พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมผู้กระทำผิดศุลกากร: การรายงานจับกุมและการใช้อำนาจจับกุมของเจ้าหน้าที่ศุลกากรและ ก.ต.ภ.
บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าไม่ใช่การจับกุมตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 24/2508 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับใบแจ้งความนำจับรายงานการจับกุมและรายงานการตรวจพบการเก็บอากรขาด เมื่อพนักงานศุลกากรจับกุมแล้วต้องทำรายงานการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาด้วยเมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำรายงานการจับกุมเพียงแต่บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานศุลกากรจึงไม่ใช่ผู้จับกุมบุคคลที่กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลการจับกุม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6(3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6(3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกระทงเกี่ยวกับอาวุธปืนและศุลกากร: การพิจารณาความผิดต่างกรรมหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกระทงคือกระทำความผิด ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่กรรมหนึ่ง และกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรโดยพยายามลักลอบนำโลหะรูปกวางและอาวุธปืนกับเครื่องกระสุนปืนออกนอกราชอาณาจักรอีกกรรมหนึ่งจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร, สิทธิของเจ้าของทรัพย์สินที่เสียภาษีถูกต้อง, และการติดตามเอาคืนจากผู้ซื้อโดยสุจริต
รถยนต์รายพิพาทผู้นำเข้าเสียอากรนำเข้าถูกต้องแล้ว โจทก์รับประกันภัยไว้ รถคันนี้ถูกคนร้ายลักไป โจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วรับโอนไว้จากผู้เอาประกันภัย ซึ่งชำระค่าเช่าซื้อรถครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานศุลกากรของจำเลยจับรถได้ หาว่านำเข้ามาโดยไม่เสียภาษีอากรแล้วขายต่อไป จำเลยสามารถตรวจสอบได้ แต่ไม่ตรวจสอบว่าเป็นรถที่เสียอากรแล้วหรือไม่ เป็นประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 25 ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2497 คำว่าสิ่งใด ๆ ที่พึงต้องริบ นำมาใช้แก่รถยนต์ที่เสียอากรแล้วไม่เป็นสิ่งที่พึงริบ ไม่ได้ แม้เกิน 30 วัน โจทก์ก็เรียกคืนได้ จำเลยซื้อรถโดยสุจริต แต่มิใช่จากการขายทอดตลาด ไม่มีสิทธิดีกว่าโจทก์
เอกสารภาพถ่ายหนังสือของสำนักงานทะเบียนว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้อง แต่มีพยานบุคคลเบิกความว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคล
กรมธรรม์ประกันภัยมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่คดีนี้มิใช่กรณีบังคับระหว่างผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย เป็นเรื่องผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาฟ้องคนภายนอก ไม่อยู่ในบังคับต้องมีเอกสารมาแสดงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 คำพยานบุคคลของโจทก์ฟังได้โดยไม่ต้องอาศัยเอกสาร
บริษัทเป็นผู้เอาประกันภัยโดยผู้เช่าซื้อรถเป็นผู้แทน แม้ไม่มีหนังสือตั้งตัวแทนตามมาตรา 798 แต่มิใช่เป็นคดีระหว่างบริษัทกับผู้ทำการแทนว่าผู้ทำการแทนเป็นตัวแทนนำรถยนต์ มาเอาประกันภัยกับโจทก์หรือไม่โจทก์ไม่ต้องมีเอกสารตั้งตัวแทนมาแสดง
ผู้เช่าซื้อชำระราคาครบถ้วนแล้ว ได้กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อแล้วมอบสิทธิในรถยนต์แก่โจทก์ แม้กรรมการของโจทก์คนเดียวลงลายมือชื่อรับมอบรถ กรรมการไม่ครบ 2 คนตามข้อบังคับ และไม่ปิดอากรแสตมป์ในใบรับมอบรถ คำพยานบุคคลก็ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับรถเป็นของโจทก์แล้วและไม่ใช่คดีพิพาทกันตามสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่ต้องนำสัญญาเช่าซื้อมาแสดง
เอกสารภาพถ่ายหนังสือของสำนักงานทะเบียนว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้อง แต่มีพยานบุคคลเบิกความว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคล
กรมธรรม์ประกันภัยมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่คดีนี้มิใช่กรณีบังคับระหว่างผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย เป็นเรื่องผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิมาฟ้องคนภายนอก ไม่อยู่ในบังคับต้องมีเอกสารมาแสดงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 คำพยานบุคคลของโจทก์ฟังได้โดยไม่ต้องอาศัยเอกสาร
บริษัทเป็นผู้เอาประกันภัยโดยผู้เช่าซื้อรถเป็นผู้แทน แม้ไม่มีหนังสือตั้งตัวแทนตามมาตรา 798 แต่มิใช่เป็นคดีระหว่างบริษัทกับผู้ทำการแทนว่าผู้ทำการแทนเป็นตัวแทนนำรถยนต์ มาเอาประกันภัยกับโจทก์หรือไม่โจทก์ไม่ต้องมีเอกสารตั้งตัวแทนมาแสดง
ผู้เช่าซื้อชำระราคาครบถ้วนแล้ว ได้กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อแล้วมอบสิทธิในรถยนต์แก่โจทก์ แม้กรรมการของโจทก์คนเดียวลงลายมือชื่อรับมอบรถ กรรมการไม่ครบ 2 คนตามข้อบังคับ และไม่ปิดอากรแสตมป์ในใบรับมอบรถ คำพยานบุคคลก็ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับรถเป็นของโจทก์แล้วและไม่ใช่คดีพิพาทกันตามสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่ต้องนำสัญญาเช่าซื้อมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับต้องมีคำสั่งชัดเจน หากศาลไม่สั่งกักขังเกินหนึ่งปี แม้ปรับเกินสองหมื่นบาท และการคำนวณค่าปรับตามกฎหมายศุลกากร
การกักขังแทนค่าปรับในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป ศาลมีอำนาจให้กักขังเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีได้แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้งหากศาลไม่ได้สั่งไว้โดยชัดแจ้งก็จะกักขังเกินกำหนดหนึ่งปีไม่ได้
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า'พิเคราะห์แล้ว อนุญาตให้รับเป็นฎีกา สำเนาอีกฝ่ายแก้' คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลฎีกาวินิจฉัยและอนุญาตให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กำหนดให้ปรับเป็นสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วการปรับจึงต้องปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกันหาใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกกับค่าอากรไม่
ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาสั่งในคำร้องขอให้รับฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า'พิเคราะห์แล้ว อนุญาตให้รับเป็นฎีกา สำเนาอีกฝ่ายแก้' คำสั่งดังกล่าวถือไม่ได้ว่าได้อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้แสดงว่ามีข้อความใดที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลฎีกาวินิจฉัยและอนุญาตให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 กำหนดให้ปรับเป็นสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วการปรับจึงต้องปรับเป็นสี่เท่าของราคาของและค่าอากรรวมกันหาใช่ปรับสี่เท่าเฉพาะราคาของอย่างเดียวแล้วบวกกับค่าอากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางตามกฎหมายศุลกากร: สิทธิการขอคืนเมื่อศาลมีคำพิพากษา
สิ่งของในคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่จะตกเป็นของแผ่นดินหากเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่มายื่นคำร้องเรียกเอาภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 24 นั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีนั้นต่อศาลทั้งนี้เพราะหากมีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง ตาม มาตรา 32 ดังนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้ริบของกลางผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางที่ยังไม่ควรทำลายในคดีศุลกากร จำเลยรับจ้างขนของหลีกเลี่ยงภาษีอากร
ของกลางที่ศาลสั่งริบเป็นเครื่องรับวิทยุและเสาอากาศเครื่องรับวิทยุสำหรับใช้ติดกับรถยนต์ซึ่งเป็นของต่างประเทศที่ยังไม่เสียภาษีศุลกากรจำเลยรับจ้างขนของดังกล่าวโดยรู้ว่าเป็นของต่างประเทศที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากรเท่านั้นของกลางที่ศาลสั่งริบจึงเป็นทรัพย์ที่ยังไม่ควรทำลายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบปรับทางศุลกากรต้องมีเจตนาและยินยอมของผู้ถูกเปรียบเทียบ การหักเงินประกันเพื่อชำระค่าปรับโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับกรมศุลกากรจำเลยคืนเงินอากรขาเข้าของโจทก์ที่วางเป็นประกันไว้แล้วเหลืออยู่จากจำเลย ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 102ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ
กรมศุลกากรจำเลยเห็นว่าโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จชนิดและราคาสินค้าผ้าเพื่อหลีกเลี่ยงอากร จึงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาปรับโจทก์สองเท่าของอากรที่ขาด คณะกรรมการเปรียบเทียบมีมติเห็นชอบด้วย แล้วนิติกรของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์มาทำความตกลงตามมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบ แต่โจทก์ไม่มาติดต่อจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีดังนี้ แสดงว่าโจทก์หาได้ยินยอมตามที่เปรียบเทียบและใช้ค่าปรับแต่อย่างใดไม่ส่วนที่โจทก์ทำสัญญาทัณฑ์บนไว้กับกรมศุลกากรจำเลยพร้อมกับนำหลักฐานสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางค้ำประกันไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ขอรับสินค้าที่ถูกกักไว้เพื่อไปจำหน่าย มิใช่เรื่องที่โจทก์ยินยอมให้ปรับ จำเลยจึงไม่มีอำนาจสั่งปรับโจทก์ และจะหักเงินประกันค่าอากรขาเข้าซึ่งเหลืออยู่ที่จำเลยชำระค่าปรับไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ไป
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 102ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ
กรมศุลกากรจำเลยเห็นว่าโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จชนิดและราคาสินค้าผ้าเพื่อหลีกเลี่ยงอากร จึงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาปรับโจทก์สองเท่าของอากรที่ขาด คณะกรรมการเปรียบเทียบมีมติเห็นชอบด้วย แล้วนิติกรของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์มาทำความตกลงตามมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบ แต่โจทก์ไม่มาติดต่อจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีดังนี้ แสดงว่าโจทก์หาได้ยินยอมตามที่เปรียบเทียบและใช้ค่าปรับแต่อย่างใดไม่ส่วนที่โจทก์ทำสัญญาทัณฑ์บนไว้กับกรมศุลกากรจำเลยพร้อมกับนำหลักฐานสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางค้ำประกันไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ขอรับสินค้าที่ถูกกักไว้เพื่อไปจำหน่าย มิใช่เรื่องที่โจทก์ยินยอมให้ปรับ จำเลยจึงไม่มีอำนาจสั่งปรับโจทก์ และจะหักเงินประกันค่าอากรขาเข้าซึ่งเหลืออยู่ที่จำเลยชำระค่าปรับไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากร: หน้าที่การพิสูจน์ของจำเลย, การปรับ, และการริบของ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา 27, 27 ทวิ เกี่ยวโยงไปถึงพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 17 ที่บัญญัติว่า "ของใดๆ อันเนื่องด้วยความผิดตาม มาตรา 27 ฯลฯ ท่านให้ริบเสียสิ้น ฯลฯ" ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องร้องคดีอันเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึด เพราะไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 ซึ่งถ้าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้ว่าของกลางเป็นของต่างประเทศซึ่งต้องเสียภาษีแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าของกลางดังกล่าวได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วมิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่าๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27 ดังกล่าว
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วมิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่าๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากร: หน้าที่การพิสูจน์การเสียภาษีของจำเลย และการปรับโทษรวม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลการ พ.ศ. 2467มาตรา 27,27 ทวิ เกี่ยวโยงไปถึงพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482มาตรา 17 ที่บัญญัติว่า "ของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิดตาม มาตรา 27 ฯลฯท่านให้ริบเสียสิ้น ฯลฯ" ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องร้องคดีอันเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึด เพราะไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100ซึ่งถ้าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้ว่าของกลางเป็นของต่างประเทศซึ่งต้องเสียภาษีแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ต่อไปว่าของกลางดังกล่าวได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว
พระราชบัญญัติศุลากากรพ.ศ.2469มาตรา27ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญติให้ลงโทษปรับรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้วแต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27ดังกล่าว
พระราชบัญญัติศุลากากรพ.ศ.2469มาตรา27ที่แก้ไขเพิ่มเติมบัญญติให้ลงโทษปรับรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน หรือปรับเป็นรายบุคคลคนละสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้นการที่ศาลสั่งปรับจำเลยสามคนเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว เป็นเงิน 1,280,832 บาท จึงเป็นการชอบแล้วแต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 426,944 บาทนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้องตาม มาตรา 27ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.ศุลกากร: การขนถ่ายสินค้าออกจากเรือและการนำเข้าผ่านแดน
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 11,12เป็นเรื่องขนของออกจากเรือ และยื่นใบขอเปิดตรวจสินค้าไม่ใช่กรณีนำของผ่านแดนเข้ามาทางบก ซึ่งต้องมีบัญชีสินค้ายื่นต่อพนักงานด่านพรมแดนและด่านศุลกากรพร้อมกับของเพื่อเสียภาษีตาม พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 7 พ.ศ.2480 มาตรา 7