พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำนิติกรรมโดยผู้เยาว์กับผู้แทนไม่อาจใช้สัตยาบันได้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำสัญญาโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตนั้นเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะให้มีการคุ้มครองทรัพย์สิน และกิจการบางอย่างที่สำคัญของผู้เยาว์ เมื่อศาลได้ไต่สวนแล้วเห็นเป็นการสมควรก็สั่งอนุญาต แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมจึงจะอาศัยคำอนุญาตของศาลไปทำนิติกรรมได้ ในเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย ฉะนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 3 จะทำสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ การที่จำเลยที่ 3 แม้จะเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ในสัญญาฉบับเดียวกันแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้เป็นลูกหนี้ร่วมกันไม่ ดังนั้นแม้สัญญาจะไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้นส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมายจำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีไม่ใช่การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ มิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112(เดิม) จึงไม่เป็นนิติกรรมที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีต่อศาลแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต พยานหลักฐานต้องชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านโดยมิได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ไม่ได้อาวุธปืนของกลางมาเป็นพยานหลักฐานและไม่ได้นำพยานมาสืบว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองตามกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว คงมีเพียงพนักงานสอบสวนเบิกความว่าจำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนเท่านั้น พยานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาโดยผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีชั้นต้น/อุทธรณ์ตามขั้นตอนกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ได้ขอให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งที่นั่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา โดยยื่นพร้อมฎีกาต่อศาลชั้นต้น เป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคท้าย แล้วศาลชั้นต้นจึงต้องส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปยังผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3217/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การก่อสร้างกีดขวางทางภารจำยอม แม้ได้รับอนุญาต ก็สามารถถอนได้หากไม่จำเป็นต่อการใช้ภารจำยอม
ทางพิพาทตกอยู่ในภารจำยอมเพียงให้คนและยานพาหนะผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะปลูกสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาทเพราะมิใช่การอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอม การที่เจ้าของที่ดินเดิมอนุญาตให้จำเลยทั้งสองก่อสร้างหลังคาคลุมและทำประตูปิดกั้นทางพิพาท การอนุญาตหาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ เจ้าของที่ดินเดิมหรือโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของที่ดินเดิม จะถอนการอนุญาตเสียในเวลาใดก็ย่อมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาขัดกับกรอบเวลา: การขออนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงหลังพ้นกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยยื่นเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาตามกฎหมายแล้ว ฎีกาจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิจารณาคดีจะอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการก่อสร้างอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและการพิจารณาคำขออนุญาตก่อสร้าง
ก่อนโจทก์ที่ 1 ปลูกสร้างอาคาร ที่ดินที่ปลูกสร้างอาคารดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้ติดกับทางสาธารณะซึ่งด้านทิศเหนือมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร ทิศใต้กว้างประมาณ 2.20 เมตร ถึง3 เมตร และตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสองได้กำหนดไว้ว่า ตึกแถว ห้องแถวอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10.00 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 6.00 เมตร แต่โจทก์ที่ 1ได้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นแนวตะเข็บกว้างประมาณ 0.80 เมตร ไปตลอดแนวเขตกั้นไว้ระหว่างที่ดินแปลงที่จะปลูกสร้างอาคารกับทางสาธารณะก่อนยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างประมาณ 20 วัน เห็นได้ชัดว่าโจทก์ที่ 1 ทำเพื่อหลีกเลี่ยงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะอ้างว่าแนวตะเข็บดังกล่าว ทางจำเลยที่ 1 ขยายทางสาธารณะก็ตาม โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แม้เขตพระนครจะเคยอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ปลูกสร้างอาคาร 4 ชั้นแล้วในการพิจารณาคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเติมอาคารเป็น 11 ชั้น จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิพิจารณาถึงการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวได้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาท จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการเทป/วิดีโอโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีการตรวจพิจารณา ถือเป็นทรัพย์สินที่ต้องริบ
พระราชบัญญัติ ญญัติ ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530มาตรา 6,11 และ 35(1) กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่ว่าด้วยวิธีใดต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน นอกจากจะได้รับการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและยังกำหนดให้เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่มีไว้ประกอบกิจการดังกล่าวต้องผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบ โดยเจ้าพนักงานผู้ตรวจอีกด้วย หากฝ่าฝืนก็ต้องได้รับโทษตามมาตรา 35ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายแก่เยาวชนและศีลธรรมอันดีของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแพร่หลายของเทปหรือวัสดุโทรทัศน์หากมิได้มีการควบคุม ทั้งยังอาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐอีกด้วย ดังนั้น เทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ผู้ประกอบกิจการดังกล่าวมีไว้ในสถานที่ประกอบกิจการของตนโดยฝ่าฝืนต่อมาตรา 35(1) จึงเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดและต้องริบตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าอยู่อาศัยในฐานะบริวารโดยได้รับอนุญาตก่อนสัญญาเช่าหมดอายุ ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในตึกแถวของผู้เสียหายก่อนที่สัญญาเช่าระหว่างผู้เสียหายกับ พ.จะครบกำหนดโดยพ. เป็นผู้อนุญาตเป็นการเข้าไปอาศัยอยู่ในฐานะบริวารของ พ. จึงเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364 และการที่จำเลยยังคงอยู่ต่อเนื่องตลอดมา แม้สัญญาเช่าดังกล่าวจะครบกำหนดและ พ. ได้ออกไปแล้ว ทั้งผู้เสียหายได้แจ้งให้จำเลยออกไปแล้ว แต่จำเลยก็ยังไม่ยอมออกไปก็เป็นเรื่องละเมิดในทางแพ่งเท่านั้นไม่เป็นความผิดเช่นกัน