พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7069/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องของอุทธรณ์และการวินิจฉัยสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาต่อไป
อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ที่ ป. ซึ่งถูกถอนออกจากการเป็นทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยไม่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจใช้สิทธิอุทธรณ์นั้น ถือเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 ลงชื่อในอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ได้ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเท่ากับศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 แก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 นั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลาง: กำหนดเวลาหนึ่งปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิอุทธรณ์
การขอคืนของกลางตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถกระบะของกลางเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 จำเลยย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 จำเลยไม่ได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์และไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ โจทก์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่ไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในเวลาที่ขยายไว้ สิทธิที่ผู้ร้องจะขอคืนของกลางต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดจึงต้องนับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดีดอกเบี้ยเกินอัตรา และข้อจำกัดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องโดยบรรยายวันเวลากระทำผิดของจำเลยฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีทั้งก่อนวันที่แก้ไขกฎหมายและหลังแก้ไขกฎหมาย เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความชัดว่าเหตุเกิดวันเวลาใด จึงต้องนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยมาบังคับใช้ตาม ป.อ. มาตรา 3 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษแก่จำเลยนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้น จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริงหรือไม่ จึงต้องนำกฎหมายและโทษที่ลงแก่จำเลยนั้นมาปรับใช้ เพราะการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยนั้น กฎหมายมิได้จำกัดเฉพาะการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยเท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 มีระวางโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาบังคับใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาไม่เป็นโมฆะหากผู้รับทราบแหล่งเงินช่วยเหลือและสิทธิอุทธรณ์
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคู่ฉบับจะมีข้อความว่า "1.ทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมร่วมกันว่า โรงพยาบาล ฯ จ่ายเงิน จำนวน 280,000 บาท... ให้แก่ ศ. ผู้รับสัญญา เป็นค่าเยียวยาและมนุษยธรรม..." ซึ่งไม่ตรงตามข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อมารดาโจทก์เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 3 เขตนครราชสีมา เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 41 และได้รับแจ้งผลการพิจารณารวมถึงสิทธิในการยื่นอุทธรณ์แล้ว ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อนรับเงินจากจำเลยที่ 1 มารดาโจทก์ได้อ่านข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความ และลงชื่อโดยไม่มีการบังคับขู่เข็ญใด ๆ ทั้งเมื่อพิจารณาใบสำคัญรับเงินก็มีข้อความระบุว่าเงินที่โจทก์ได้รับเป็นเงินของจำเลยที่ 3 สอดคล้องกับสำเนาเช็คที่ระบุชื่อจำเลยที่ 3 และระบุว่าเป็นการจ่ายเงินตามมติประชุมอนุกรรมการ มาตรา 41 จำนวนเงินก็สอดคล้องกับที่มารดาโจทก์ได้รับแจ้ง ทั้งภาพถ่ายก็ปรากฏว่าผู้ที่ถือป้ายที่เหน็บเช็คไว้ด้านบนเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในป้ายมีข้อความว่า สปสช. มอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มาตรา 41 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่า มารดาโจทก์ทราบดีว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินของจำเลยที่ 3 การที่ระบุข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโรงพยาบาลเป็นผู้จ่ายเงินจึงยังไม่อาจถือได้ว่าทำให้โจทก์เสียหาย เนื่องจากมารดาโจทก์ทราบถึงสิทธิของตนว่ายังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์เพื่อขอเงินเพิ่มและใช้สิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 กับพวกในข้อหาละเมิดได้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาละเมิดเป็นอีกคดีหนึ่งก่อนฟ้องคดีนี้ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการฉ้อฉลหลอกลวงมารดาโจทก์ให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์