คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยไม่สิ้นสุดจากการสมรสกับชาวต่างชาติและการรับใบสำคัญคนต่างด้าว
เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเสียสัญชาติไทยโดยการสมรสกับคนต่างด้าว ดังนี้ปัญหาที่ว่าจำเลยยังเป็นคนไทยหรือต่างด้าวนั้นต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติสัญชาติซึ่งใช้อยู่ขณะจำเลยทำการสมรส กล่าวคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 มาตรา 4 เมื่อโจทก์ไม่ได้สืบตาม พระราชบัญญัตินี้ให้ปรากฏว่ากฎหมายแห่งสัญชาติสามีบัญญัติให้หญิงไทยถือเอาสัญชาติของสามีได้ ดังนี้ถือว่าจำเลยสละสัญชาติไทยแล้วไม่ได้
พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2479 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า "หญิงซึ่งมีสัญชาติไทย ถ้าต้องสละสัญชาติไทยเพราะสมรสกับคนต่างด้าวให้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว"นั้นหาได้หมายความว่าหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าวและไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วถือว่าสละสัญชาติไทยไม่
เมื่อถือว่าจำเลยไม่ได้สละสัญชาติไทยคือยังเป็นคนไทยอยู่ก็ไม่จำต้องให้จำเลยร้องฟ้องขอให้ได้มาซึ่งสัญชาติหรือฟ้องร้องผู้โต้แย้งตนว่าไม่ใช่คนไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสัญชาติไทยจากการสมรสกับชาวต่างชาติ: การตีความกฎหมายสัญชาติและสถานะบุคคล
เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยเสียสัญชาติไทยโดยการสมรสกับคนต่างด้าว ดังนี้ปัญหาที่ว่าจำเลยยังเป็นคนไทยหรือต่างด้าวนั้นต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติสัญชาติซึ่งใช้อยู่ขณะจำเลยทำการสมรส กล่าวคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 มาตรา 4 เมื่อโจทก์ไม่ได้สืบตาม พระราชบัญญัตินี้ให้ปรากฏว่ากฎหมายแห่งสัญชาติสามีบัญญัติให้หญิงไทยถือเอาสัญชาติของสามีได้ ดังนี้ถือว่าจำเลยสละสัญชาติไทยแล้วไม่ได้
พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2479 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า "หญิงซึ่งมีสัญชาติไทย ถ้าต้องสละสัญชาติไทยเพราะสมรสกับคนต่างด้าวให้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว"นั้นหาได้หมายความว่าหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าวและไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วถือว่าสละสัญชาติไทยไม่
เมื่อถือว่าจำเลยไม่ได้สละสัญชาติไทยคือยังเป็นคนไทยอยู่ก็ไม่จำต้องให้จำเลยร้องฟ้องขอให้ได้มาซึ่งสัญชาติหรือฟ้องร้องผู้โต้แย้งตนว่าไม่ใช่คนไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก 1 ปี และการครอบครองแทน/สัญญากองทุนสมรสที่ไม่ทำให้ขาดอายุความ
ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกมรดกโดยฐานเป็นทายาท บรรยายฟ้องว่าที่ไม่ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก 1 ปี เพราะจำเลยมาสู่ขอบุตรสาวโจทก์ โจทก์ยินยอมและตกลงกันว่าเมื่อแต่งงานกันแล้วก็จะได้ใส่ชื่อจำเลยและบุตรสาวโจทก์ โจทก์ถือว่าจำเลยครอบครองมรดกแทนโจทก์และเป็นสัญญากองทุนในการสมรสชอบที่จะบังคับได้ พฤติการณ์เช่นนี้ไม่เป็นการครอบครองแทนและโจทก์มิได้ฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญา หากฟ้องขอแบ่งมรดก คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยไม่ขาดกรณีรับใบสำคัญคนต่างด้าวตามคำแนะนำเจ้าพนักงานหลังสมรสกับคนต่างด้าว
หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรแต่บิดาเป็นคนต่างด้าวได้สมรสกับคนต่างด้าวแต่ตามกฎหมายยังคงเป็นคนสัญชาติไทยอยู่ ต่อมาหญิงนั้นได้ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตาม ก.ม.ว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว และเป็นการปฏิบัติคำแนะนำของเจ้าพนักงานมิใช่โดยสมัครใจ หญิงนั้นจึงยังหาขาดจากสัญชาติไทยไปตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) ม.5 ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 23/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยไม่ขาดกรณีรับใบสำคัญคนต่างด้าวตามคำแนะนำเจ้าพนักงานหลังสมรสกับคนต่างด้าว
หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรแต่บิดาเป็นคนต่างด้าว ได้สมรสกับคนต่างด้าวแต่ตามกฎหมายยังคงเป็นคนสัญชาติไทยอยู่ ต่อมาหญิงนั้นได้ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตาม กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว แต่เป็นการรับเพราะเหตุที่ได้สมรสกับคนต่างด้าว และเป็นการปฏิบัติคำแนะนำของเจ้าพนักงานมิใช่โดยสมัครใจหญิงนั้นจึงยังหาขาดจากสัญชาติไทยไปตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) มาตรา 5 ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยไม่ขาดกรณีรับใบสำคัญคนต่างด้าวตามคำแนะนำเจ้าพนักงานหลังสมรสกับคนต่างด้าว
หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรแต่บิดาเป็นคนต่างด้าว ได้สมรสกับคนต่างด้าวแต่ตามกฎหมายยังคงเป็นคนสัญชาติไทยอยู่ ต่อมาหญิงนั้นได้ขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตาม กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าว แต่เป็นการรับเพราะเหตุที่ได้สมรสกับคนต่างด้าว และเป็นการปฏิบัติคำแนะนำของเจ้าพนักงานมิใช่โดยสมัครใจหญิงนั้นจึงยังหาขาดจากสัญชาติไทยไปตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) มาตรา 5 ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการบวชต่อสถานะการสมรสภายหลังใช้ ป.พ.พ. และการกำหนดทรัพย์สินสมรส
เป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วย ก.ม.ตั้งแต่ก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 และคงเป็นสามีภรรยากันตลอดมา จนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 แล้ว ในชั้นหลังนี้เมื่อมีปัญหาว่าสามีภรรยาจะขาดจากกันหรือไม่ย่อมจะต้องใช้ ก.ม.ที่มีอยู่ในขณะที่เหตุที่อ้างนั้นเกิดขึ้นบังคับแก่กรณี คือ ป.พ.พ. บรรพ 5 จะใช้ ก.ม. เก่าหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบการบวชต่อสถานะสมรสและการเป็นสินสมรสภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และคงเป็นสามีภรรยากันตลอดมาจนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วในชั้นหลังนี้เมื่อมีปัญหาว่าสามีภรรยาจะขาดจากกันหรือไม่ย่อมจะต้องใช้กฎหมายที่มีอยู่ในขณะที่เหตุที่อ้างนั้นเกิดขึ้นบังคับแก่กรณีคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 จะใช้กฎหมายเก่าหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าโดยความยินยอมและการสิ้นสุดสภาพสมรสที่จดทะเบียนต่างประเทศ
สามีภริยายื่นคำร้องต่อกรมการอำเภอ มีข้อความกล่าวไว้ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายมีพยานลงลายมือชื่อสองคนดังนี้ก็ถือได้ว่า หนังสือคำร้องนั้นเป็นหนังสือหย่าอย่างบริบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1498
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณ ต่างประเทศได้จดทะเบียนณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทูตหรือกงศุลไทยตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้นการสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้ทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสู่ขอและเหยียบเรือนตามประเพณี ถือเป็นการตกลงหมั้นและสมรสโดยสมบูรณ์ หากฝ่ายชายไม่มาตามกำหนด ฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
ฝ่ายชายได้ดำเนินการสู่ขอฝ่ายหญิงจนได้มีการเหยียบเรือนตามประเพณีท้องถิ่นแล้วคือฝ่ายชายได้นำหมากพลูและผ้าขาวไปเคารพฝ่ายหญิง และได้กำหนดนัดวันทำพิธีสมรสแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น และการตกลงทำการสมรสแล้วทุกประการ เมื่อถึงวันกำหนดแต่งงานฝ่ายชายไม่มาตามกำหนด ฝ่ายหญิงย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
of 25