คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาตลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากการส่งสินค้าออกต่างประเทศ ให้ใช้ราคาตลาดในประเทศเท่านั้น ไม่รวมค่าระวางและค่าประกันภัย
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี วรรคแรก บัญญัติให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไป เป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ มิได้บัญญัติให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศและไม่มีบทบัญญัติในมาตราอื่นของประมวลรัษฎากรบัญัติเช่นนั้น ดังนั้น ในการคำนวณรายได้ของบริษัท โจทก์ที่ส่งหมากฝรั่งไปขายให้แก่บริษัท ว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกง เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทโจทก์ จึงต้องคำนวณจากราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น จะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยเข้าด้วยไม่ได้
สำหรับภาษีการค้า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1 (ก) (ง) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์ส่งสินค้าที่ตนประกอบการค้านั้นออกนอกราชอาณาจักรต้องถือว่าเป็นการขายสินค้า และถือว่ามูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดมูลกรณีคดีนี้ และตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) ดังกล่าว คำว่า "มูลค่า" หมายความว่า ราคาตลาดของทรัพย์สิน ของบริการหรือของประโยชน์ใด ๆ และในกรณีที่ไม่มีราคาตลาดหมายความว่า ราคาอันผู้ประกอบการค้าพึงได้รับจากทรัพย์สินจากบริษัทหรือจากประโยชน์นั้น ๆ ฯลฯ ดังนั้น มูลค่าของหมากฝรั่งที่โจทก์ส่งไปขายให้แก่บริษัท ว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกงอันจะถือเป็นรายรับในการคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้า จึงต้องถือตามราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยโดยไม่บวกค่าระวางขนส่งและค่าประกันภัยเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้และภาษีจากการส่งสินค้าออกต่างประเทศ ให้ใช้ราคาตลาดในประเทศ ไม่รวมค่าระวางและประกันภัย
ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ตรี วรรคแรก บัญญัติให้ถือเฉพาะราคาสินค้าตาม ราคาตลาดในวันที่ส่งไป เป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ มิได้บัญญัติให้บวกหรือรวมค่าระวางและค่าประกันภัยเข้ากับราคา สินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศและไม่มีบทบัญญัติในมาตราอื่นของประมวลรัษฎากร บัญญัติเช่นนั้น ดังนั้น ในการคำนวณรายได้ของบริษัทโจทก์ที่ส่งหมากฝรั่งไปขายให้แก่บริษัทว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกง เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทโจทก์จึงต้องคำนวณจากราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่ายในประเทศไทยเท่านั้น จะบอกค่าระวางและค่าประกันภัยเข้าด้วยไม่ได้
สำหรับภาษีการค้า โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 1(ก)(ง) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์ส่งสินค้าที่ตนประกอบการค้านั้นออกนอก ราชอาณาจักรต้องถือว่าเป็นการขายสินค้า และถือว่ามูลค่าของสินค้าดังกล่าว เป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ(2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 12 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ ขณะเกิดมูลกรณีคดีนี้ และตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) ดังกล่าว คำว่า "มูลค่า" หมายความว่า ราคา ตลาดของทรัพย์สิน ของบริการหรือของประโยชน์ใด ๆ และในกรณีที่ไม่มี ราคาตลาดหมายความว่า ราคาอันผู้ประกอบการค้าพึงได้รับจากทรัพย์สินจากบริการหรือจากประโยชน์นั้น ๆ ฯลฯ ดังนั้น มูลค่าของหมากฝรั่งที่โจทก์ส่งไปขายให้แก่บริษัทว. ในประเทศมาเลเซียและฮ่องกงอันจะถือเป็นรายรับในการคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้า จึงต้องถือตามราคาตลาดของหมากฝรั่งที่โจทก์จำหน่าย ในประเทศไทยโดยไม่บวกค่าระวางขนส่งและค่าประกันภัยเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยใช้ราคาขายส่งเป็นฐานคำนวณ กรณีผู้ผูกขาดจำหน่ายและมีข้อตกลงราคาจากผู้ผลิต
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาทเรื่องนี้ ไม่มีบทนิยามคำว่า "ราคาตลาด" ของรถยนต์ให้มีความหมายโดยเฉพาะดั่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ขึ้นใหม่ โดยให้ถือตามราคาขายปลีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่า ราคาตลาดของรถยนต์หมายถึงราคาของรถยนต์ชนิด ขนาด สภาพ คุณภาพ เหมือนกับที่ซื้อขายกันเป็นปกติในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจมีทั้งราคาขายส่งและราคาขายปลีก
โจทก์เป็นผู้ผูกขาดในการสั่งรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งเข้ามาและในการประกอบรถยนต์ยี่ห้อดังกล่าวในประเทศไทย โดยผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อนี้ในต่างประเทศกำหนดให้โจทก์ต้องขายรถยนต์แก่บริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายอยู่ก่อนแต่ผู้เดียว จะขายส่งหรือขายปลีกแก่ผู้อื่นไม่ได้ และโจทก์ต้องคิดราคารถที่ขายแก่บริษัท ก. ตามราคาที่บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศกำหนดมา ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงต้องขายส่งรถยนต์ให้แก่บริษัท ก. ในราคาเกือบเท่าต้นทุน และราคาที่โจทก์ขายส่งแก่บริษัท ก. มาเป็นรายรับคำนวณเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้จึงชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะถือเอาราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกมาเป็นราคาตลาดแล้วกำหนดราคาขายและรายรับของโจทก์ขึ้นใหม่ แล้วประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยใช้ราคาขายส่งที่สมเหตุสมผล แม้ไม่มีนิยามราคาตลาดที่ชัดเจนในกฎหมาย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18)พ.ศ.2504 มาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาทเรื่องนี้ ไม่มีบทนิยามคำว่า 'ราคาตลาด' ของรถยนต์ให้มีความหมายโดยเฉพาะดั่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2508มาตรา 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ขึ้นใหม่ โดยให้ถือตามราคาขายปลีก จึงย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าราคาตลาดของรถยนต์หมายถึงราคาของรถยนต์ชนิด ขนาด สภาพคุณภาพ เหมือนกับที่ซื้อขายกันเป็นปกติในท้องตลาดทั่วๆไป ซึ่งอาจมีทั้งราคาขายส่งและราคาขายปลีก
โจทก์เป็นผู้ผูกขาดในการสั่งรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งเข้ามาและในการประกอบรถยนต์ยี่ห้อดังกล่าวในประเทศไทยโดยผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อนี้ในต่างประเทศกำหนดให้โจทก์ต้องขายรถยนต์แก่บริษัท ก. ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายอยู่ก่อนแต่ผู้เดียว จะขายส่งหรือขายปลีกแก่ผู้อื่นไม่ได้และโจทก์ต้องคิดราคารถที่ขายแก่บริษัท ก. ตามราคาที่ บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศกำหนดมา ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงต้องขายส่งรถยนต์ให้แก่บริษัท ก. ในราคาเกือบเท่าต้นทุนและราคาที่โจทก์ขายส่งกับราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกจึงแตกต่างกันมาก การที่โจทก์นำเอาราคารถยนต์ที่โจทก์ขายส่งแก่บริษัทก. มาเป็นรายรับคำนวณเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้จึงชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินจะถือเอาราคาที่บริษัท ก. ขายปลีกมาเป็นราคาตลาดแล้วกำหนดราคาขายและรายรับของโจทก์ขึ้นใหม่ แล้วประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจากโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการสละการครอบครองที่ดิน: ราคาตลาดและผลของการระงับหนี้
กู้เงินแล้วผู้กู้ทำหนังสือสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้เป็นการชำระหนี้เมื่อถึงกำหนดใช้เงินแล้ว ผู้ให้กู้ตกลงยอมรับ ผู้ให้กู้เข้าครอบครองได้ทันที ถือเป็นการชำระหนี้ คิดราคาท้องตลาดเท่ากับจำนวนหนี้ตามมาตรา 656 หนี้ระงับตามมาตรา 321

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2140/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากผิดสัญญาซื้อขายแร่: คำนวณตามราคาตลาดจริงที่โจทก์ต้องซื้อทดแทน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายแร่ฟลูโอสปาร์ให้โจทก์โดยตกลงส่งแร่ให้เป็นงวด ๆ รวม 12 งวด ถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ จำเลยที่ 1จัดส่งแร่ให้โจทก์รวม 6 งวด แล้วผิดสัญญาไม่ส่งแร่ให้ครบตามสัญญานับแต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ราคาแร่ได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดซื้อส่งให้แก่โจทก์ได้ และโจทก์มีความจำเป็นต้องมีแร่สำรองไว้ใช้ทำแก้วไม่ให้ขาดมือเพราะจะเกิดความเสียหายขึ้น โจทก์จึงต้องซื้อแร่ในราคาแพงจากผู้อื่น แม้โจทก์จะซื้อแร่จากผู้อื่นต่างวัน ต่างเดือน ต่างจำนวน และต่างราคากัน แต่เมื่อโจทก์ซื้อตามราคาแร่ของท้องตลาด และตามความจำเป็นที่ต้องใช้ กับได้จ่ายเงินค่าซื้อแร่ดังกล่าวไปจริง ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงต้องใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญาให้โจทก์เท่าราคาที่โจทก์ซื้อแพงขึ้นตามสัญญา จะคำนวณค่าเสียหายโดยถือเกณฑ์เฉลี่ยราคาแร่ที่โจทก์ซื้อจากผู้อื่นหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคา CIF สำหรับคำนวณภาษี: ราคาตลาดหลังหักส่วนลดเป็นเกณฑ์ที่ถูกต้อง
โจทก์สั่งสินค้าอุปกรณ์ท่อน้ำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร ราคาสินค้าดังกล่าวที่เสนอขายเป็นราคามาตรฐานสากล แต่ผู้ขายหักส่วนลดให้โจทก์ 58% ราคาที่หักส่วนลดแล้วเป็นราคาตลาด ดังนี้ ต้องถือราคาที่หักส่วนลดแล้วเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. ที่จะคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เพราะรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 (6) หมายความว่ามูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้ความหมายคำว่า มูลค่าว่า ราคาตลาดของทรัพย์สิน ทั้งโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารและชำระเงินไปตามตั๋วแลกเงินในจำนวนราคาที่หักส่วนลดแล้ว ราคาสินค้าที่หักส่วนลดนี้จึงเป็นราคาที่แท้จริง เป็นราคาตลาดและราคา ซี.ไอ.เอฟ. ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ จำเลยไม่มีอำนาจที่จะอาศัยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) ประเมินราคา ซี.ไอ.เอฟ. ใหม่ โดยถือเอาราคาสินค้าก่อนหักส่วนลดเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ.มาเป็นหลักในการประเมินภาษีการค้าของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้า: ราคา CIF ที่ถูกต้องคือราคาหลังหักส่วนลดตามราคาตลาด
โจทก์สั่งสินค้าอุปกรณ์ท่อน้ำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรราคาสินค้าดังกล่าวที่เสนอขายเป็นราคามาตรฐานสากล แต่ผู้ขายหักส่วนลดให้โจทก์ 58% ราคาที่หักส่วนลดแล้วเป็นราคาตลาด ดังนี้ ต้องถือราคาที่หักส่วนลดแล้วเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ ที่จะคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เพราะรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79(6) หมายความว่ามูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักรซึ่งมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นให้ความหมายคำว่า มูลค่าว่า ราคาตลาดของทรัพย์สินทั้งโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารและชำระเงินไปตามตั๋วแลกเงินในจำนวนราคาที่หักส่วนลดแล้ว ราคาสินค้าที่หักส่วนลดนี้จึงเป็นราคาที่แท้จริง เป็นราคาตลาดและราคา ซี.ไอ.เอฟ ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ จำเลยไม่มีอำนาจที่จะอาศัยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 4) ประเมินราคา ซี.ไอ.เอฟ ใหม่ โดยถือเอาราคาสินค้าก่อนหักส่วนลดเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ มาเป็นหลักในการประเมินภาษีการค้าของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลพิจารณาจากราคาตลาดและค่าปรับที่สมเหตุสมผล
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดสัญญาไม่ขายที่ดินให้โจทก์ โดยคำนวณจากผลกำไรทั้งหมดซึ่งโจทก์คาดหมายว่าจะขายที่ดินได้ในราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อจากจำเลย แต่ความเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นเป็นเพียงความหวังของโจทก์โจทก์จะขายที่ดินได้ในราคานั้นหรือไม่ ไม่เป็นที่แน่นอน ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ แต่ที่ดินที่จะซื้อขายมีทางหลวงตัดผ่านไป พอคาดหมายได้ว่าต้องมีราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลย ศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ไม่เหมาะสม จำเลยก็จะร้องมาในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาศาลล่างโดยมิได้อุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ แต่ศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย หากเห็นเป็นการสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาตลาดโภคภัณฑ์: ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาปานกลาง การกำหนดราคาตามอำเภอใจไม่ชอบ
ราคาตลาดของโภคภัณฑ์นั้น อาจไม่มีราคาตายตัวหรือมีราคาเดียว การจำหน่ายโภคภัณฑ์ราคาสูงต่ำผิดกันก็อาจอยู่ภายในกรอบของราคาตลาด ฉะนั้น การจำหน่ายโภคภัณฑ์สูงหรือต่ำกว่าราคาปานกลาง จึงมิใช่แสดงว่าราคาที่จำหน่ายนั้นมิใช่ราคาตลาด และราคาตลาดมิใช่หมายถึงราคาปานกลางของการจำหน่าย
of 21