คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6004/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและการแปลงหนี้: การเปลี่ยนตัวลูกหนี้ในมูลละเมิด
เดิม ส. บุตรชายของจำเลยขับรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์เป็นเหตุให้ พ. บุตรชายของโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์อาจเรียกร้องค่าเสียหายจาก ส. ได้ จำเลยทำบันทึกยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทอันเกิดจากมูลละเมิดให้เสร็จสิ้นไป โดยเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นการขืนใจลูกหนี้เดิมและไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเริ่มนับเมื่อมีสิทธิเรียกร้อง การรับสภาพหนี้ต้องกระทำโดยลูกหนี้หรือตัวแทน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่ กรป.กลาง ตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์ 9 คัน กับโจทก์จริงหรือไม่ นั้น เป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่ 2 แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.34 ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้น แต่ตามเอกสารหมาย จ.34 ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้แต่งตั้งให้ กรป.กลาง เป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ แม้ กรป.กลาง จะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่ 2 ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น จะเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่
เมื่อ กรป.กลาง เป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งจะต้องปฏิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย โดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอก กรป.กลาง ย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย ต้องให้จำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอก หรือให้ กรป.กลาง เป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ดังนี้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องเองแก่จำเลยที่ 2 ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่ 2 ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้น แต่โจทก์รีรอฟังผลจาก กรป.กลาง เรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้ว จึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อม: การรับสภาพหนี้ต้องชัดเจนจากลูกหนี้หรือตัวแทน มิใช่หน่วยงานภายใน
การรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้แต่งตั้งให้กรป.กลางเป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์รูปคดีฟังไม่ได้ว่ามีการรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันจำเลยที่2อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันว่าจ้างโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่1และที่2เชิดกรป.กลางให้เป็นตัวแทนของตนแต่อย่างใดข้อฎีกาดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมนี้โจทก์สามารถเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่2ในฐานะคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่2ได้ตั้งแต่วันดังกล่าวและอายุความย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันนั้นแต่โจทก์รีรอฟังผลจากกรป.กลางเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด2ปีนับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือว่าคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อมรถ: การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้หรือตัวแทน ไม่ใช่หน่วยงานภายใน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่กรป.กลางตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์9คันกับโจทก์จริงหรือไม่นั้นเป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่2แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมายจ.34ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้นแต่ตามเอกสารหมายจ.34ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าวและไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้แต่งตั้งให้กรป.กลางเป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์แม้กรป.กลางจะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่2ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้นและเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่ เมื่อกรป.กลางเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่2ซึ่งจะต้องปฎิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่2มอบหมายโดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอกกรป.กลางย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายต้องให้จำเลยที่2เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอกหรือให้กรป.กลางเป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ดังนี้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องแก่จำเลยที่2ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่2ได้ตั้งแต่วันดังกล่าวและอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้นแต่โจทก์รีรอฟังผลจากกรป.กลางเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด2ปีนับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้วจึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
การที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง14แปลงแทนลูกหนี้ของผู้ล้มละลายเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้เสียแทนลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา230,314 เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนลูกหนี้มีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินทั้ง14โฉนดอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายศาลชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามมาตรา32แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมหลังล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และลูกหนี้หลังยกเลิกการล้มละลาย
การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองและการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่2กับผู้คัดค้านเป็นอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องกระทำในคดีล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมิใช่กระทำแทนจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายซึ่งมีผลทำให้จำเลยที่2หลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายและการยกเลิกการล้มละลายทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมดอำนาจที่จะรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่2ซึ่งมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถบังคับคดีต่อไปได้แต่จำเลยที่2ก็ไม่มีสิทธิขอให้บังคับในคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนและการจำนองให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาได้เพราะคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับผู้คัดค้านเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องคำนึงถึงประโยชน์ลูกหนี้และราคาที่เหมาะสม
การขายทอดตลาดทรัพย์มีความมุ่งหมายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในขณะเดียวกันเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องให้ความคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วย โดยต้องไม่ขายทรัพย์สินเกินความจำเป็น และเมื่อได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้ว ก็ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินอื่นที่ยึดหรืออายัดไว้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นอีก ถ้าเห็นว่าราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดในการขายทอดตลาดนั้นยังไม่เพียงพอเช่นราคาต่ำไป เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้ หากฝ่าฝืนก็อาจถือได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นอาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการถึงไร่ละ 40,000 บาท ที่ดินทั้งสองแปลงมีเนื้อที่รวม 104 ไร่ จึงได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินถึง 4,160,000 บาท อีกทั้งโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็รู้ดีว่าหากโจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ในวันขายทอดตลาดครั้งที่ 6 จำนวน40,000 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ก็จะเป็นหนี้โจทก์เพียงประมาณ 40,000 บาท เท่านั้นการขายทอดตลาดที่ดินแปลงหลังเพียงแปลงเดียวก็น่าจะเพียงพอแก่การชำระหนี้โจทก์ได้อยู่แล้ว แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้กระทำการโดยสุจริต แต่ไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้เท่าที่ควรจึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด อันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบด้วยประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องไม่เกินความจำเป็นและต้องรักษาผลประโยชน์ลูกหนี้ หากขายราคาต่ำกว่าประเมินถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
การขายทอดตลาดทรัพย์มีความมุ่งหมายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีและในขณะเดียวกันเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องให้ความคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วยโดยต้องไม่ขายทรัพย์สินเกินความจำเป็นและเมื่อได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้วก็ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินอื่นที่ยึดหรืออายัดไว้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องเป็นธรรมและคุ้มครองลูกหนี้ มิให้เกิดความเสียหาย
การขายทอดตลาดทรัพย์มีความมุ่งหมายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในขณะเดียวกันเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องให้ความคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วยโดยต้องไม่ขายทรัพย์สินเกินความจำเป็นและเมื่อได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้วก็ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินอื่นที่ยึดหรืออายัดไว้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นอีกถ้าเห็นว่าราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดในการขายทอดตลาดนั้นยังไม่เพียงพอเช่นราคาต่ำไปเจ้าพนักงานบังคับคดีอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้หากฝ่าฝืนก็อาจถือได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นอาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการถึงไร่ละ40,000บาทที่ดินทั้งสองแปลงมีเนื้อที่รวม104ไร่จึงได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินถึง4,160,000บาทอีกทั้งโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็รู้ดีว่าหากโจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่1ในวันขายทอดตลาดครั้งที่6จำนวน40,000บาทแล้วจำเลยที่1ก็จะเป็นหนี้โจทก์เพียงประมาณ40,000บาทเท่านั้นการขายทอดตลาดที่ดินแปลงหลังเพียงแปลงเดียวก็น่าจะเพียงพอแก่การชำระหนี้โจทก์ได้อยู่แล้วแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้กระทำการโดยสุจริตแต่ไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้เท่าที่ควรจึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดอันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา513ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา308เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้มูลละเมิดต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำละเมิด - ความรับผิดทางละเมิด - ค่าเสียหาย
แม้เกิดเหตุแล้วโจทก์ยังสามารถสอนหนังสือได้แต่การที่โจทก์ต้องทุพพลภาพเป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไปจึงทำได้แต่เพียงสอนหนังสืออย่างเดียวทั้งๆที่ความรู้ความสามารถของโจทก์สามารถก้าวหน้าไปในทางวิชาการและดำรงตำแหน่งผู้บริหารได้ถือได้ว่าโจทก์สูญเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคตแล้วและการที่โจทก์ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องรักษาตัวไปตลอดชีวิตไม่สามารถสมรสและมีบุตรได้อนาคตทางการงานไม่อาจเจริญก้าวหน้าไปตามปกติโจทก์ต้องได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสทั้งร่างกายและจิตใจไปตลอดชีวิตจึงได้รับค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าทุกข์ทรมานอีกส่วนหนึ่งด้วย หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา206ดังนั้นจำเลยที่1และที่2จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแม้ค่าเสียหายบางส่วนจะเป็นค่าเสียหายในอนาคตก็ตาม จำเลยที่2มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุที่จำเลยที่2เป็นเจ้าของไปส่งของโดยจำเลยที่1ได้รับค่าจ้างจากจำเลยที่2เป็นค่าตอบแทนในการทำงานเมื่อจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกตามคำสั่งของจำเลยที่2ไปชนโจทก์เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสถือได้ว่าจำเลยที่1ลูกจ้างได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างจำเลยที่2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่1
of 83