พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันมีผลทันทีเมื่อเจ้าหนี้ได้รับแจ้ง และจำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง
การค้ำประกันการทำงานของ ณ. ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราว เมื่อจำเลยได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันไปยังโจทก์ที่สำนักงานของโจทก์ โดยณ. ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ลงลายมือชื่อรับไว้ตั้งแต่วันที่3 กันยายน 2530 ถือว่าการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันมีผลทันที โดยไม่จำต้องให้ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์อนุมัติก่อนฉะนั้นการที่ ณ.เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน2530 และวันที่ 30 ตุลาคม 2530 เป็นวันหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยกเลิกโดยปริยายจากการทำสัญญาค้ำประกันใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว.ในตำแหน่งพนักงานของโจทก์ สาขานครราชสีมา ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้ ว.เป็นผู้จัดการของโจทก์ สาขาสีคิ้ว โจทก์ยอมรับจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว.ในตำแหน่งผู้จัดการ สาขาสีคิ้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 2ผูกพันตามสัญญาค้ำประกันต่อไป ถือว่าสัญญาค้ำประกันถูกยกเลิกโดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันถูกยกเลิกโดยปริยายเมื่อมีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่สำหรับตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว. ในตำแหน่งพนักงานของโจทก์ สาขานครราชสีมา ต่อมาโจทก์แต่งตั้งให้ ว.เป็นผู้จัดการของโจทก์ สาขาสีคิ้ว โจทก์ยอมรับจำเลยที่ 1 ให้เข้ามาทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ว. ในตำแหน่งผู้จัดการสาขาสีคิ้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยที่ 2 ผูกพันตามสัญญาค้ำประกันต่อไป ถือว่าสัญญาค้ำประกันถูกยกเลิกโดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประกวดราคา - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่บุคคลใดจะเข้าประกวดราคาตามใบแจ้งความประกวดราคาหรือไม่ ย่อมเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นจะต้องพิจารณาเองว่าสมควรเข้าประกวดราคาเช่นนั้นหรือไม่ ใบแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ระบุว่าโจทก์ไม่จำต้องสนองรับการเสนอราคาใดก็ตามที่ส่งมาโดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 มีสิทธิเสนอราคางานเสาเข็มเจาะระบบอื่นนอกเหนือจากระบบตามใบแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะไม่พิจารณาและไม่สนองรับการเสนอราคาเสาเข็มเจาะระบบอื่นดังกล่าวของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องให้เหตุผลแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใด การแจ้งความประกวดราคาของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดไม่ยอมทำสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะตามที่ได้ตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ในการประกวดราคาจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขในการประกวดราคาโดยไม่ยอมเข้าทำสัญญากับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาหลักประกันอันเป็นเบี้ยปรับตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบแจ้งความประกวดราคา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคสอง ส่วนความเสียหายของโจทก์ที่เกิดจากการที่โจทก์เริ่มงานเสาเข็มเจาะล่าช้าทำให้งานโครงการของโจทก์เสร็จช้าไปก็ดี ความเสียหายที่เกิดจากการที่โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ผู้ควบคุมงานรายใหม่เพิ่มขึ้นก็ดีความเสียหายอันเกิดจากความล่าช้าเพราะเกิดอุปสรรคในการสร้างงานเสาเข็มเจาะของผู้รับจ้างรายใหม่ก็ดี การว่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่ทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินค่างวดเร็วขึ้นและทำให้โจทก์ต้องรับภาระในการจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารมากขึ้นก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเอกสารและค่าปรึกษาด้านกฎหมายและเอกสารในการทำสัญญาใหม่ก็ดี ต่างเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะกับโจทก์ทั้งสิ้น แต่ตามใบแจ้งความประกวดราคาได้ความว่าสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือตามแบบในการประกวดราคาฉะนั้น แม้จำเลยที่ 1 และโจทก์ได้แสดงเจตนาเสนอสนองถูกต้องตรงกันแต่จำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงนามในสัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะ สัญญาจ้างงานเสาเข็มเจาะระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่เกิดขึ้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ อันเกิดจากการผิดสัญญานั้นได้ การต่อรองในเรื่องราคาและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการลดราคาค่าว่าจ้างลง มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขในการประกวดราคาใหม่ เพราะโจทก์มีสิทธิต่อรองราคาเช่นนั้นตามใบแจ้งความประกวดราคา ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันตัว, อากรแสตมป์สัญญาประกัน, และประเภทสัญญาค้ำประกัน
พันตำรวจโท ส. ฟ้องผู้ที่ผิดสัญญาปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจไว้ตามมาตรา 106และ 113 มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว แม้ว่าในขณะทำสัญญาประกันพันตำรวจโท ส. จะมิได้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร แต่ในขณะยื่นฟ้องพันตำรวจโทส.ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารจึงมีอำนาจฟ้อง หนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินไปประกัน ป.กับพวกรวม 2 คน ผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการซึ่งเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวไปกระทำการครั้งเดียว จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ก) สัญญาที่นายประกันร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวไปจากการควบคุมของพนักงานสอบสวนโดยสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนดนัดของพนักงานสอบสวน ไม่อยู่ในความหมายของสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 จึงไม่ต้องปิดอากรแสตม์ ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17(ง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4506/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่กำหนดวันสิ้นสุดสัญญา ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันในวันเดียวกับที่จำเลยที่ 1ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 จะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2523 ซึ่งแสดงว่าได้กำหนดวันสิ้นสุดของสัญญาให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันทราบ ตามปกติจำเลยที่ 2ต้องรับผิดเฉพาะหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นไว้ต่อโจทก์ ภายในวันที่31 มีนาคม 2523 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมหรือร่วมรู้เห็นด้วยในการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 กู้เงินกันและชำระเงินกันโดยไม่ถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญากู้เงินเป็นสาระสำคัญ และกรณีมิใช่เป็นเรื่องโจทก์เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่จะถือเอาว่าจำเลยที่ 2 รับรู้ด้วยตามข้อยกเว้นในสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้เงินกู้ที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ 31 มีนาคม 2523
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันหนี้ซื้อลดเช็ค: สาขาโจทก์ไม่กระทบความรับผิด อายุความ 10 ปี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สาขาถนนลาดพร้าว ซอย 99 ไม่ใช่สาขาอินทามระที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาขายลดในภายหลังซึ่งจำเลยที่ 1 ได้โอนบัญชีมาแล้ว สาขาของโจทก์นั้นไม่ว่าสาขาใดก็คือส่วนหนึ่งของโจทก์นั่นเอง สัญญาค้ำประกันระบุว่า หนี้รับซื้อลดตั๋วเงินซึ่งรวมถึงหนี้ขายลดเช็คตามฟ้องด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็ค และสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 164เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) มีอายุความ 10 ปี
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็ค และสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 164เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) มีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมหนี้ขายลดเช็ค, อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สาขาถนนลาดพร้าว ซอย 99 ไม่ใช่สาขาอินทามระที่จำเลยที่ 1นำเช็คมาขายลดในภายหลังซึ่งจำเลยที่ 1 ได้โอนบัญชีมาแล้วสาขาของโจทก์นั้นไม่ว่าสาขาใดก็คือส่วนหนึ่งของโจทก์นั่นเองสัญญาค้ำประกันระบุว่า หนี้รับซื้อลดตั๋วเงินซึ่งรวมถึงหนี้ขายลดเช็คตามฟ้องด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็ค และสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) มีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, การมอบอำนาจ, ค่าอ้างเอกสาร, และการพิสูจน์เจตนา: หลักเกณฑ์การบังคับใช้สัญญา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีไปเพื่อสืบพยานจำเลยที่จำเลยเคยแถลงไว้ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดก่อนว่า ถ้าพยานไม่มาศาลในนัดหน้าก็ไม่ติดใจสืบนั้นเป็นกรณีที่ศาลสั่งไปตามเงื่อนไขในคำแถลงของจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะต้องไปไต่สวนอีกว่าพยานจำเลยไม่มาศาลเพราะเหตุใด โจทก์ส่งสำเนาใบมอบอำนาจเป็นเอกสารท้ายฟ้องผิดไป ก่อนสืบพยานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอส่งฉบับใหม่ที่ถูกต้อง ศาลอนุญาตและโจทก์นำสืบว่าโจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจฉบับใหม่มาตั้งแต่ต้น จำเลยจะอ้างเอาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งผิดมาโดยที่โจทก์ได้แก้ไขแล้วมาเป็นเหตุให้ฟังว่าผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ หนังสือของโจทก์ที่มีไปถึงผู้จัดการสาขาของโจทก์ แจ้งให้ทราบว่าหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรจะต้องทำสัญญาค้ำประกันเป็นการส่วนตัวสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าค้ำประกันเป็นการส่วนตัวไม่มีข้อความใดให้เห็นว่าเป็นการค้ำประกันในนามกลุ่มเกษตรกร ภูมิลำเนาของผู้ค้ำประกันที่ระบุในสัญญาก็เป็นภูมิลำเนาของจำเลย มิได้ระบุว่าอยู่ที่ที่ทำการของกลุ่มเกษตรกร และในช่องลายมือชื่อของจำเลยก็มิได้มีข้อความให้เห็นว่าลงชื่อไปในฐานะที่เป็นประธานกลุ่มเกษตรกร จำเลยจะถือเอาผลของสัญญาตามความคิดที่มีอยู่ในใจไม่ได้ ต้องผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมาในขณะทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยค้ำประกันเป็นการส่วนตัว ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยาน ดังนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลจึงรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาค้ำประกันเมื่อมีการเปลี่ยนหลักทรัพย์ค้ำประกันในชั้นอุทธรณ์ ผู้มีประกันมีสิทธิรับคืนหลักทรัพย์เดิม
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จำเลยจึงให้ผู้ร้องนำโฉนดที่ดินวางประกันต่อศาลต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 295,950 บาทพร้อมดอกเบี้ย จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาและขอทุเลาการบังคับ การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยบุตรจำเลยนำสมุดเงินฝากธนาคารออมสินจำนวน 410,000 บาท วางเป็นประกันแทนหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องวางประกันไว้ แสดงว่าในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้เปลี่ยนหลักทรัพย์ในการค้ำประกันจากของผู้ร้องมาเป็นหลักประกันของบุตรจำเลยแล้ว สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลจึงสิ้นสุดลงผู้ร้องมีสิทธิรับหลักทรัพย์ที่ผู้ร้องวางไว้คืน