พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงให้ลงลายมือชื่อในเอกสารจำนอง และการปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงิน
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญญาจำนองที่ดินและหนังสือเรื่องราวจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แม้จะยังไม่ได้กรอกข้อความลงในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำเอกสารสิทธิแล้ว เพราะจำเลยอาจนำไปกรอกข้อความให้ครบถ้วนบริบูรณ์ว่าผู้เสียหายเจตนาทำสัญญาจำนองที่ดินได้จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 และเมื่อจำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปกรอกข้อความให้ผิดจากความประสงค์ของผู้เสียหายโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ยินยอม แล้วจำเลยนำไปยื่นต่อธนาคารและสำนักงานที่ดินเพื่อเป็นการจำนองที่ดินของผู้เสียหายค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265 และ 268 ด้วย แต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวเพื่อให้ได้เงินจากธนาคาร จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 265 อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอุทธรณ์ต้องมีลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ มิฉะนั้นเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ ศาลต้องแก้ไขก่อนพิจารณา
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์เป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) และเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อในฟ้องอุทธรณ์เสียให้ถูกต้อง แล้วให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้: ผลตรวจผู้เชี่ยวชาญเพียงพอต่อการวินิจฉัยคดี
โจทก์จำเลยท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญาว่าเป็นลายมือของจำเลยหรือไม่ ถ้าเป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยยอมแพ้คดี ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อจำเลยและลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้แล้วมีความเห็นว่าน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลเดียวกัน ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เชี่ยวชาญมี ความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตาม คำท้าอันเป็นเหตุให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วหาจำต้องเอาข้อเท็จจริง อื่นมาฟังประกอบอีกไม่ ดังนั้น ปัญหาที่ว่าศาลอุทธรณ์นำคำรับ ในคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยร่วมกับผลการตรวจพิสูจน์ของ ผู้เชี่ยวชาญให้จำเลยแพ้คดีเป็นการชอบหรือไม่ จึงไม่จำเป็นต่อ รูปคดีที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญเป็นเหตุให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้า แม้ผลการตรวจไม่ชัดเจน
โจทก์จำเลยท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญาว่าเป็นลายมือของจำเลยหรือไม่ ถ้าเป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยยอมแพ้คดีผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อจำเลยและลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้แล้วมีความเห็นว่าน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลเดียวกัน ดังนี้ ถือได้ว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตามคำท้าอันเป็นเหตุให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้วหาจำต้องนำเอาข้อเท็จจริงอื่นมาฟังประกอบอีกไม่ ดังนั้น ปัญหาที่ว่าศาลอุทธรณ์นำคำรับในคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยร่วมกับผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญให้จำเลยแพ้คดีเป็นการชอบหรือไม่ จึงไม่จำเป็นต่อรูปคดีที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยอีกต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากธนาคารปฏิเสธจ่ายเนื่องจากลายมือชื่อ
การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 (1) และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า "ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ " ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีนั้นโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายตามเช็คหรือไม่ต่างกับการฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 3 (1) ในกรณีอื่น หรือมาตรา 3 (2) หรือมาตรา 3 (3) และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงจะต้องนำสืบถึงจำนวนเงินในบัญชีของจำเลยในวันออกเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากธนาคารปฏิเสธจ่ายด้วยเหตุลายมือชื่อไม่ตรง
การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1) และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า "ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ " ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีนั้นโจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายตามเช็คหรือไม่ต่างกับการฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 3(1) ในกรณีอื่น หรือมาตรา 3(2) หรือมาตรา 3(3) และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่ายกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงจะต้องนำสืบถึงจำนวนเงินในบัญชีของจำเลยในวันออกเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4568/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารใช้เช็คปลอม - ความรับผิดชอบในการตรวจสอบลายมือชื่อและตราประทับ
โจทก์เป็นเจ้าของเช็คซึ่งธนาคาร ร. ในต่างประเทศมีคำสั่งให้ธนาคารจำเลยใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ห้าง ฯ อ.เพื่อชำระหนี้ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแต่ห้าง ฯ อ. แจ้งว่าไม่ได้รับเช็คดังกล่าว โจทก์จึงได้ส่งเช็คฉบับใหม่มาชำระให้แก่ห้าง ฯอ. อีกฉบับหนึ่ง ภายหลังโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คฉบับแรกซึ่งมีผู้ปลอมตราประทับและลายมือชื่อผู้จัดการห้าง ฯ อ. มาเรียกเก็บเงินไปก่อนแล้วดังนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าของเช็คพิพาทผู้มีสิทธิในเงินจำนวนที่สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งยังไม่ตกไปถึงมือผู้รับเงินตามความประสงค์ของโจทก์ ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ธนาคารจำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทอันเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะผ่านธนาคาร ส. ซึ่งส่งเช็คมาเรียกเก็บเงิน การที่จำเลยมิได้ตรวจสอบลายมือชื่อและตราประทับของผู้สลักหลังในเช็คพิพาทยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คไปโดยประมาทเลินเล่อ เพราะเช็คขีดคร่อมที่ส่งมาเรียกเก็บจากธนาคารส.นั้นเป็นหน้าที่ของธนาคารส. ผู้รับเช็คที่จะตรวจสอบไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยซึ่งใช้เงินผ่านธนาคาร ส.ดังนั้นแม้ลายมือชื่อและตราประทับที่ปรากฏในเช็คพิพาทจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตามจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
ธนาคารจำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทอันเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะผ่านธนาคาร ส. ซึ่งส่งเช็คมาเรียกเก็บเงิน การที่จำเลยมิได้ตรวจสอบลายมือชื่อและตราประทับของผู้สลักหลังในเช็คพิพาทยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คไปโดยประมาทเลินเล่อ เพราะเช็คขีดคร่อมที่ส่งมาเรียกเก็บจากธนาคารส.นั้นเป็นหน้าที่ของธนาคารส. ผู้รับเช็คที่จะตรวจสอบไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยซึ่งใช้เงินผ่านธนาคาร ส.ดังนั้นแม้ลายมือชื่อและตราประทับที่ปรากฏในเช็คพิพาทจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตามจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับลายมือชื่อในภาพถ่ายเอกสาร: ศาลรับฟังเป็นหลักฐานได้
เมื่อโจทก์เคยเบิกความรับว่าภาพถ่ายลายมือชื่อของโจทก์ในเอกสารหมาย ล.3 เป็นลายเซ็นของโจทก์จริง แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของภาพถ่ายเอกสารหมาย ล.3 จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ล.3 เป็นสำเนาเอกสารที่ถูกต้องแล้ว ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับความถูกต้องของสำเนาเอกสารลายมือชื่อ มีผลให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อโจทก์เคยเบิกความรับว่าภาพถ่ายลายมือชื่อของโจทก์ในเอกสารหมาย ล.3 เป็นลายเซ็นของโจทก์จริง แสดงว่า โจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของภาพถ่ายเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับโจทก์ยอมรับว่า เป็นสำเนาเอกสารที่ถูกต้องแล้วศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในหนังสือสัญญา กู้ยืมเงิน ชื่อเล่นใช้ได้ หากแสดงเจตนาชัดเจน
จำเลยทั้งสองเขียนจดหมายถึงโจทก์อ่านแล้วได้ความว่า จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินโจทก์เพื่อสร้างบ้านให้เสร็จ การที่จำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่นของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้าย จดหมายดังกล่าวด้วยตัวอักษรธรรมดา (หวัดแกมบรรจง) นั้น ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2530)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2530)