พบผลลัพธ์ทั้งหมด 192 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากที่ดินที่ถูกยึดเป็นโมฆะ แม้ทำที่หอทะเบียนก็ไม่สมบูรณ์ ผู้รับซื้อฝากทราบการยึดก่อนทำสัญญา
สัญญาขายฝากที่ดินซึ่งผู้ซื้อผู้ขายฝากรู้อยู่แล้วว่าที่ดินนั้น ศาลได้ยึดไว้แล้วท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ แม้สัญญานั้นจะทำกันที่หอทะเบียนก็ดีก็ไม่เป็นเหตุให้กลับกลายเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นได้ วิธีพิจารณาแพ่ง ขัดทรัพย์ การที่ผู้นำยึดจะแจ้งถึงเรื่องที่พิพาทถูกศาลสั่งยึดให้ผู้ที่จะรับซื้อฝากภายหลังการยึดทราบนั้นจะแจ้งด้วยปากหรือลายลักษณอักษรก็ได้เมื่อแจ้งให้ทราบแล้วก็ไม่จะเป็นต้องร้องต่อเกษตร์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากต้องทำเป็นหนังสือ การพิสูจน์ข้อตกลงด้วยพยานหลักฐาน
สัญญา ขายฝากก่อนใช้ประมวลแพ่ง ก็ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้หลังสัญญาขายฝากถูกทำลาย: สิทธิของผู้รับโอนยังคงมีอยู่
พิสูจน์หนี้เกิน 2 เดือน ได้เพียงไร โอนที่ดินเพื่อชำระหนี้โทษก่อนล้มละลาย เมื่อศาลทำลายการโอน ผู้รับโอนขอพิศูจน์หนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีก่อนใช้ประมวลแพ่ง สัญญาขายฝากไม่สมบูรณ์ การครอบครองไม่ถึงปรปักษ์
คดีเกิดก่อนใช้ประมวลแพ่ง จะใช้ประมวลแพ่งบังคับไม่ได้ ที่ดินมีโฉนดทำสัญญาขายฝากต่ออำเภอไม่ได้ ที่ดินผู้ที่รับซื้อฝากแม้ปกครองมานานเท่าใดก็ไม่เรียกว่าปกครองโดยปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาขายฝากที่ประพฤติเสมือนจำนอง ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์ที่แท้จริง
ที่ดิน ขายฝาก ทำสัญญาขายฝากแต่ประพฤติเปนจำนอง,สัญญาทำก่อนประมวลแพ่ง วิธีพิจารณาแพ่ง สัญญากรมธรรม์นำสืบแก้ไขได้เพียงไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีข้อพิพาทเรื่องชำระราคาสัญญาขายฝากที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ก่อนคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา มีคดีซึ่งจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ขายฝากที่ดินแปลงเดียวกับคดีนี้แก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี ตามสัญญาขายฝากฉบับเดียวกับคดีนี้ จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบถ้วน แล้วจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ไถ่คืนภายในกำหนด และไม่ออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายฝากดังกล่าว ขอให้ขับไล่และเรียกค่าขาดประโยชน์ โจทก์คดีนี้ให้การต่อสู้คดีดังกล่าวทำนองเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้ว่า โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ชำระเงินค่าขายฝากไม่ครบ ขาดอยู่ 1,500,000 บาท กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังโจทก์ ศาลชั้นต้นคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบจำนวนตามข้อความที่ระบุในสัญญาขายฝาก และมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย (โจทก์คดีนี้) พร้อมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) จำเลย (โจทก์คดีนี้) อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จำเลย (โจทก์คดีนี้) ฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งคดีดังกล่าวว่า ฎีกาของจำเลย (โจทก์คดีนี้) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า จำเลยคดีนี้ชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์คดีนี้ครบถ้วนแล้ว มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ฎีกาของโจทก์คดีนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 จึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยคดีนี้จะมิได้ยกเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาขายฝาก vs. การกู้ยืมเงิน: สัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้หากมีหลักฐานชัดเจน
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก และโจทก์เป็นผู้รับซื้อฝากซึ่งโจทก์ยังมี ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง แต่จำเลยมีแต่อ้างตนเองเบิกความลอยๆ ว่า จำเลยทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทเพื่อเป็นอำพรางการกู้ยืมเงิน 100,000 บาท จากโจทก์ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีเหตุผลและน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยกับบริวารจะออกจากที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษากลับโดยไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาขายฝากมีผลบังคับใช้ได้ แม้จำเลยอ้างเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน หากไม่สามารถพิสูจน์ความไม่บริสุทธิ์ของเอกสารได้
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ระบุว่า จำเลยจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2546 มีกำหนด 1 ปี และได้จดทะเบียนประเภทขายฝากลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขายฝาก โจทก์เป็นผู้รับซื้อฝาก โดยนาง ศ. เจ้าหน้าที่ที่ดินผู้ดำเนินการทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทมาเบิกความยืนยันรับรองความถูกต้อง สำเนาหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารให้รับฟังได้ตามที่อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียน โมฆะ, การครอบครองแทน, ครอบครองปรปักษ์ไม่สำเร็จ
จำเลยขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ อ. และ ล. บิดามารดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะจำเลยแจ้งว่าหากมีเงินจะมาขอซื้อคืนในภายหลัง แต่ทำสัญญาซื้อขายไว้พร้อมกับส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์และที่ดินให้เข้าครอบครองอย่างเจ้าของ ข้อที่ว่าหากมีเงินจะมาขอซื้อคืนในภายหลังมีลักษณะเป็นการไถ่ทรัพย์คืนเช่นสัญญาขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ปัญหาว่านิติกรรมขายฝากทำผิดแบบตกเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
การที่ อ. และ ล. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นการครอบครองแทนจำเลย แม้ต่อมา อ. ถึงแก่ความตายและ ล. มอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือจนกว่าจำเลยจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ 1379 ที่โจทก์เบิกความว่า ฝ่ายโจทก์ไปหาจำเลยเพื่อให้โอนเปลี่ยนชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ 3 ครั้ง แต่จำเลยไม่ยินยอม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 ข้างต้น แต่กลับเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลยไม่ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1379 ดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงมีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธินำไปขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นโฉนดที่ดินแล้วจำเลยย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ก็แต่โดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าหลังจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดและโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม แต่เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทไม่ถึง 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
การที่ อ. และ ล. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นการครอบครองแทนจำเลย แม้ต่อมา อ. ถึงแก่ความตายและ ล. มอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือจนกว่าจำเลยจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ 1379 ที่โจทก์เบิกความว่า ฝ่ายโจทก์ไปหาจำเลยเพื่อให้โอนเปลี่ยนชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ 3 ครั้ง แต่จำเลยไม่ยินยอม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 ข้างต้น แต่กลับเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลยไม่ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1379 ดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงมีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธินำไปขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นโฉนดที่ดินแล้วจำเลยย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ก็แต่โดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าหลังจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนดและโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม แต่เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทไม่ถึง 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ยืม ศาลบังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย สัญญาขายฝากที่ดินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้นเงินกู้ไม่ได้ ต้องบังคับตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลยและโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น