พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811-812/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมัครใจวิวาททำร้ายร่างกาย: ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาได้หรือไม่ และผลของการพิจารณาคดีคนละสำนวน
สมัครใจวิวาททำร้ายฟ้องกันแลกัน ฝ่ายใดจะถือว่าตนเป็นผู้เสียหายฟ้องหากฝ่ายหนึ่งมิได้คดีอาญา 2 เรื่องมูลกรณีเดียวกัน แต่โจทก์ต่างคนกันแม้จะได้พิจารณารวมกันมาก็แต่เมื่อศาลได้แยกวินิจฉัยต่างหากจากกันแล้วดังนี้จะถือว่าข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในคดีเรื่องหนึ่งมาตัดสินสำหรับคดีอีกเรื่องหนึ่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยสมัครใจ ไม่เป็นความผิดอาญา
+หญิงไปให้อยู่กินเป็นสามีภรรยากับคู่หมั้นโดยความสมัคร์ใจของหญิง+ไม่มีผิดตาม ก.ม.อาญา ม.241
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิวาทโดยสมัครใจ: ผู้ร่วมวิวาทไม่มีอำนาจฟ้องร้องทำร้ายร่างกาย
ผู้ที่สมัคร์ใจเข้าวิวาทต่อ+++ผู้อื่น เมื่อถูกคู่ต่อสู้ทำร้ายร่างกายถึงบาดเจ็บจะเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษคู่+++นั้นไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราโดยสมัครใจ ไม่ถือเป็นผู้เสียหายเพื่อฟ้องร้อง
ลูกหนี้ทำสัญญาและชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายให้แก่เจ้าหนี้โดยความสมัครใจเช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้เสียหายอันพึงจะเป็นโจทก์ฟ้องเจ้าหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยสมัครใจ และความรับผิดทางอาญาเมื่อผู้บาดเจ็บไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์
ผู้ตายตายเพราะมิได้กระทำตามคำแนะนำของนายแพทย์เป็นเหตุให้บาดแผลได้รับความกระทบกระเทือน แลไปรักษาตัวโดยวิธีอื่นจึงเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย จำเลยยังไม่มีผิดตาม ม.251 ต่างสมัครใจวิวาททำร้ายกัน ถ้าบาดแผลยังไม่ถึงสาหัสตาม ม.256 ศาลลงโทษจำเลยตาม ม.254 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความหมายของคำว่า 'บังอาจ' ในความผิดอาญา มาตรา 338(3) และการทำร้ายร่างกายโดยสมัครใจ
คำว่า บังอาจ มีความหมายเพียงไร "บังอาจ" เป็นคำใช้เพื่อแสดงว่าไม่มีอำนาจทำได้ตามกฎหมายแม้ตามมาตรา 338 ข้อ 3 จะขาดคำว่าบังอาจก็หาทำให้ความประสงค์ผิดไปจากหลักกฎหมายทั่วไปไม่ แลเมื่อปรากฎว่าต่างสมัครใจทำร้ายกันก็อาจมีโทษตามมาตรานี้ได้
ฎีกาอุทธรณ์ ฟ้องมีมูลเป็นคดีอาชญาหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย วิธีพิจารณาอาชญา คำสั่งระวางพิจารณา การที่ศาลสูงพิจารณาคดีเสร็จสำนวนแล้วสั่งให้ศาลล่างทำอย่างไรต่อไปนั้นไม่ใช่คำสั่งระวางพิจารณาคู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้
ฎีกาอุทธรณ์ ฟ้องมีมูลเป็นคดีอาชญาหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย วิธีพิจารณาอาชญา คำสั่งระวางพิจารณา การที่ศาลสูงพิจารณาคดีเสร็จสำนวนแล้วสั่งให้ศาลล่างทำอย่างไรต่อไปนั้นไม่ใช่คำสั่งระวางพิจารณาคู่ความย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกกันอยู่โดยสมัครใจนานปีและมีคู่ครองใหม่ถือเป็นการหย่าโดยผลของกฎหมาย ทำให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างแยกกันอยู่เป็นของผู้หญิง
ชายร้างหญิงไว้ ไม่ได้ไปมาหาสู่กัน แลหญิงได้สามีใหม่ เรียกว่าเขาทั้ง 2 สมัคร์ใจอย่าขาดกันเอง
เทียบฎีกาที่ 218/2467 ที่ 456/2468
เทียบฎีกาที่ 218/2467 ที่ 456/2468
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตายในระหว่างการต่อสู้โดยสมัครใจ
สองฝ่ายต่างสมัคร์ใจเข้าต่อสู้กัน จำเลยทำร้ายฝ่าย 1 ตาย มีผิดตามมาตรา 251
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15358/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่จำกัด
แม้จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2550 ติดต่อกันเกิน 3 งวด แต่ปรากฏตามหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที และตามใบตอบรับจำเลยที่ 1 รับหนังสือในวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ซึ่งจะครบ 30 วันในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 ซึ่งยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ยึดรถและไม่ได้โต้แย้งทักท้วง อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายในวันยึดรถดังกล่าว
โจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย อันเป็นการเลิกสัญญาด้วยเหตุอื่นมิใช่เป็นการเลิกสัญญาที่มีผลมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้ออีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งระงับไปแล้วได้ โจทก์คงมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ครอบครองนับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
โจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย อันเป็นการเลิกสัญญาด้วยเหตุอื่นมิใช่เป็นการเลิกสัญญาที่มีผลมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้ออีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งระงับไปแล้วได้ โจทก์คงมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ครอบครองนับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10770/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีหย่าที่เกี่ยวข้องกับความสมัครใจแยกกันอยู่, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และการคืนค่าขึ้นศาล
เดิมโจทก์ฟ้องว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะจดทะเบียนสมรสซ้อน จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นับแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอเสนอคำฟ้องฉบับใหม่อ้างว่าโจทก์สมรสกับจำเลยเพราะถูกกลฉ้อฉลจึงขอบอกล้างโมฆียะกรรมเท่ากับว่าโจทก์สละหรือยกเลิกข้อหาในฟ้องเดิมและแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ตามคำฟ้องฉบับใหม่แล้ว ข้อหาตามคำฟ้องเดิมจึงเป็นอันยุติไป การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นอันสิ้นผลไปทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่สถานะเดิมหมายถึงการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย จำเลยย่อมมีสิทธิและได้รับการคุ้มครองในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมเป็นภริยาจนมีบุตรด้วยกันจนถึงวันที่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นเหตุต่อเนื่องที่ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยมิได้หยุดการกระทำหรือหมดสิ้นไป จำเลยยังมีสิทธิฟ้องหย่าโจทก์ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง
โจทก์และจำเลยแยกกันอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2538 จนถึงวันฟ้องและฟ้องแย้งเป็นเวลาประมาณ 16 ปี โดยไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความพยายามที่จะกลับไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอีก คงมีแต่การฟ้องคดีกันทั้งสองฝ่าย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินกว่า 3 ปี แม้คดีจะมีเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ประกอบด้วย แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์มาตรา 1526 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์
โจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งในขณะนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงเป็นอันสิ้นผลไปทำให้โจทก์และจำเลยกลับคืนสู่สถานะเดิมหมายถึงการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยยังคงมีอยู่ตามกฎหมาย จำเลยย่อมมีสิทธิและได้รับการคุ้มครองในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์อุปการะเลี้ยงดูและยกย่องโจทก์ร่วมเป็นภริยาจนมีบุตรด้วยกันจนถึงวันที่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นเหตุต่อเนื่องที่ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยมิได้หยุดการกระทำหรือหมดสิ้นไป จำเลยยังมีสิทธิฟ้องหย่าโจทก์ได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1529 วรรคหนึ่ง
โจทก์และจำเลยแยกกันอยู่ตั้งแต่ปลายปี 2538 จนถึงวันฟ้องและฟ้องแย้งเป็นเวลาประมาณ 16 ปี โดยไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความพยายามที่จะกลับไปอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอีก คงมีแต่การฟ้องคดีกันทั้งสองฝ่าย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินกว่า 3 ปี แม้คดีจะมีเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) ประกอบด้วย แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์มาตรา 1526 จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์