พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ของหุ้นส่วนผู้จัดการทำให้หุ้นส่วนอื่นเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอกทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียเองนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งย่อมเป็นผู้เสียหาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการยักยอกทรัพย์ ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นผู้เสียหาย
ในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการยักยอกทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเสียเองนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งย่อมเป็นผู้เสียหาย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้ครอบครองทรัพย์สินและการพิสูจน์อำนาจหน้าที่เพื่อความรับผิดฐานยักยอกทรัพย์
ผู้ควบคุมสาขาของบริษัทผู้เสียหายมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลสินค้าในโกดัง และจะต้องรับผิดชอบในกรณีที่สินค้าขาดหายไป จำเลยเป็นเพียงผู้ตรวจสอบสินค้าและทำรายงานยอดสินค้าประจำวัน ไม่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้าแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ครอบครองสินค้าในโกดัง จะเอาผิดจำเลยฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้ยักยอกสินค้าของผู้เสียหายไป มิได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบหมายว่าจำเลยมีอำนาจครอบครองดูแลรักษาและสั่งจำหน่ายสินค้าในโกดังนั้น ก็เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของลูกจ้างตำแหน่งผู้ตรวจสอบสินค้าว่ามีอะไรบ้างเท่านั้น ฟ้องโจทก์ไม่ครอบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้ยักยอกสินค้าของผู้เสียหายไป มิได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบหมายว่าจำเลยมีอำนาจครอบครองดูแลรักษาและสั่งจำหน่ายสินค้าในโกดังนั้น ก็เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของลูกจ้างตำแหน่งผู้ตรวจสอบสินค้าว่ามีอะไรบ้างเท่านั้น ฟ้องโจทก์ไม่ครอบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์: ผู้ตรวจสอบสินค้าไม่มีอำนาจครอบครอง จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
ผู้ควบคุมสาขาของบริษัทผู้เสียหายมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลสินค้าในโกดังและจะต้องรับผิดชอบในกรณีที่สินค้าขาดหายไปจำเลยเป็นเพียงผู้ตรวจสอบสินค้าและทำรายงานยอดสินค้าประจำวัน ไม่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสินค้าแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่ใช่ผู้ครอบครองสินค้าในโกดัง จะเอาผิดจำเลยฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้ยักยอกสินค้าของผู้เสียหายไปมิได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายแล้วกระทำผิดหน้าที่จนเกิดความเสียหายขึ้นและที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยมีอำนาจครอบครองดูแลรักษาและสั่งจำหน่ายสินค้าในโกดังนั้น ก็เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของลูกจ้างตำแหน่งผู้ตรวจสอบสินค้าว่ามีอะไรบ้างเท่านั้นฟ้องโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหาย ได้ยักยอกสินค้าของผู้เสียหายไปมิได้กล่าวหาว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายแล้วกระทำผิดหน้าที่จนเกิดความเสียหายขึ้นและที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยมีอำนาจครอบครองดูแลรักษาและสั่งจำหน่ายสินค้าในโกดังนั้น ก็เป็นการบรรยายถึงอำนาจหน้าที่ของลูกจ้างตำแหน่งผู้ตรวจสอบสินค้าว่ามีอะไรบ้างเท่านั้นฟ้องโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ลงโทษจำเลยตามมาตรานี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิ (ใบเสร็จ) และยักยอกทรัพย์โดยพนักงานของรัฐ ฎีกาชี้ว่าฟ้องสมบูรณ์และมีความผิดตามกฎหมาย
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ แต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "ร.ส.พ." ก็จัดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ.เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ๊กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์จากผู้ที่มาเอ๊กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ๊กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ๊กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์จากผู้ที่มาเอ๊กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ๊กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานปลอมแปลงเอกสารและยักยอกทรัพย์ โดยองค์กรมีทุนจากรัฐ
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐแต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า"ร.ส.พ." ก็จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์และอำนาจฟ้องในคดีอาญา ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องได้หากความผิดเกิดขึ้นระหว่างที่ตนเป็นผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานยักยอกระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2514 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 และโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ น. ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2514 นั้น แสดงว่าจำเลยได้กระทำความผิดระหว่างที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ด้วย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ประกอบด้วยมาตรา 354
น. มิได้ยกที่ดินโฉนดพิพาทให้จำเลย จำเลยได้รับโฉนดพิพาทจาก น. ไว้ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ น. และเมื่อ น. เพิกถอนการมอบอำนาจที่ให้จัดการทรัพย์สินแล้ว จำเลยก็ยังไม่คืนให้ ทั้ง ๆ ที่ น. และโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ทวงถาม นอกจากนี้จำเลยยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทอีกด้วย นั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาโฉนดพิพาทเป็นของตนโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2488 การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาตัวโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วย
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 ซึ่งเป็นวันเวลาหลังจากที่ น. ได้ถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินแล้ว ฉะนั้น ในวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด จำเลยจึงมิใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของ น. กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 353 และ 354 แม้ น. จะถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยจัดการแล้ว จำเลยก็ต้องมีหน้าที่มอบทรัพย์สินคืนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินของ น. อยู่ในวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด
ศาลชั้นต้นมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ที่จะตรวจคำคู่ความใด ๆ ที่ยื่นไว้ต่อศาลว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือไม่ เมื่อเห็นว่าโจทก์ยังมิได้เสียค่าธรรมเนียมศาลสำหรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งให้บริบูรณ์ ก็มีอำนาจสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมศาล คือให้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ได้ และมาตรา 18 ก็มิได้บัญญัติว่าจะต้องสั่งเมื่อใด ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจพบก่อนมีคำพิพากษา จึงชอบที่จะสั่งให้โจทก์จัดการเสียค่าธรรมเนียมศาลให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษาได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ เพราะจำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดนั้น ถือว่ามิได้ยกขึ้นมาว่าในศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นฎีกาได้ แต่เนื่องจากวินิจฉัยฎีกาโจทก์แล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องวินิจฉัยปัญหานี้ จึงไม่รับวินิจฉัยให้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2518)
น. มิได้ยกที่ดินโฉนดพิพาทให้จำเลย จำเลยได้รับโฉนดพิพาทจาก น. ไว้ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของ น. และเมื่อ น. เพิกถอนการมอบอำนาจที่ให้จัดการทรัพย์สินแล้ว จำเลยก็ยังไม่คืนให้ ทั้ง ๆ ที่ น. และโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ทวงถาม นอกจากนี้จำเลยยังได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทอีกด้วย นั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาโฉนดพิพาทเป็นของตนโดยทุจริต อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2488 การที่จำเลยไปร้องขอต่อศาลให้สั่งแสดงกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่านั้น ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเบียดบังเอาตัวโฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของตนโดยทุจริตด้วย
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2515 ซึ่งเป็นวันเวลาหลังจากที่ น. ได้ถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินแล้ว ฉะนั้น ในวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด จำเลยจึงมิใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของ น. กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 353 และ 354 แม้ น. จะถอนอำนาจที่มอบให้จำเลยจัดการแล้ว จำเลยก็ต้องมีหน้าที่มอบทรัพย์สินคืนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สินของ น. อยู่ในวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกระทำผิด
ศาลชั้นต้นมีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ที่จะตรวจคำคู่ความใด ๆ ที่ยื่นไว้ต่อศาลว่าปิดแสตมป์บริบูรณ์หรือไม่ เมื่อเห็นว่าโจทก์ยังมิได้เสียค่าธรรมเนียมศาลสำหรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งให้บริบูรณ์ ก็มีอำนาจสั่งให้เสียค่าธรรมเนียมศาล คือให้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ได้ และมาตรา 18 ก็มิได้บัญญัติว่าจะต้องสั่งเมื่อใด ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจพบก่อนมีคำพิพากษา จึงชอบที่จะสั่งให้โจทก์จัดการเสียค่าธรรมเนียมศาลให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษาได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 354 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อนี้ เพราะจำเลยยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดนั้น ถือว่ามิได้ยกขึ้นมาว่าในศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นฎีกาได้ แต่เนื่องจากวินิจฉัยฎีกาโจทก์แล้วว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะต้องวินิจฉัยปัญหานี้ จึงไม่รับวินิจฉัยให้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบทรัพย์สินเพื่อดูแลรักษา ไม่ถือเป็นการครอบครองแทนเจ้าของ หากนำไปให้ผู้อื่นเป็นการยักยอกทรัพย์
ผู้เสียหายได้มอบกระบือและรถจักรยาน 2 ล้อ ให้จำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแลรักษาโดยเก็บรักษาไว้ที่นาเพื่อใช้ทำนาและไร่ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวผู้เสียหายได้มอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองทรัพย์นั้นแทนผู้เสียหาย การยึดถือครอบครองทรัพย์จึงอยู่ที่จำเลย หาใช่ยังอยู่ที่ผู้เสียหายไม่ เมื่อจำเลยเอาทรัพย์นั้นไปให้แก่บุคคลอื่น จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หาใช่ลักทรัพย์ตามฟ้องไม่ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องในข้อสาระสำคัญซึ่งโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย จะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายให้ดูแลทรัพย์สินแล้วยักยอกทรัพย์ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์แทนลักทรัพย์
ผู้เสียหายได้มอบกระบือและรถจักรยาน 2 ล้อให้จำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแลรักษาโดยเก็บรักษาไว้ที่นาเพื่อใช้ทำนาและไร่ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวผู้เสียหายได้มอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองทรัพย์นั้นแทนผู้เสียหาย การยึดถือครอบครองทรัพย์จึงอยู่ที่จำเลย หาใช่ยังอยู่ที่ผู้เสียหายไม่ เมื่อจำเลยเอาทรัพย์นั้นไปให้แก่บุคคลอื่น จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หาใช่ลักทรัพย์ตามฟ้องไม่เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องในข้อสาระสำคัญซึ่งโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย จะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีอาญา: การยักยอกทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าคดีของโจทก์มีมูลว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์โต้เถียงปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 3