พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลายจากหนี้ฉ้อโกงประชาชน – ข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินคืนแก่ประชาชน รวมเป็นเงิน 13,620,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีทรัพย์สินให้ยึดและอายัดเพียงประมาณ 100,000 บาท เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดอยู่เป็นจำนวนมาก พนักงานสอบสวนได้ออกหมายจับจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดี แต่จำเลยที่ 2หลบหนี และในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นยังติดตามจับกุมจำเลยที่ 2 ไม่ได้ พฤติการณ์แสดงว่า จำเลยที่ 2 ได้ไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่หรือหลบหนีไป กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(4) ข. ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำสืบพยานหลักฐานใด จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น บุคคลภายนอกไม่มีหน้าที่รับผิดชอบค่าธรรมเนียม
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 ผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงบุคคลภายนอก ที่ฟ้องคดีล้มละลายเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิม จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวโดยตรงตามกฎหมาย ล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมในคดี การที่ผู้ร้องเสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้าน(เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์)ในการรวบรวมทรัพย์สินโดยปราศจากอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นชอบด้วยกับ ข้อเสนอของผู้ร้องเช่นนี้ จึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการยึดทรัพย์สินเองโดยเชื่อตาม คำเสนอแนะของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจจะอ้างอิงอาศัย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาออก คำสั่งให้ผู้ร้องต้องนำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินสำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเป็นของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียม
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว อำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22ไม่มีบทบัญญัติให้บุคคลอื่นมีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยด้วย ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ฟ้องเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เป็นคดีอื่น จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดใด ๆ เป็นส่วนตัวตามกฎหมายล้มละลายในเรื่องค่าธรรมเนียมในคดีนี้ การที่ผู้ร้องเสนอตัวเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลย และผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของผู้ร้องต้องถือว่าผู้คัดค้านได้ใช้ดุลพินิจดำเนินการยึดทรัพย์สินเองผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจที่จะอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาออกคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายมาชำระต่อผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการยกเหตุไม่ควรให้ล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในชั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายจำเลยอุทธรณ์ 2 ประการ คือไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยทุจริตดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประการหนึ่ง และคดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายล้มละลายโดย พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กำหนดจำนวนหนี้ขั้นต่ำที่จะฟ้องคดีล้มละลายไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และในคดีมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 4 ราย ขอให้ศาลอุทธรณ์หยิบยกมาตรา 14 ขึ้นพิจารณาอีกประการหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาที่สองว่าจำเลยจะสามารถขอให้ศาลยกเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มลายตามมาตรา 14 มาพิจารณาในชั้นขอประนอมหนี้ได้หรือไม่ อย่างไร จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วสมดั่งเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียว
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับขั้นตอนการพิจารณาคดีล้มละลาย: เหตุไม่ควรล้มละลายต้องยกขึ้นก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เหตุไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 เป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงต้องพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามมาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องมีสถานะเป็นหุ้นส่วนขณะฟ้องและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงจะถูกขอให้ล้มละลายได้
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งได้จดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้นั้น ต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในขณะที่โจทก์ฟ้องและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนไว้เด็ดขาด ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในช่วงก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่อาจขอให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนและเอกสารสำเนาใช้ได้เป็นหลักฐานได้หากไม่มีการคัดค้าน และการพิสูจน์ทรัพย์สินเพื่อการล้มละลาย
หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนซึ่งเจ้าพนักงานจัดทำขึ้น และต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายังต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร โจทก์จึงไม่จำต้องนำพยานบุคคลมาเบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวอีก ส่วนหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีคำพิพากษาตามยอมคดีหมายเลขแดงที่ 15475/2537 ของศาลแพ่ง บัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินในการบังคับคดีทรัพย์สินจำเลยของกรมบังคับคดี รายละเอียดการคำนวณยอดหนี้ของจำเลย และคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์จะไม่ได้นำพยานที่จัดทำเอกสารดังกล่าวมาสืบแต่ก็ได้ทำเป็นสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเมื่อโจทก์นำสืบจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับ จึงเป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับพิจารณาได้ว่ามีข้อเท็จจริงอยู่อย่างไรโดยไม่ต้องมีพยานที่จัดทำเอกสารมาเบิกความรับรองหรือชี้แจงประกอบ
โจทก์ได้ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาลาดพร้าวซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนาแล้วไม่พบชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินถือได้ว่าโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5)
โจทก์ได้ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาลาดพร้าวซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนาแล้วไม่พบชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินถือได้ว่าโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: คดีล้มละลาย - การขยายระยะเวลาวางเงินซื้อทรัพย์ - ค่าขึ้นศาลคำขอปลดเปลื้องทุกข์
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และมีคำสั่งให้รับเงิน 8,150,000 บาท จากผู้ร้อง กับดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์ต่อไป ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยจะมีผลเพียงให้ผู้ร้องวางเงินไว้ร้อยละห้าของราคาทรัพย์ที่ซื้อโดยวางเพิ่มอีกเป็นเงิน 8,150,000 บาท และผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงินส่วนที่เหลืออีกจำนวน 173,850,000 บาท ไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้มีผลเป็นการขอบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายและโอนที่ดินที่ผู้ร้องซื้อได้จากการขายทอดตลาดให้ผู้ร้อง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ไม่ใช่เสียตามทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การคำนวณค่าขึ้นศาลตามประเภทคดี (ปลดเปลื้องทุกข์ vs. ทุนทรัพย์)
ผู้ร้องยื่นคำร้อง ขอให้เพิกถอนการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และมีคำสั่งให้รับเงิน 8,150,000บาท จากผู้ร้องกับดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์ต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับผู้ร้องจะมีผลเพียงให้ผู้ร้องวางเงินไว้ร้อยละห้าของราคาทรัพย์ที่ซื้อโดยวางเพิ่มอีก 8,150,000 บาท และผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินส่วนที่เหลืออีก 173,850,000 บาทไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดคำร้องดังกล่าวไม่มีผลถึงกับเป็นการขอบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายและโอนที่ดินที่ผู้ร้องซื้อได้ให้ผู้ร้อง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจในไทย การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบธุรกิจมีผลต่ออำนาจฟ้อง
การฟ้องให้ล้มละลายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 7 โดยลูกหนี้ต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ล้มละลายหรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น แม้ตามอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินเดียเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ข้อ 5 อนุ 4 ที่โจทกอ้างจะถือได้ว่าจำเลยมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แต่คำว่า "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาดังกล่าว ข้อ 5 อนุ 1 และ 2 หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และหมายความรวมถึง (ก) สถานจัดการ (ข) สาขาสำนักงาน (ง) โรงงาน (จ) โรงช่าง...และตามอนุ 4 (ค) หมายถึง บุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับคำสั่งซื้อซึ่งกระทำในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของการดำเนินการในการประกอบธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรแก่บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย ตาม พ.ร.ฏ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ไม่เกี่ยวกับระยะเวลาในการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพราะใบอนุญาตสิ้นอายุไปแล้ว จึงไม่มีการประกอบธุรกิจ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ส่วนการประกอบธุรกิจในประเทศนั้น เมื่อใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสิ้นอายุแล้ว จำเลยไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปอีกได้ ทั้งจำเลยปิดการประกอบธุรกิจไปแล้ว และโจทก์เพิ่งฟ้องคดีหลังจากจำเลยยื่นอุทธรณ์การประเมินเกือบ 10 ปี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรในขณะที่มีการขอให้ล้มละลาย หรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง