พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ไม่สมบูรณ์: จำเลยมีสิทธิสืบพยานเพื่อต่อสู้ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินคืน จำเลยทั้งสองให้การใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้จริง โดยโจทก์ตกลงซื้อไม้แปรรูปจากจำเลยที่ 1 และได้วางมัดจำไว้ 50,000 บาท แต่โจทก์ขอให้จำเลยเขียนเป็นสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือเป็นหลักฐานการวางมัดจำ ครั้นเมื่อจำเลยส่งมอบไม่ให้โจทก์ตามสัญญา โจทก์กลับไม่ยอมตรวจรับไม้ จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกัน ตามคำให้การของจำเลยเท่ากับต่อสู้ว่าสัญญากู้และค้ำประกันตามฟ้องไม่สมบูรณ์ ซึ่งจำเลยมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ว่าสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินคืน จำเลยทั้งสองให้การใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้จริงโดยโจทก์ตกลงซื้อไม้แปรรูปจากจำเลยที่ 1 และได้วางมัดจำไว้ 50,000 บาท แต่โจทก์ขอให้จำเลยเขียนเป็นสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือเป็นหลักฐานการวางมัดจำ ครั้นเมื่อจำเลยส่งมอบไม้ให้โจทก์ตามสัญญาโจทก์กลับไม่ยอมตรวจรับไม้ จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันตามคำให้การของจำเลยเท่ากับต่อสู้ว่าสัญญากู้และค้ำประกันตามฟ้องไม่สมบูรณ์ซึ่งจำเลยมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ ดอกเบี้ยเกินอัตรา
กู้เงิน 500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน ทำเป็นสัญญาขายฝาก 400,000 บาท ทำเป็นสัญญากู้ 120,000บาท สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพราง ต้องบังคับตามสัญญากู้โดยใช้สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ ผู้ซื้อฝากฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 120,000 บาท ผู้ขายฝากฟ้องแย้งเรียกที่ดินคืนได้ ดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 จึงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328-2329/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา, สัญญากู้ใหม่, สิทธิเรียกคืนต้นเงิน
กู้เงินคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ชำระต้นเงินแล้ว ดอกเบี้ยทำเป็นสัญญากู้ขึ้นใหม่ ดังนี้ ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิเรียกต้นเงินที่เกิดจากดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องดอกเบี้ย การสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายของสัญญา
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรค 2 เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญากู้ที่ไม่ชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ย ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายได้
เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้แต่เพียงร้อยละห้าไม่ชัดเจนว่าร้อยละห้าสลึงหรือร้อยละห้าบาท โจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการสืบอธิบายความหมายของสัญญากู้ มิใช่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน: การอ้างจำนวนเงินกู้ที่ต่างจากเอกสารไม่มีผลลบล้างสัญญา
การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ 1,000 บาท แต่ทำสัญญากู้ให้ไว้ 7,000 บาท เพื่อป้องกันมิให้ขาดส่งดอกเบี้ยนั้น เป็นเรื่องเต็มใจทำสัญญากู้ให้ไว้เช่นนั้น ไม่มีการใช้อุบายหลอกลวงแต่อย่างใด มาภายหลังจึงกล่าวอ้างขึ้นว่าความจริงกู้เงินกันเพียง 1,000 บาท คำกล่าวอ้างเช่นนี้หาอาจลบล้างหลักฐานเอกสารสัญญากู้ได้ไม่ ไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าหนี้ลงจำนวนเงินสูงกว่าความจริง ฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์จำนวนเงินที่ได้รับจริงในสัญญากู้ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามจำนวนในสัญญากู้ 8,000 บาท แม้โจทก์ไม่ได้กล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้ว แต่พอเข้าใจตามคำฟ้องนั้นได้ว่าจำเลยได้รับเงินตามสัญญากู้แล้ว จำเลยให้การว่ากู้ไปเพียง 300 บาทแต่โจทก์ตกลงให้มารับเงินกู้ไปจนครบจำนวนที่ลงไว้ในสัญญากู้ จำเลยได้รับเงินกู้ไปหลายครั้ง เป็นเงินรวมทั้งหมด 3,300 บาท เห็นได้ว่าจำเลยสู้คดีว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะโจทก์ส่งมอบเงินตามสัญญากู้ให้จำเลยไม่ครบจำนวนที่ตกลงกัน จำเลยมีสิทธินำสืบตามข้อต่อสู้ของ จำเลยได้ว่าได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถีงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาเป็นปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยมิได้นำข้อความในเอกสารบางข้อที่อ้างอิงขึ้นมาวินิจฉัย แต่นำข้อความบางข้อมาวินิจฉัยในทางที่เป็นผลร้ายแก่โจทก์ เป็นการมิชอบ เป็นการโต้เถีงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาเป็นปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขีดฆ่าอากรแสตมป์และการใช้สัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 103 จะให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ว่า "การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือ ลงชื่อ ห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษ และลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ฯลฯ" ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" นั้น ก็เพื่อจะให้แสตมป์ที่ปิดทับเอกสารนั้นใช้ไม่ได้ต่อไปเท่านั้น มาตรา 103 จึงให้ความหมายไว้ในตอนแรกว่า เป็นการ กระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก ส่วนข้อความตอนต่อไปนั้นเป็นเพียงการอธิบายเพิ่มเติมวิธีกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้กระทำการใด ๆ ให้แสตมป์นั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อความที่อธิบายเพิ่มเติมไว้ก็ถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามความหมายของ มาตรา 103 ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับคำว่า ขีดฆ่า นั้นแล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ได้อีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลง วัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้องรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลย ผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้ มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ได้อีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลง วัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้องรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลย ผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้ มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงบริษัทประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน แม้ฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ข้อ 7 ว่า "การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท..............." ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วย แต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย