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มตามฟ้องถ้าโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ตนประสงค์ จะเพียงแต่แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นไว้มิได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคล: การประเมินรายรับค่าถนนและผลกระทบจากการคืนเงินผู้ซื้อ
โจทก์เป็นผู้จัดสรรที่ดินขาย โจทก์ให้ผู้ซื้อที่ดินเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจัดทำถนนเองโดยโจทก์รับเป็นตัวแทนหาผู้รับเหมามาจัดทำถนนในที่ดินของโจทก์และเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แม้ถนนดังกล่าวต้องตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรแต่ก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ดังนั้นถนนที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้า อันเป็นรายรับซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79และเป็นเงินได้อันจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39,65 และรายรับดังกล่าวไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการที่โจทก์รับเป็นตัวแทนของผู้ซื้อที่ดินตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 10 แต่เป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 และต้องถือราคาของถนนตามจำนวนเงินที่ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายจัดทำเป็นรายรับของโจทก์ เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและมาตรวัดไฟฟ้าที่ผู้ซื้อที่ดินออกค่าใช้จ่ายจัดทำขึ้นนั้นเป็นของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนประปาเมื่อทำแล้วตกเป็นของผู้ซื้อที่ดินร่วมกันจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ทั้งไม่อาจถือเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับหรือพึงได้รับอันจะเป็นเหตุให้จำเลยประเมินภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยออกหมายเรียกโจทก์มาตรวจสอบไต่สวนโดยไม่ให้เวลาล่วงหน้า 7 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23,87 ตรี โจทก์มีสิทธิเพียงไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้นและเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตามมาตรา 21 และ 25 มิได้ แต่เมื่อโจทก์ยอมปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้งจนเจ้าพนักงานประเมินดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและประเมินภาษีเสร็จสิ้นไปแล้ว โจทก์จะอ้างเหตุว่าการประเมินไม่ชอบหาได้ไม่ กรณีเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89ทวิผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม เว้นแต่ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีและได้มีการชำระภาษีภายในกำหนดก็ให้ลดเงินเพิ่มลง กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจึงไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ ส่วนเบี้ยปรับตามมาตรา89(3) นั้น เมื่อโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โจทก์ก็ต้องเสียเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไม่เต็มตามฟ้อง ถ้าโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คัดค้านเพื่อให้ได้รับผลตามที่ตนประสงค์ จะเพียงแต่แก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นไว้มิได้ เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อลูมิเนียมฟอยล์และลามิเนต: การพิจารณาประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษีการค้า
อลูมิเนียมแผ่นเปลวชนิดฟอยล์ (PLAIN FOIL หรือ FOIL) และอลูมิเนียมแผ่นเปลวผนึกด้วยกระดาษ (LAMINATED FOIL) ที่โจทก์ผลิตขึ้นมานั้น จะเป็นของใช้เฉพาะที่ผลิตจากโลหะตามหมวด 9 บัญชีที่ 1 แห่ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติของสินค้าดังกล่าวนั้น ว่าจะนำไปเป็นของใช้ในตัวของมันเองได้ในทันทีหรือไม่โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ใช้จะต้องนำของนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับความประสงค์พิเศษของผู้ใช้หรือเพื่อให้รู้แหล่งกำเนิดและชนิดของสินค้านั้น ๆ หรือไม่ โจทก์ต้องผลิตอลูมิเนียมทั้งสองชนิดดังกล่าวให้มีความหนา ความบาง ความกว้าง ความยาว และอื่น ๆ ตามคำสั่งของลูกค้า แสดงว่าเป็นสิ่งของที่พร้อมจะนำไปใช้จึงมีสภาพที่แท้จริงเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ห่อหรือบรรจุของหรือสินค้าอื่นโดยความมุ่งหมายเพื่อเก็บความร้อน ความชื้น และเก็บกลิ่นแม้ลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้อุตสาหกรรมหีบห่อ เช่นพวกซอง ถุงใส่ของโดยการนำไปพิมพ์ข้อความ เคลือบสี หรือนำไปผนึกเพื่อป้องกันมิให้ความชื้นเข้าไปได้ โดยนำไปทำเป็นซองหรือแผงเพื่อบรรจุสินค้าก็เป็นเพียงการปรับปรุงอลูมิเนียมแผ่นเปลวชนิดฟอยล์และอลูมิเนียมแผ่นเปลวผนึกด้วยกระดาษให้เหมาะสมกับสภาพที่จะเอาไปห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้าของลูกค้า เพื่อให้เกิดความสวยงาม ให้มีความคงทนในการเก็บรักษา ให้รู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายในเป็นอะไร ให้รู้แหล่งกำเนิดของผู้ผลิต อลูมิเนียมทั้งสองชนิดนั้นมิได้คลายสภาพเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นใหม่ ยังคงมีสภาพเป็นของใช้ที่ใช้ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้าอื่นที่ใช้ได้ทันทีในตัวของมันอยู่นั่นเอง จึงเป็นของใช้เฉพาะที่ผลิตจากโลหะตามหมวด 9 ของบัญชีที่ 1 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น (ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 5 (8) ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนั้น)
of 30