พบผลลัพธ์ทั้งหมด 703 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้สั่งการปล้นทรัพย์ ผู้ใช้ต้องรับผิดทางอาญาเสมือนตัวการ
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 กับพวกปล้นทรัพย์ของผู้ตาย และผู้ถูกใช้ ได้ กระทำตาม คำสั่งของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมต้อง รับผลของการกระทำของผู้ถูกใช้ ในการปล้นทรัพย์นั้นทั้งสิ้น เมื่อการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340วรรคท้าย จำเลยที่ 1 ในฐานะ ผู้ใช้ ย่อมต้อง รับผิดในผลการกระทำของผู้ถูกใช้ อันเนื่องจากการปล้นทรัพย์เสมือนเป็นตัวการเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5669/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาและการจำกัดอำนาจศาลอุทธรณ์ในการเพิ่มโทษ รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 69 จำคุก 2 ปี และริบมีดของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทกฎหมายที่ลงโทษเป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ส่วนโทษจำคุกยังคงเท่ากับที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการแก้ไขเล็กน้อยเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 69 ให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี โจทก์มิได้อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกัน จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น มิใช่เป็นการป้องกันสิทธิของจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้มิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ศาลอุทธรณ์คงมีอำนาจวางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้น
ฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นเรื่องโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 69 ให้จำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี โจทก์มิได้อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกัน จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น มิใช่เป็นการป้องกันสิทธิของจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้มิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ศาลอุทธรณ์คงมีอำนาจวางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จต้องมีผู้เสียหายโดยตรง หากไม่มีสิทธิฟ้องอาญาฐานเบิกความเท็จ
ความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177กฎหมายคุ้มครองเจ้าพนักงานในการยุติธรรมและคู่ความให้ได้รับผลในทางความยุติธรรมแห่งคดีเป็นสำคัญ ไม่เกี่ยวกับบุคคลนอกคดีนอกจากนี้ยังจะต้องพิจารณาอีกด้วยว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยหรือไม่ โจทก์ในคดีนี้ไม่ได้ถูกฟ้องหรือเป็นคู่ความคดีอาญาในข้อหาบุกรุก แม้จำเลยจะเบิกความในคดีนั้นว่าอย่างไรก็ไม่มีทางที่โจทก์จะได้รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำเบิกความของจำเลยและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 28(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและการร่วมกันกระทำความผิดอาญา แม้ไม่มีการวางแผนร่วมกัน
จำเลยชกต่อยกับผู้ตายไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย แต่เมื่อน้องชายช่วยจำเลยโดยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย 1 นัด จนผู้ตายล้มลง จำเลยใช้สากไม้ตำข้าวขนาดใหญ่ตีผู้ต้ายซ้ำอีก2 ที ที่ศีรษะของผู้ตายจนกะโหลกศรีษะของผู้ตายแตกเป็นหลายชิ้นสมองถูกทำลาย ดังนี้แสดงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตาย การร่วมกันกระทำความผิดไม่จำเป็นต้องมีเจตนาร่วมกันมาก่อนเกิดเหตุเสมอไป อาจเกิดขึ้นในขณะที่เกิดเหตุนั้นเองก็ได้ ทั้งนี้แล้วข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้น จำเลยกับน้องชายมิได้คบคิดกันเพื่อประทุษร้ายผู้ตายมาก่อนจำเลยเห็นผู้ตายถูกกระสุนปืนนัดแรกแต่ยังไม่ถึงแก่ความตายจำเลยก็ใช้สากไม้ตำข้าวตีทำร้ายผู้ตายช้ำในทันที ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีความประสงค์ที่จะช่วยน้องชายทำร้ายผู้ตายให้ถึงแก่ความตาย จึงเป็นการร่วมกันกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องอาญา: การระบุตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่ดินในการแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้แจ้งให้ ถ. เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอผู้ทำหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนต่าง ๆ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเอกสารบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้หายไป แม้มิได้บรรยายว่า ถ.เป็นเจ้าพนักงานที่ดิน ก็ย่อมเข้าใจได้ว่า ถ. เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 แล้ว ฟ้องโจทก์หาเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมหรือขาดองค์ประกอบความผิดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาต้องอาศัยพยานหลักฐานชัดเจน แม้จำเลยรับสารภาพ หากสืบแล้วไม่ปรากฏความผิด ศาลต้องยกฟ้อง
แม้ความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การรับสารภาพ ศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา มาตรา 176 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพในข้อหาปล้นทรัพย์แล้วปรากฏข้อเท็จริงว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำผิดฐานมีและพาอาวุธปืนตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์และยิงผู้เสียหาย แต่โจทก์มิได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ทั้งมิได้นำสืบว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืน จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ในข้อหาทั้งสองได้ โจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 3 มิได้พิสูจน์ความจริงว่า จำเลยที่ 3 เคยมีใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนติดตัว แสดงว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนอันเป็นการผลักภาระหน้าที่นำสืบของโจทก์ไปให้จำเลยโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนหาได้ไม่.
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ใช้อาวุธปืนในการปล้นทรัพย์และยิงผู้เสียหาย แต่โจทก์มิได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง และโจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความว่าอาวุธปืนดังกล่าวเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ทั้งมิได้นำสืบว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืน จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ในข้อหาทั้งสองได้ โจทก์จะอ้างว่าจำเลยที่ 3 มิได้พิสูจน์ความจริงว่า จำเลยที่ 3 เคยมีใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนติดตัว แสดงว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนอันเป็นการผลักภาระหน้าที่นำสืบของโจทก์ไปให้จำเลยโดยไม่มีกฎหมายสนับสนุนหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาและบทบัญญัติความผิดต่างกรรมกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติที่เพิ่มโทษของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 มาตรา 339 ทวิ มาตรา 340 หรือมาตรา 340 ทวิ ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 ทวิ นั้น เป็นความผิดต่างกรรมกัน ซึ่งประมวลกฎมายอาญามาตรา 91 บัญญัติให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้อภัยแบบมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นการยอมความที่ทำให้สิทธิฟ้องอาญาขาดอายุ
จำเลยกระทำอนาจารผู้เสียหายแล้วพูดขอโทษอย่าให้ผู้เสียหายเอาเรื่อง ผู้เสียหายว่าแล้วกันไปแต่อย่าพูดให้เสียหาย การที่ผู้เสียหายพูดกับจำเลยดังกล่าวเป็นการให้อภัยแก่จำเลยเมื่อจำเลยได้ขอโทษผู้เสียหายแล้ว โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะไม่ไปพูดให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ยังไม่ถือว่าเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะผู้เสียหายมิได้พูดว่าจะไม่ดำเนินคดีกับจำเลยตลอดไป แต่ผู้เสียหายจะไม่ดำเนินคดีกับจำเลยต่อเมื่อจำเลยไม่พูดให้เสียหาย ดังนั้นสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องอาญาตาม พ.ร.บ.วัสดุลามก แม้บทลงโทษเดิมถูกยกเลิก
คำฟ้องของโจทก์อ้างพระราชบัญญัติปรามการให้แพร่หลายและการค้าวัสดุอันลามก พ.ศ. 2471 มาตรา 3 อันเป็นมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดแล้ว แม้บทมาตราดังกล่าวจะระบุให้ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 240แห่งกฎหมายลักษณะอาญาที่ถูกยกเลิกไปแล้วและโจทก์ไม่ได้อ้างพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พุทธศักราช 2499 มาตรา 8หรือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญามาในฟ้องด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดและอาญา: การรู้ตัวผู้ละเมิดและการกระทำแทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอันมีผลเท่ากับเป็นการปฎิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว