คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ ไม่ใช่เบี้ยปรับ แม้ลูกหนี้ไม่ผิดนัดชำระหนี้
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนด แม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ ไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลฎีกายืนตามสัญญาเดิม
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินที่ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดแม้ผู้กู้จะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ไม่ใช่ข้อตกลงที่เป็นเบี้ยปรับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, อัตราดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท., ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, สัญญาไม่มีกำหนดเวลา
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดระบุห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กำหนดโดยมิได้ระบุจำกัดเฉพาะกรณีของการกู้ยืมเงินเท่านั้น ดังนั้น จึงใช้บังคับในเรื่องดอกเบี้ยเกี่ยวกับความรับผิดต่อธนาคารในการที่ธนาคารได้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันให้แก่บุคคลภายนอกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงดอกเบี้ยบัตรเครดิต: ไม่เข้าข่ายดอกเบี้ยเกินกฎหมาย
เงินที่ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันจ่ายไปก่อนตามสัญญาบัญชี-เดินสะพัดและคำขอสินเชื่อบัตรเครดิตที่จำเลยขอสินเชื่อบัตรเครดิตจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ ตลอดจนเบิกเงินสดจากเครื่องบริการนั้นไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนว่าให้จำเลยจะต้องจ่ายคืนให้แก่โจทก์เมื่อใด เป็นแต่เพียงว่า จำเลยยอมผูกพันตนที่จะจ่ายคืนให้พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามภาวะเศรษฐกิจ สังคมและนโยบายการเงินของประเทศ เป็นการกำหนดดอกเบี้ยกันไว้ล่วงหน้า ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้ว และไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 654 ซึ่งห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปีเพราะมิใช่เป็นเรื่องกู้ยืมและโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยไปตามข้อตกลงนั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10162/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และอัตราดอกเบี้ยเงินเดือนที่หักไว้
ตามคำสั่งของจำเลยที่สั่งลงโทษโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ทางแพ่งอ้างเหตุผลว่าโจทก์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบขาดความสนใจ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของจำเลย ไม่ป้องกันและเก็บรักษาเงิน เมื่อปรากฏว่าเงินที่หายไปไม่ได้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยจำเลยไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย
เมื่อจำเลยหักเงินเดือนของโจทก์ไว้โดยไม่ชอบ จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวซึ่งจะต้องคืนให้แก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจตกอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๔และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งไม่ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดการจ่ายค่าจ้างไว้ดังเช่นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๓๑ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยของเงินเดือนที่จำเลยหักไว้และต้องคืนให้แก่โจทก์จึงต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา ๗ และมาตรา ๒๒๔ คือ อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิธนาคารในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แม้มีข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยเดิม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า หากตามประเพณีการค้า ซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอนำาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควร ตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วน ตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อน แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12.5 ต่อปี โจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ 12.5 ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8437/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม และดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยฝากประจำ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวน 1,797,750บาท ไม่เป็นธรรม เพราะโจทก์รับซื้อฝากมาราคา4,287,500 บาท เงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินในการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้กล่าวอ้างว่าจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ด้วยแล้ว ซึ่งศาลก็ได้กำหนดเป็นประเด็นในคดีว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนเป็นธรรมหรือไม่ แต่เนื่องจากไม่ปรากฏราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ศาลล่างทั้งสองจึงกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำนองเดียวกับที่คณะกรรมการฯใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพียงแต่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 50 เปอร์เซนต์ของราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่เป็นธรรม จึงได้กำหนดให้เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,200 บาท ซึ่งไม่สูงกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของที่พิพาท เหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแล้วเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ชอบด้วยมาตรา 21 แล้วศาลล่างทั้งสองหาได้พิพากษานอกประเด็นหรือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาทั้งตามมาตรา 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ก็บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ และให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8396/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจำนองสูงกว่าอัตราตามกฎหมาย: การบังคับจำนองและการชำระหนี้
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็คือการฟ้องขอให้บังคับจำนองนั่นเอง และตาม ป.พ.พ.มาตรา 715 (1) ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับดอกเบี้ยด้วยโดยในส่วนดอกเบี้ยนั้นเมื่อหนี้จำนองเป็นหนี้เงินจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กล่าวคือเมื่อถึงกำหนดที่จะต้องชำระหนี้จำนอง ลูกหนี้ไม่ชำระก็ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัด ลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมายก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น เมื่อตามสัญญาจำนองจำเลยที่ 3 ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องร้อยละ 15 ต่อปี ผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ในดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีส่วนเฉลี่ยแสดงจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิแต่ละคนเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน, ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, การประวิงคดี: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดีแพ่ง
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173(1) หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา24 ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้องของจำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่
ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้น โดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท.ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารท.มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามป.วิ.พ.มาตรา 173 (1) ด้วย
กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตาม ป.พ.พ.มาตรา682 วรรคสอง
โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 229 (3) และมาตรา 296
เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวบอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามป.พ.พ.มาตรา 224 และแม้ ป.พ.พ.มาตรา 226 จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ดังนั้น โจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11เพียงไร จะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่
คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อม จะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 41พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม, การรับช่วงสิทธิ, อัตราดอกเบี้ย, คำสั่งศาลเลื่อนคดี: กรณีศึกษาความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วมและการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) หรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยตัดสินคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นยกปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนขึ้นวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำร้อง ของ จำเลยประกอบข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยตัดสินคดีโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณาหาใช่เป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวน นอกเรื่องนอกประเด็นไม่ ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 23053/2531 ของศาลชั้นต้นโดยกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้กับที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อน ฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนรับผิดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเป็นเรื่องรับช่วงสิทธิจากธนาคาร ท. ตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดียวกันและจำนวนเงินที่ให้รับผิดก็เป็นจำนวนเดียวกัน ถึงแม้โจทก์คดีนี้จะฟ้องขอให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคาร ท. มาด้วยก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็คงเป็นเรื่องเดียวกันเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง ฟ้องโจทก์ในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ด้วย กรณีที่บุคคลหลายคนยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันคือหนี้ตามหนังสือค้ำประกันที่ธนาคาร ท.ได้ออกให้แก่บริษัท พ.เพื่อค้ำประกันการซื้อรถขุดไฮดรอลิกของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามมูลหนี้อย่างอื่นของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคาร ท. นอกเหนือจากหนี้ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวด้วย และวงเงินที่ค้ำประกันจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็หาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เปลี่ยนแปลงไปไม่ โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จะต้องมีความรับผิดต่อธนาคาร ท.อย่างลูกหนี้ร่วม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง โจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องรับผิดต่อธนาคาร ท.ผู้เป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปแล้วย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ถึง 11 ได้ตามส่วนเท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 เมื่อไม่มีการตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไว้ จึงไม่มีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมายที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 และแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226จะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้ว่า บุคคลผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามของตนเอง แต่จากหลักที่ว่าผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิในนามของตนเอง จึงมีผลว่าผู้รับช่วงสิทธิชำระหนี้ไปเท่าใดก็คงรับช่วงสิทธิหรืออาจใช้สิทธิของเจ้าหนี้เพียงเท่าที่อาจอ้างได้ว่าเป็นสิทธิของตนหรือตามส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้น หาใช่รับช่วงสิทธิทั้งหมดเท่ากับที่เจ้าหนี้มีสิทธิไม่ ดังนั้นโจทก์คงเรียกได้เพียงอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แม้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11กับโจทก์ว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกันหรือไม่ จะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันหรือไม่ และประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เพียงไรจะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีโดยตรง แต่ก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจหยิบยกประเด็นเรื่องอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใดไม่ คดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ได้ขอเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยถึง 2 ครั้ง โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป่วยกะทันหันด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั้ง ๆ ที่ การนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกและครั้งหลังห่างกันเกือบ 2 เดือน และในการเลื่อนการนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรกศาลได้กำชับไว้แล้วว่า คราวต่อไปให้เตรียมพยานให้มาให้พร้อมจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่นำพาต่อคำสั่งดังกล่าว กลับขอเลื่อนคดีด้วยเหตุอย่างเดียวกันอีกและไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา โดยเฉพาะนัดหลังนี้จำเลยที่ 1ถึงที่ 9 ก็แถลงต่อศาลด้วยว่า ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3ป่วยอยู่ที่ใด แสดงว่าไม่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปทำการตรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 41 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ส่อชัดว่าประสงค์จะประวิงคดี คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 9 เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
of 32