คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8951/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ไม่ถือเป็นประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องคดีอาญาและแพ่งยังคงอยู่
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะให้การรับสารภาพเพราะสามารถตกลงกับโจทก์ร่วมได้ โดยจำเลยต้องชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมเพียงบางส่วน แต่ก็มิได้เป็นการตกลงให้โจทก์ร่วมต้องถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความเพื่อให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยเป็นอันระงับไปทันทีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยจำเลยไม่จำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมตามข้อตกลงดังกล่าวให้ครบถ้วนก่อน ศาลชั้นต้นจึงได้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปตามคำแถลงของจำเลย เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยชำระหนี้ตามข้อตกลง เจตนาอันแท้จริงของโจทก์ร่วมและจำเลยจึงเป็นเพียงความตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามที่โจทก์ร่วมยินยอมลดยอดหนี้ให้ โดยมีเงื่อนไขเป็นปริยายว่า เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมครบถ้วนตามจำนวนดังกล่าวก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา โจทก์ร่วมก็จะติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เพียงเท่านั้น และไม่ติดใจดำเนินทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งแก่จำเลยต่อไปอีก ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง สิทธิและความรับผิดระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยยังคงมีอยู่ต่อกันตามฟ้องทุกประการข้อตกลงดังกล่าวโจทก์ร่วมและจำเลยจึงมิได้ประสงค์ให้เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องต้องระงับไปไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมไม่ถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความด้วย ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้และจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินทั้งหมดที่ยักยอกคืนแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกหนี้: วันเริ่มต้นนับอายุความจากการผิดนัดชำระดอกเบี้ยและการใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยที่ 1 ให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามหนังสือสัญญากู้เงินลงวันที่ 31 ตุลาคม 2527 จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 27 ตุลาคม 2538 รวมเป็นเวลา 10 ปี 11 เดือน กับ 21 วัน ถือได้ว่าเกินกว่า 10 ปี จึงขาดอายุความตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ระบุว่าจะชำระเงินต้นคืนในวันที่31 ตุลาคม 2528 แม้จำเลยจะผิดนัดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่งวดแรกซึ่งโจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องเงินต้นคืนได้ตามสัญญาข้อ 6 แต่สัญญาดังกล่าวมีการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนด มีผลให้ผู้กู้สามารถใช้สิทธิทวงถามให้ผู้กู้ชำระเงินได้ก่อนกำหนดในสัญญาเท่านั้น เมื่อผู้กู้ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงิน อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยเดือนแรกคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 ตามสัญญากู้เงินข้อ 4 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนนับแต่วันดังกล่าวตามสัญญากู้เงินข้อ 6อายุความฟ้องเรียกต้นเงินคืนจึงนับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่27 ตุลาคม 2538 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามป.พ.พ.มาตรา 193/12 ประกอบมาตรา 193/9 และมาตรา 193/30 นั้น ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นแล้วว่า วันเริ่มต้นที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นั้นควรเริ่มนับแต่วันใด เพราะเหตุใดข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการกล่าวถึงรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาเพื่อให้ศาลได้หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นมาปรับบทกฎหมายว่า วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เริ่มนับแต่เมื่อใด และคดีโจทก์ขาดอายุความ 10 ปี ตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ อย่างไร มิได้เป็นการกล่าวอ้างกำหนดอายุความขึ้นมาใหม่ ดังนี้ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่นอกคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023-8032/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่ทำให้คดีเช็คเลิกกันตาม พ.ร.บ. เช็ค
การที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7897/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องตามเช็คจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้สั่งจ่ายอีก
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในการซื้อเครื่องรับโทรทัศน์มอบให้แก่บริษัท พ. แต่บริษัทมิได้ส่งมอบเครื่องรับโทรทัศน์ให้ จำเลยจึงมีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงิน เมื่อปรากฏว่าบริษัท พ. ได้นำเช็คพิพาทไปขายลดแก่โจทก์ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คคนก่อนได้ฟ้องบริษัท พ. ให้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย โจทก์และบริษัท พ. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยบริษัท พ. ยอมชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องตามเช็คพิพาทไปแล้ว โดยโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายชำระเงินแก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 40,500 บาท และร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ แม้หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แต่เมื่อรวมกับค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์แล้วก็ยังมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาท ส่วนหนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000บาท พร้อมดอกเบี้ย เป็นการกำหนดให้จำเลยกระทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยจะพึงเลือกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 198 หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยจะต้องกระทำก่อนจึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน เมื่อโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลย และจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน และปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ กรณีจึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ดังนี้โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้
คดีล้มละลาย โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามคำฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามคำพิพากษาที่ไม่สามารถกำหนดจำนวนได้แน่นอน ทำให้ฟ้องล้มละลายไม่ได้
หนี้ตามคำพิพากษาส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 145,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเป็นการกำหนดให้จำเลยทั้งสองทำการชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ไม่ใช่การอันมีกำหนด พึงกระทำเพื่อชำระหนี้มีหลายอย่างอันจำเลยทั้งสองจะพึงเลือก ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198 ดังนั้นหนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องกระทำก่อน จึงเป็นหนี้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน อันแสดงว่าโจทก์ยังคง มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อและมีสิทธิติดตามเอาคืน จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีหากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาแทน เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่ และโจทก์สามารถบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ หนี้ตามคำพิพากษาส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่ ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน แม้ข้อนำสืบของโจทก์จะมีเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้ จำเลยทั้งสองล้มละลาย จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทั้งสามข้อ ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 มิใช่ข้อใดข้อหนึ่งเพียงข้อเดียวเท่านั้น เมื่อหนี้ตาม คำพิพากษาส่วนที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนมีจำนวนน้อยกว่า 50,000 บาท และหนี้ตามคำพิพากษาส่วนอื่นไม่อาจกำหนด จำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย ในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องนั้น ต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับคำฟ้องอุทธรณ์ 50 บาท ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(1) ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรม แม้เป็นเพียงกรรมการ
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรมร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงนามในสัญญาโดยตรง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน บริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงคำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7148/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสั่งจ่ายเงินมีผลผูกพันทางกฎหมาย แม้จะอ้างเป็นหุ้นส่วนค้าทอง แต่ขาดหลักฐานสนับสนุน
ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิได้รับส่วนกำไรอันเกิดจากกิจการที่ทำนั้น หากไม่ได้รับส่วนแบ่งในผลกำไรแต่ได้รับเป็นอย่างอื่น ไม่ถือว่าเป็นหุ้นส่วน ปรากฏว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีการแบ่งผลประโยชน์ให้กันทุกเดือน เดือนละ 2 เปอร์เซ็นต์ ของเงินลงทุน โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกำไรหรือขาดทุน แสดงว่าโจทก์ได้รับผลประโยชน์จากเงินที่ลงทุนทุกเดือนโดย ไม่ได้รอผลกำไรจากกิจการแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยเพื่อ ทำกิจการซื้อขายทองรูปพรรณ แต่เป็นกรณีที่จำเลยให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์จากการที่โจทก์ให้เงินจำเลยไปลงทุนทำกิจการเกี่ยวกับทองรูปพรรณอันเป็นกิจการของจำเลยเองจำเลยประกอบธุรกิจค้าขายทองมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี ย่อมรู้ดีว่าการลงลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินให้บุคคลอื่นต้องผูกพันตนเองอย่างไร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะยอมสั่งจ่าย เช็คพิพาทให้โจทก์โดยที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์ยืนยันว่ามูลเหตุที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ให้โจทก์มาจากการที่จำเลยกู้เงินโจทก์หลายครั้งรวมยอดหนี้ได้ 1,000,000 บาท จำเลย จึงสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดนำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7144/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัตรเครดิต vs. สัญญาบัญชีเดินสะพัด และอายุความของหนี้
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ต้องใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติหากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยนั้นหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น
สัญญาการใช้บัตรเครดิตเป็นกรณีที่โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสดตลอดจนสามารถใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ทดรองออกไปแม้จำเลยจะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีกระแสรายวันโดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วยก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต หนี้ตามฟ้องจึงเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยใช้บัตรเครดิตครั้งสุดท้ายวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งจำเลยจะต้องชำระหนี้หรือนำเงินเข้าบัญชีลดยอดหนี้ภายในสิ้นเดือนนั้นแต่จำเลยมิได้ชำระให้เสร็จสิ้นทั้งมิได้นำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดหนี้ โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
of 145