พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: สิทธิฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามฟ้องแย้งประเด็นอื่น
คดีล้มละลายเป็นคดีที่ฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น การพิจารณาคดีล้มละลายไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะชี้ขาดหรือพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยเฉพาะจึงย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะประเด็นสำคัญในคดี
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินของผู้เช่า: สิทธิของโจทก์ต้องอาศัยความเป็นตัวแทนเชิดที่พิสูจน์ได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวดังกล่าวกับ อ. ในระหว่างอายุสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาท แต่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. เป็นผู้ทำสัญญาเช่าแทน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยมอบอำนาจให้ อ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ให้การตั้งประเด็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำสืบว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. ทำสัญญาเช่าแทนตนได้ ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงชอบที่จะโอนขายทรัพย์สินดังกล่าวได้ ในเมื่อโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงแนวเขตไม่กระทบสิทธิที่ดินที่เวนคืนไปแล้ว แม้จะใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เนื้อที่ 165 ตารางวา อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ ซึ่งจำเลยได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวไปวางโดยฝากธนาคารออมสินไว้และแจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ทราบแล้ว กรณีเช่นนี้ตามมาตรา 11 วรรคสอง ประกอบมาตรา 13 วรรคสองและวรรคท้าย ให้ถือว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่เนื้อที่ 165 ตารางวา เป็นของจำเลยแล้วตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าว แม้ภายหลังจะมีการออกพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 6 อีกฉบับ และคณะรัฐมนตรี มีมติให้ปรับเปลี่ยนแนวเขตทางพิเศษใหม่ เป็นเหตุให้ที่ดินดังกล่าวอยู่ในแนวเขตทางพิเศษที่เปลี่ยนแปลงใหม่นี้เพียง 42 ตารางวา ลดลงจากเดิม 123 ตารางวา ตามคำร้องขอให้งดการบังคับคดีของจำเลยก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้ที่ดินเนื้อที่ 123 ตารางวา ที่ไม่ได้อยู่ในแนวเขตทางพิเศษใหม่ดังกล่าว ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสมบูรณ์แล้ว กลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมอีก และไม่มีกฎหมายใดที่ให้สิทธิหรืออำนาจจำเลยคืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิม และเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จ่ายไปคืนจากโจทก์ทั้งสี่ หรือขอหักลบกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินเรียกคืนทางผ่านเดิมเมื่อทางผ่านใหม่สร้างความเสียหายและเป็นเพียงอัธยาศัย
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยและที่ดินของบุคคลอื่นปิดล้อมอยู่ ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะร่วมกับจำเลยตั้งแต่ปี 2521 จนกระทั่งปี 2536 จำเลยก็ยินยอมให้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางใหม่ตามที่โจทก์ขอ แต่พอถึงปี 2541 จำเลยนำท่อนเหล็กไปปิดกั้นทางดังกล่าวมิให้โจทก์เข้าออกสู่ทางสาธารณะแต่ก็ยังยินยอมให้โจทก์ใช้เส้นทางเดิมอยู่ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม ได้กำหนดวิธีทำทางผ่านที่ต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้จะผ่าน และให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินจึงมีสิทธิเรียกให้โจทก์ย้ายทางใหม่กลับไปใช้เส้นทางเดิมได้ เพราะการที่จำเลยยอมให้โจทก์ทำทางใหม่ซึ่งเป็นทางพิพาทใช้เป็นทางสัญจรไปมานั้นเป็นอัธยาศัยที่จำเลยมีต่อโจทก์ มิได้ทำให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายลดลงทั้งเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่จำเลยเนื่องจากมีบุคคลภายนอกเข้ามาในที่ดินและอาจเป็นช่องทางให้คนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ของจำเลยได้ ส่วนการที่โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทางใหม่ ถมดิน รื้อและปลูกสร้างเล้าหมูให้จำเลยใหม่ รวมทั้งขุดถอนกอไผ่นั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นค่าทดแทนที่โจทก์ผู้มีสิทธิจะผ่านใช้ให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสี่ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเป็นเฉพาะตัว หาตกทอดไปยังทายาทไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสาว ส. ผู้ตาย ขอให้จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ในการจัดการมรดกนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวหาได้ตกทอดไปยังทายาทของจำเลยไม่ แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้ร้องเป็นทายาทของจำเลยโดยเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกของนางสาว ส. ผู้ตาย เพราะผู้ร้องไม่สามารถจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หากจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ในกรณีเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอม: การขัดขวางการใช้ทางภารจำยอมถือเป็นการลดทอนประโยชน์ตามกฎหมาย
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นสามยทรัพย์ โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางภารจำยอมซึ่งกว้าง 4 เมตร เข้าออกสู่ถนนสาธารณะตรงจุดใด บริเวณใดในเวลาใดก็ได้ การที่จำเลยนำเสาไม้มาปักย่อมทำให้ทางแคบลง การเทปูนซีเมนต์เพื่อทำให้ทางลาดชันย่อมทำให้การสัญจรผ่านไปมาไม่สะดวก การทำประตูเหล็กปิดกั้นรถยนต์ที่จะผ่านเข้าออก แม้จำเลยจะอ้างว่าเพื่อตรวจสอบบุคคลที่ไม่มีสิทธิใช้ทางภารจำยอมมาใช้ทางก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับบุคคลภายนอก แต่โจทก์เข้าออกได้ไม่สะดวกเพราะโจทก์จะต้องคอยขออนุญาตจำเลยเปิดประตู ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทางภารจำยอมได้เต็มตามสิทธิ ถือได้ว่าจำเลยกระทำการอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น
จำเลยนำอิฐและหินมาทิ้งไว้ในลักษณะนำมากองปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้บดอัดให้แน่นเพื่อมิให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอมได้โดยสะดวก เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390
จำเลยนำอิฐและหินมาทิ้งไว้ในลักษณะนำมากองปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้บดอัดให้แน่นเพื่อมิให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอมได้โดยสะดวก เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดินเช่า สิทธิการครอบครอง การสร้างรุกล้ำลำน้ำ และค่าเสียหาย
จำเลยปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่าจากโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทใต้อาคารบ้านที่จำเลยปลูกสร้างถูกน้ำกัดเซาะเป็นเหตุให้ตลิ่งพังทลายลงสู่แม่น้ำ ที่ดินพิพาทกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยที่จำเลยยังคงทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ตลอดมาซึ่งโจทก์ก็ยังคงสงวนสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เป็นค่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่ มิได้ปล่อยทิ้งให้เป็นที่ชายตลิ่งที่ประชาชนทั่วไปจะเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงและล่วงเลยเวลาที่โจทก์ผ่อนผันให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์อีกต่อไป โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีกับลูกหนี้แต่ละคนตามสัดส่วนหรือทั้งหมดได้ตามกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้แก่ธนาคารโจทก์ จำเลยทั้งห้าจึงเป็นลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกบังคับให้ลูกหนี้คนใดคนหนึ่งชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 ออกขายทอดตลาด แต่ต่อมาได้ขอให้ถอนการบังคับคดีเพราะจำเลยที่ 4 ได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์แล้ว จึงเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 4 ชำระหนี้บางส่วนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ต่อมาจำเลยที่ 4 จะนำทรัพย์ดังกล่าวไปขายต่อให้ผู้อื่นและทำให้จำเลยที่ 3 ต้องถูกยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ที่เหลือ ก็หาใช่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตของโจทก์แต่อย่างใดไม่ ส่วนการที่โจทก์ยอมปล่อยทรัพย์ของจำเลยที่ 4 ที่ถูกยึดขายทอดตลาดไปทั้งที่ยังไม่ได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนอันจะมีผลให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่เหลือได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีและการส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจดทะเบียนภาระจำยอม แม้ศาลฎีกาไม่ได้สั่งให้ส่งมอบ
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันทำทางพิพาทตามรูปแผนที่วิวาทและให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมทางพิพาทดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองหากจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอดำเนินการบังคับคดีในลำดับต่อไป โดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ที่จำเลยที่ 1ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี หาเป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใดไม่แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองโดยยังมิได้เรียกคู่ความมาสอบถามให้แน่ชัดเสียก่อนว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่และมีเหตุจำเป็นหรือขัดข้องประการใดที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง จึงสมควรเรียกคู่ความมาสอบถามให้ได้ความเสียก่อน ไม่ควรรีบด่วนยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีและการส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจดทะเบียนภาระจำยอม
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันทำทางพิพาทตามรูปแผนที่วิวาทและให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมทางพิพาทดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองหากจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอดำเนินการบังคับคดีในลำดับต่อไป โดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ที่จำเลยที่ 1ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี หาเป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใดไม่แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองโดยยังมิได้เรียกคู่ความมาสอบถามให้แน่ชัดเสียก่อนว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่และมีเหตุจำเป็นหรือขัดข้องประการใดที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง จึงสมควรเรียกคู่ความมาสอบถามให้ได้ความเสียก่อน ไม่ควรรีบด่วนยกคำร้อง