คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์ในการนำพยานสืบ และผลของการไม่มาศาลตามนัด
วันนัดสืบพยานโจทก์แม้จะมิใช่นัดแรก โจทก์ก็ยังคงมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบตามกำหนดนัด หากไม่ติดใจสืบพยานอีกก็ต้องแถลงให้ศาลทราบเพื่อจะได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ทนายโจทก์แถลงไว้ในนัดก่อนว่า หากนัดหน้าไม่สามารถติดตาม ส. มาเบิกความได้ก็ให้ถือว่าทนายโจทก์ไม่ติดใจสืบ ส. อีกก็หาได้มีความหมายถึงกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลด้วยไม่ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกฟ้องเสียได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 181.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์ในคดีอาญา แม้รวมสำนวนการไม่มาศาลยังคงมีผล
การไต่สวนมูลฟ้องหรือการสืบพยานโจทก์ในคดีอาญา โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องมาศาลในนัดต่อมา หากศาลเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องหรือการสืบพยานโจทก์ไปเนื่องจากยังไม่เสร็จในนัดแรก และการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เข้ากับคดีที่โจทก์ที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้อง ก็เป็นไปเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษา เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ร่วมทั้งสามแม้โจทก์ที่ 3 มาศาล ก็หาทำให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องมาศาล ตามกำหนดนัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: หน้าที่รวบรวมที่ดินเพื่อขาย ไม่ใช่ต้องได้กรรมสิทธิ์ก่อน
จำเลยทั้งสองตกลงให้โจทก์รวบรวมที่ดินเพื่อนำมาขายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์ในราคาไร่ละ 22,000 บาท โจทก์ได้รวบรวมที่ดินตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 1 ได้ตกลงซื้อที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดินโดยตรงโดยโจทก์ยินยอม และโจทก์ได้พาเจ้าของที่ดินไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ได้ชำระราคาที่ดินให้แก่เจ้าของที่ดินไปไร่ละ 18,000 บาทแล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ดินส่วนที่ยังขาดอยู่ไร่ละ 4,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความว่า โจทก์ตกลงเป็นผู้รวบรวมที่ดินทั้งหกโฉนด เพื่อขายให้แก่จำเลยที่ 1 สาระสำคัญของสัญญาดังกล่าวจึงมีเพียงว่า โจทก์มีหน้าที่จัดการรวบรวมที่ดินทั้งหกโฉนด นั้นมาเพื่อขายให้แก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น หาได้ผูกพันถึงขนาดว่าโจทก์จะต้องรวบรวมที่ดินทั้งหกโฉนด นั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ก่อนเพื่อจัดการโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ต่อไปแต่อย่างใดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4761/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ส่งมอบเงินค่าขายที่ดิน: แม้ไม่มีหลักฐานการตั้งตัวแทน ก็ยังต้องรับผิดชอบ
จำเลยได้รับเงินค่าขายที่ดินของโจทก์ไว้ในฐานะเป็นผู้กระทำแทนโจทก์ผู้ขาย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนในกิจการซื้อขายที่ดินดังกล่าว ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่ต้องส่งเงินที่ได้รับไว้แทนคืนแก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่หลังพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจดำเนินการแทนลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินอยู่นั้น ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่ไม่อาจจัดการทรัพย์สินโดยตนเองได้ จะต้องดำเนินการแทนโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 หนี้ค่าภาษีที่เกิดขึ้นภายหลังลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วการที่โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 กำหนดไว้ย่อมทำไม่ได้ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 มิได้บัญญัติห้ามฟ้องเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่และเงินเพิ่มซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตามคำร้องรับของกลาง: ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ปฏิบัติตามสัญญา แม้เจ้าของที่แท้จริงจะโต้แย้ง
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงานสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนี่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนการมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย
เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกัน อันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากร-แสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้นหาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์ 5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินไม่ถือเป็นการมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353โดยบรรยายฟ้องว่า "จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของผู้เสียหาย ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองรถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายกลับนำรถยนต์บรรทุกที่ได้รับมอบหมายไปรับจ้างขนดินโดยทุจริต"เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายตามนัยบทมาตราดังกล่าว ฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดจะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การผิดสัญญาซื้อขายผ้า และหน้าที่ชำระราคาส่วนที่รับไว้
จำเลยให้การว่า โจทก์ผิดสัญญา ส่งผ้าให้แก่จำเลยช้าและไม่ครบจำนวนตามสัญญา ทำให้จำเลยเสียหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับจำเลยให้ชดใช้ราคาค่าผ้าที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนเมื่อโจทก์ชำระหนี้ไม่ถูกต้องครบถ้วนในเวลาที่กำหนดไว้ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทน ดังนี้ แม้คำให้การดังกล่าวจำเลยจะไม่ได้ให้การให้ปรากฏถ้อยคำว่า "สัญญาต่างตอบแทน" ไว้ด้วยแต่ก็มีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่า สัญญาซื้อขายผ้าตามฟ้องเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระราคาเป็นการตอบแทน ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวกับคำให้การจำเลยเป็นเรื่องเดียวกันและเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ แต่จำเลยได้ยกประเด็นดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาตามประเด็นข้อนี้เสียเอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานอาศัยหน้าที่ทุจริตเบียดบังทรัพย์ของกลาง แม้ไม่มีหน้าที่ดูแลโดยตรง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 ผู้กระทำผิดต้องมีหน้าที่จัดการหรือรักษาทรัพย์แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นโดยทุจริต จำเลยที่ 1เป็นเจ้าพนักงานตำรวจตำแหน่งเจ้าหน้าที่สายตรวจ มิได้มีหน้าที่จัดการหรือรักษาเลื่อยยนต์ของกลางซึ่งนายดาบตำรวจ ส.เป็นผู้เก็บรักษา การที่จำเลยที่ 1 ลักเลื่อยยนต์ดังกล่าวไปจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 จำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่เวรยามและสายตรวจมีหน้าที่ดูแลรักษาสิ่งของต่าง ๆ ในบริเวณสถานีตำรวจ ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งโดยชอบให้ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางที่สถานีตำรวจด้วย การที่จำเลยที่ 1 อาศัยโอกาสดังกล่าวลักเลื่อยยนต์ของกลางไปขายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามป.อ. มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททางจราจร: การใช้สิทธิและหน้าที่ของผู้ขับขี่ตามกฎหมาย และการเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิด
พระราชบัญญัติ ญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 71(2) บัญญัติว่า ถ้ามาถึงทางแยกทางร่วมพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยกผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไปก่อน แต่แม้จะมีกฎหมายดังกล่าวซึ่งทำให้คนขับรถของจำเลยมีสิทธิขับรถผ่านสี่แยกไปก่อนได้ก็ไม่ได้หมายความว่าคนขับรถของจำเลยมีสิทธิขับรถเข้าไปในสี่แยกโดยไม่คำนึงหรือไม่ระมัดระวังหรือไม่ดูว่ามียานพาหนะอื่นแล่นเข้ามาในสี่แยกหรือไม่ ที่เกิดเหตุเป็นสี่แยกมีทางเดินรถหลายช่องทางผู้ขับขี่ยวดยานทุกคนต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษกว่าการขับไปตามถนนอย่างธรรมดา เมื่อพิจารณาภาพถ่ายความเสียหายเห็นได้ว่ารถยนต์ชนกันอย่างแรง ซึ่งก็ต้องเกิดจากการขับรถด้วยความเร็วสูงของคนขับรถของจำเลยนั้นเองด้วย การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความประมาท บทบัญญัติดังกล่าวมิได้คุ้มครองให้คนขับรถของจำเลยพ้นผิด แม้คนงานของโจทก์จะมีเงินเดือนประจำและมีงานทำเป็นปกติแต่เมื่อต้องทิ้งงานดังกล่าว มาทำงานเกี่ยวกับการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลย โจทก์ก็ย่อมเรียกค่าแรงในการทำงานดังกล่าวได้.
of 71