พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรหลังแจ้งการประเมินและการขยายเวลาชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้
ตามแถลงการณ์ของกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐ แห่งประมวลรัษฎากรได้ขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากรเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากรได้ยื่นชำระภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งนี้มีเงื่อนไขในข้อ 4 ว่าในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร รับแจ้งการประเมินก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้วผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล ผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้องนั้นและได้รับอนุมัติเสียก่อน การที่ลูกหนี้ผู้เสียภาษีอากรซึ่งถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น มิใช่กรณีลูกหนี้ซึ่งถูกแจ้งการประเมินภาษีอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าวดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังโดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน ลูกหนี้ซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ การที่ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรง ย่อมไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อหนี้สินของลูกหนี้ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วเหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีล้มละลาย: ผลของการบังคับคดีและการสะดุดหยุดอายุความ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองร่วมชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2519 โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษากับจำเลยที่ 1 ภายในสิบปี จึงขาดอายุความบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์ได้บังคับคดีมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2522 ได้เงินมาชำระหนี้บางส่วนอายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2522 โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายวันที่ 20 มีนาคม 2530 เฉพาะคดีจำเลยที่ 1ขาดอายุความจึงไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ส่วนคดีของจำเลยที่ 2 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลาสิบปีและหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกำหนดจำนวนแน่นอนเกินกว่า 50,000 บาท จึงมีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนสัญญา, การรับรองเอกสาร, และการพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนิน กิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัว แทนของบริษัท สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้อง แห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือ ไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่ เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจแต่ โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้ หลบหนีไปจากเคหสถาน ที่เคยอยู่ แต่ ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2285/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเจรจาหนี้สินโดยไม่มีการข่มขู่ การลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงย่อมมีผลผูกพัน
โจทก์พาจำเลยที่ 1 ไปเจรจาในห้องของร้อยเวร โจทก์บอกว่าจำเลยที่ 2 ยืมเงินโจทก์ 40,000 บาท และลักเครื่องวีดีโอ ของโจทก์รวมแล้วเป็นหนี้โจทก์ 70,000 บาท ขอให้ผ่อนชำระเดือนละ 1,500 บาทและให้จำเลยที่ 1 ไปปรึกษากับจำเลยที่ 2 ที่ถูกขังอยู่ในห้องขังจำเลยที่ 1 จึงถามจำเลยที่ 2 ว่าจะผ่อนชำระหรือไม่ จำเลยที่ 2ตอบว่า แล้วแต่ โจทก์และจำเลยทั้งสองจึงได้ลงลายมือชื่อในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่70,000 บาท ยอมผ่อนชำระเดือนละ 1,500 บาท และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้พฤติการณ์ดังกล่าวยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองถูกข่มขู่ให้ลงชื่อ การที่โจทก์กล่าวกับจำเลยทั้งสองว่า หากจำเลยไม่ยอมลงชื่อในบันทึกข้อตกลง โจทก์จะดำเนินคดีอาญาจำเลยที่ 2เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตาม ป.พ.พ. มาตรา 127 ไม่เป็นการข่มขู่ตามกฎหมายที่จะทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกเป็นโมฆียะ ส่วนการที่โจทก์กล่าวอ้างกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนนทบุรีว่า ได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาว่า จำเลยที่ 2 ลักเครื่องวีดีโอ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัวจำเลยที่ 2 และนำตัวจำเลย ที่ 2 ไปที่สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาเพื่อเจรจาตกลงดังกล่าวเป็นกรณีโจทก์ใช้อุบายพาจำเลยที่ 2 ไปไป สถานีตำรวจนครบาลยานนาวาไม่เป็นการข่มขู่ให้จำเลยทั้งสองยอมตกลงกับโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนหนี้สินและการพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความ แล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบคำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินและทรัพย์สินที่ไม่พอชำระหนี้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์และไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบรับว่าทำสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะโง่เขลาเบาปัญญาและถูกหลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยจึงต่างกับคำให้การรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ จำเลยเป็นหนี้โจทก์เป็นเงิน 6,175,070 บาท จำเลยมีเพียงเงินเดือน เดือนละ 5,000 บาท ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหนี้สินและล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้และการมีทรัพย์สินไม่เพียงพอชำระหนี้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่นำสืบว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาถูกนาย ว. หลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยต่างกับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าหุ้นส่วนค้าและความรับผิดในหนี้สินของสหกรณ์ร้านค้าที่ไม่จดทะเบียน
สหกรณ์ร้านค้าของโรงเรียน ศ. ตั้ง ขึ้นเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทชุด นักเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครอง แต่ มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. สหกรณ์ฯ จำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นครูใหญ่ได้ ตั้ง ให้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 เป็นกรรมการซื้อ ขาย โดย ไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 ก่อน และจำเลยที่ 2ถึง ที่ 10 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทั้งไม่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันเกิดจากการตั้ง ร้านค้านั้น ดังนี้จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 10 มิได้เข้าหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าของสหกรณ์ร้านค้าให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้ตามปกติ ไม่ใช่เช็คประกันหนี้ ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยนำเช็คของลูกค้าจำเลยมาขายโจทก์ ต่อมาโจทก์บอกให้จำเลยนำเงินไปชำระมิฉะนั้นจะให้เจ้าพนักงานตำรวจจัดการ จำเลยจึงไปตรวจสอบหนี้สินกับโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เป็นเงิน 496,000 บาท จำเลยได้ชำระหนี้เป็นเงินสดบางส่วน ส่วนหนี้ที่เหลืออีก 450,000 บาท โจทก์ให้จำเลยชำระเดือนละ 45,000 บาท โดยจำเลยออกเช็คให้โจทก์ไว้เช็คที่จำเลยออกให้โจทก์จึงเป็นเช็คชำระหนีตามปกติ มิใช่เช็คออกเพื่อประกันหนี้ เมื่อขึ้นเงินหรือเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยก็ต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 (1)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษและขอให้นับโทษต่อ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษโดยไม่ได้นับโทษต่อให้ โจทก์ไม่ฎีกาหรือแก้ฎีกาในข้อที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษต่อ ศาลฎีกาจึงไม่นับโทษต่อให้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษและขอให้นับโทษต่อ ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษโดยไม่ได้นับโทษต่อให้ โจทก์ไม่ฎีกาหรือแก้ฎีกาในข้อที่ศาลอุทธรณ์ไม่นับโทษต่อ ศาลฎีกาจึงไม่นับโทษต่อให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมโดยเจ้าหนี้รู้ถึงหนี้สินของลูกหนี้ และการพิสูจน์ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ขณะที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้มีสัญญารับเหมาก่อสร้างซึ่ง ทำกับ ก. และกำลังจะได้ เงินอยู่แล้ว แสดงว่าลูกหนี้มีงานมีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างและยังมีเงินหมุนเวียนสำหรับชำระหนี้ได้ ต่อไป แม้ลูกหนี้จะเอาเงินที่กู้ยืมจากเจ้าหนี้ไปใช้ หนี้ตาม เช็ค ซึ่ง กำลังถูก ดำเนิน คดีเนื่องจากเช็ค เบิกเงินไม่ได้ ยังถือ ไม่ได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวดังนี้ฟังไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กู้ไปโดย รู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ได้.