พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพาผู้อื่นออกนอกประเทศด้วยกลอุบายหลอกลวง แม้ไม่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่กล่าวอ้าง ก็ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 320 วรรคแรกนั้น ผู้กระทำเพียงใช้อุบาย หลอกลวงหรือขู่เข็ญหรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด อย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวมา พาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักรก็ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320 วรรคแรก แล้วหาจำต้องกระทำการทุกอย่างพร้อมกันในคราวเดียวกันไม่
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า มีงานให้ทำที่ประเทศสิงคโปร์และส่งผู้เสียหายออกไปนอกราชอาณาจักรการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320 วรรคแรกแล้ว
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า มีงานให้ทำที่ประเทศสิงคโปร์และส่งผู้เสียหายออกไปนอกราชอาณาจักรการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320 วรรคแรกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพาคนออกนอกประเทศด้วยอุบายหลอกลวง หรือข่มขืนใจ ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320
การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320 วรรคแรกนั้นผู้กระทำเพียงใช้อุบาย หลอกลวงหรือ อ. ขู่เข็ญหรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจ ด้วย ประการอื่นใด อย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวมาพาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักรก็ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320 วรรคแรกแล้ว หาจำต้องกระทำการทุกอย่างพร้อมกันในคราวเดียวกันไม่
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า มีงานให้ทำที่ประเทศสิงคโปร์และส่งผู้เสียหายออกไปนอกราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320วรรคแรกแล้ว
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า มีงานให้ทำที่ประเทศสิงคโปร์และส่งผู้เสียหายออกไปนอกราชอาณาจักร การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320วรรคแรกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้โฉนดที่ดินปลอมหลอกลวงเพื่อกู้ยืมเงิน ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยทั้งสองกับพวกนำโฉนด ที่ดินซึ่งทำปลอมขึ้นไปใช้แสดงหลอกลวงผู้เสียหายจนผู้เสียหายหลงเชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงิน300,000 บาท และรับเอาโฉนด ที่ดินปลอมดังกล่าวไว้เป็นประกัน ดังนี้ถือว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมประกอบในการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดิน โดยจำเลยทั้งสองกับพวกมีเจตนาจะให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหาย เมื่อจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกระทำการดังกล่าวในวาระเดียวกัน จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์, ข่มขืน, และหน่วงเหนี่ยวกักขัง โดยหลอกลวงและใช้กำลัง
ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ยินยอมไปกับจำเลยกับพวกก็เพราะถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงว่าจะไปส่ง แต่จำเลยกับพวกกลับพาไปในที่เกิดเหตุแล้วร่วมกันขู่เข็ญฉุดคร่าผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเต็มใจไปกับจำเลย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318วรรคท้าย
แม้ว่าหลังจากจำเลยกับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายแล้ว จำเลยกับพวกจะพาผู้เสียหายไปส่งก็ตาม แต่ก่อนจะไปส่ง จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายไปในที่เกิดเหตุและควบคุมผู้เสียหายไว้เพื่อให้จำเลยกับพวกมีโอกาสผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งขณะนั้นผู้เสียหายไม่อยู่ในภาวะที่จะขัดขืนหรือหลบหนีไปได้ ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรคแรกแต่ความผิดตามมาตรา310 วรรคแรก กับความผิดตามมาตรา 284 วรรคแรก เป็นการกระทำขณะเดียวกันต่อเนื่องกันไป เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา284 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดเพียงบทเดียว.
แม้ว่าหลังจากจำเลยกับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายแล้ว จำเลยกับพวกจะพาผู้เสียหายไปส่งก็ตาม แต่ก่อนจะไปส่ง จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายไปในที่เกิดเหตุและควบคุมผู้เสียหายไว้เพื่อให้จำเลยกับพวกมีโอกาสผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งขณะนั้นผู้เสียหายไม่อยู่ในภาวะที่จะขัดขืนหรือหลบหนีไปได้ ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรคแรกแต่ความผิดตามมาตรา310 วรรคแรก กับความผิดตามมาตรา 284 วรรคแรก เป็นการกระทำขณะเดียวกันต่อเนื่องกันไป เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา284 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดเพียงบทเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเล่นพนันบนรถโดยสารไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน และผู้เสียหายร่วมกระทำผิดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายกับบุคคลอีกคนหนึ่งให้ร่วมเล่นการพนันบนรถโดยสารประจำทาง ถือไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
ผู้เสียหายสมัครใจเล่นการพนันกับจำเลยและพวกโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการร่วมกับจำเลยกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายสมัครใจเล่นการพนันกับจำเลยและพวกโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการร่วมกับจำเลยกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเล่นพนันบนรถโดยสารไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน ผู้เสียหายร่วมกระทำความผิด ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายกับบุคคลอีกคนหนึ่งให้ร่วมเล่นการพนันบนรถโดยสารประจำทาง ถือไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
ผู้เสียหายสมัครใจเล่นการพนันกับจำเลยและพวกโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการร่วมกับจำเลยกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
ผู้เสียหายสมัครใจเล่นการพนันกับจำเลยและพวกโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการร่วมกับจำเลยกระทำความผิด ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดตามมาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียว vs. หลายกรรม: การหลอกลวงผู้เสียหายหลายรายในวาระเดียวกัน
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย 4 คนในเวลาเดียวกันเป็นการกระทำกรรมเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นให้เสียทรัพย์ คดีไม่ขาดอายุความเมื่อโจทก์ยังไม่รู้ถึงการกระทำผิด
จำเลย ป. และ จ. ไปพูดกับโจทก์ร่วมให้หาคนงานไปทำงานต่างประเทศ โดยจำเลยพูดอวด อ้างว่า ป. เป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดบี.อาร์.บิซเน็ส จำเลยและ จ. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ มีการแจ้งประเภทงานและเงินเดือน กับสวัสดิการที่จะได้รับ ตลอดจนกำหนดวันเดิน ทางซึ่งเป็นเท็จ ทั้งจำเลยกับพวกยังเป็นผู้พาคนงานไปตรวจโรคที่โรงพยาบาลอีกด้วย โจทก์ร่วมหลงเชื่อตามที่จำเลยกับพวกกล่าวอ้าง ได้จัดหาคนงานและเก็บเงินส่งให้ ป.ดังนี้การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงและบุคคลที่สาม เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้คนงานแทนไปก่อน ในวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2526 เพราะกลัวจะถูกคนงานดำเนินคดี ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ถึงการกระทำผิดของจำเลยกับพวกในวันดังกล่าว ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2526 จึงทราบเรื่องแน่ชัดว่าจำเลยกับพวกไม่ได้ดำเนินกิจการส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศและหลบหนี จึงได้ไปร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2526 ยังไม่เกินสามเดือน คดีไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน คดีไม่ขาดอายุความเมื่อความจริงเพิ่งปรากฏ
จำเลย ป. และ จ. ไปพูดกับโจทก์ร่วมให้หาคนงานไปทำงานต่างประเทศ โดยจำเลยพูดอวดอ้างว่า ป. เป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดบี.อาร์.บิซเน็ส จำเลยและ จ. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการ มีการแจ้งประเภทงานและเงินเดือน กับสวัสดิการที่จะได้รับ ตลอดจนกำหนดวันเดินทางซึ่งเป็นเท็จ ทั้งจำเลยกับพวกยังเป็นผู้พาคนงานไปตรวจโรคที่โรงพยาบาลอีกด้วย โจทก์ร่วมหลงเชื่อตามที่จำเลยกับพวกกล่าวอ้าง ได้จัดหาคนงานและเก็บเงินส่งให้ ป. ดังนี้การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงและบุคคลที่สาม เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341
การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้คนงานแทนไปก่อน ในวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2526 เพราะกลัวจะถูกคนงานดำเนินคดี ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ถึงการกระทำผิดของจำเลยกับพวกในวันดังกล่าว ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2526 จึงทราบเรื่องแน่ชัดว่าจำเลยกับพวกไม่ได้ดำเนินกิจการส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศและหลบหนี จึงได้ไปร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2526 ยังไม่เกินสามเดือน คดีไม่ขาดอายุความ.
การที่โจทก์ร่วมจ่ายเงินให้คนงานแทนไปก่อน ในวันที่ 3กุมภาพันธ์ 2526 เพราะกลัวจะถูกคนงานดำเนินคดี ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ถึงการกระทำผิดของจำเลยกับพวกในวันดังกล่าว ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2526 จึงทราบเรื่องแน่ชัดว่าจำเลยกับพวกไม่ได้ดำเนินกิจการส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศและหลบหนี จึงได้ไปร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2526 ยังไม่เกินสามเดือน คดีไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนด้วยการอ้างน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์รักษาโรค โดยหลอกลวงเรียกเก็บเงิน
จำเลยทั้งสองทำน้ำมันมนต์ให้แก่ประชาชนโดยอ้างว่ารักษาโรคได้และเก็บเงินจากประชาชนที่มารับน้ำมนต์ไปคนละ 12 บาท เป็นค่าครู ซึ่งจำเลยทั้งสองก็รู้ว่าน้ำมนต์นั้นไม่ใช่ยารักษาโรค แต่จำเลยทั้งสองกลับอวดอ้างว่าเด็กชาย ว. บุตรของจำเลยทั้งสองเป็นอาจารย์น้อย เป็นคนมีบุญเทพให้มาเกิดทำนองว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าน้ำมนต์นั้นศักดิ์สิทธิรักษาโรคได้อันเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
เมื่อศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุว่าเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ศาลฎีกาจึงระบุเสียให้ถูกต้อง.
เมื่อศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุว่าเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ศาลฎีกาจึงระบุเสียให้ถูกต้อง.