คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการแบ่งสินสมรสและมรดก แม้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบุคคลอื่น
โจทก์ฟ้องและจำเลยแถลงยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้อง แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินบางแปลงตามบัญชีทรัพย์มรดกท้ายฟ้องให้แก่บุคคลอื่นและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตามคำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ผูกพันโจทก์ที่1ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวและมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างที่กระทำละเมิดต่อสินสมรส โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสของโจทก์จากจำเลยที่ 2 ไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดในอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 8 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากสินสมรส: ภริยาฟ้องได้โดยไม่จำเป็นต้องมีหนังสือยินยอมจากสามี
คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสของโจทก์จากจำเลยที่2จึงไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476วรรคหนึ่งระบุไว้ในอนุมาตรา1ถึงอนุมาตรา8แต่ประการใดและในวรรคสองได้ระบุว่าการจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งสามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายฉะนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสินสมรส ไม่ต้องมียินยอมจากสามี หากมิใช่การจัดการทรัพย์สินตามที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับส. สามีโจทก์จากจำเลยที่2ซึ่งไม่เข้ากรณีใดในอนุมาตรา1ถึงอนุมาตรา8ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามีตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรสและการยินยอมให้ผู้อื่นอยู่อาศัย
บ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ฉ. จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ ฉ.ร่วมกัน เมื่อ ฉ.อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาท แม้โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไป ความยินยอมของฉ.ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 วรรคหนึ่งการที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการอยู่อาศัยในสินสมรส: ความยินยอมของเจ้าของรวมอีกคนไม่ถือเป็นการขัดสิทธิ
โจทก์กับ ฉ. เป็นเจ้าของบ้านพิพาทร่วมกัน ฉ. ยินยอมให้จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแต่โจทก์ไม่ยินยอมความยินยอมของ ฉ.ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360วรรคแรกการที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรส: ความยินยอมให้ผู้อื่นอยู่อาศัยไม่ขัดสิทธิเจ้าของรวมอื่น
บ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ฉ. จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ ฉ. ร่วมกันเมื่อ ฉ. อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแม้โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยต่อไปความยินยอมของ ฉ. ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1360วรรคหนึ่งการที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านพิพาทจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมและกรรมสิทธิ์ในสินสมรส, ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินโดยอ้างว่านายแก้วผู้ตายทำพินัยกรรมให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์และผู้ตายไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ เพราะที่ดินตามพินัยกรรมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลย จำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยดังนี้ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าพินัยกรรมสมบูรณ์หรือไม่เพียงใด ส่วนฟ้องแย้งที่ขอให้บังคับโจทก์คืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแก่จำเลยจะถือเป็นฟ้องแย้ง เมื่อศาลฟังว่า พินัยกรรมสมบูรณ์และโจทก์ได้รับมรดกที่ดินพิพาทไปตามพินัยกรรม จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขและเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นสินสมรสและการละเมิดสิทธิ
แม้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 33ซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะเกิดข้อพิพาทจะได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้า CLOY เครื่องหมายการค้าตราหัวช้าง และเครื่อง-หมายการค้าตราหญิงกระโดดเชือก แล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อสามีโจทก์เป็นผู้-จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภริยากันเช่นนี้ เครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะเป็นทรัพย์สินที่สามีโจทก์กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสทั้งสามีโจทก์และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าทั้งสามลักษณะดังกล่าวแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสามในทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าก็ตาม และแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลง การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะไปแสดงให้ปรากฏที่ถุงกระดาษที่จำเลยใช้ใส่สินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้าของตนในระหว่างที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทร่วมกับสามีโจทก์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
ตามปกติโจทก์ก็ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง อย่างไรก็ดี เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงให้สาธารณชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสภาพ และคุณภาพของสินค้า ย่อมเป็นการละเมิดและทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลชอบที่จะกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นสินสมรส แม้จดทะเบียนในชื่อคู่สมรสอื่น การละเมิดสิทธิและค่าเสียหาย
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 33 ได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้า แล้วนำไปจดทะเบียน โดยใช้ชื่อ ส. สามีโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินที่ส.กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส ส. และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้า แม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในทะเบียนเครื่องหมายการค้าและต่อมาได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลง การที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา 27 ตามปกติโจทก์ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือว่าค่าโฆษณาสินค้าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยย่อมทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือน เสียหาย ศาลจึงกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามพฤติการณ์ แห่งละเมิด
of 86