พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลไม่อนุญาตแก้ไขคำพิพากษาเมื่อโจทก์คำนวณหนี้ผิดพลาดในคำฟ้อง ต้องอุทธรณ์โต้แย้ง
จำนวนหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดตามที่โจทก์บรรยายมาในตอนต้นของคำฟ้องรวมแล้วเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องโจทก์กลับสรุปว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงิน 12,357,821.97 บาท พร้อมกับมีคำขอบังคับให้ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการคำนวณผิดพลาด แต่โจทก์ก็มิได้ขอแก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ยอดหนี้ทั้ง 5 รายการ เป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเป็นเงินเพียง 12,357,821.97 บาท ถือว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ตามจำนวนหนี้ที่ระบุในคำขอท้ายฟ้อง และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 12,357,821.97 บาท นั้น เท่ากับศาลชั้นต้นเห็นแล้วว่าจำนวนหนี้รวมเป็นเงิน 20,234,177.54 บาท แต่ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามมาตรา 142 ที่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาเกินคำขอ จึงเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีในกรอบแห่งกระบวนพิจารณา มิใช่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์จะขอให้แก้ไขได้ แต่โจทก์ชอบที่จะต้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามที่มาตรา 223 ให้สิทธิไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีที่ชอบแล้ว และเหตุจำเป็นในการขยายเวลาอุทธรณ์
บทบัญญัติตาม ป. รัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง มีความหมายว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรสั่งให้ขยายกำหนดเวลาหรือเลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ หรือการอุทธรณ์ หรือกำหนดเวลาการ เสียภาษีอากรตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรออกไปได้เมื่อผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทยหรือมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้
โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย จึงมิใช่ผู้ที่มิได้อยู่ในประเทศไทย จำเลยได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบรวม 7 ฉบับ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับในประเทศจ่าหน้าซองระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับตามภูมิลำเนาของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดตรัง เลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะเปียะ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92140 โดยมี พ. ซึ่งบรรลุนิติภาวะและอยู่ที่นั่นรับไว้แล้ว จึงเป็นการ แจ้งการประเมินที่ชอบและถือว่าโจทก์ได้รับทราบการแจ้งการประเมินแล้ว ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 8 กรณีจึงมิใช่ มีเหตุจำเป็นจนโจทก์ไม่สามารถจะยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาได้ การที่อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ จึงชอบแล้ว
โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย จึงมิใช่ผู้ที่มิได้อยู่ในประเทศไทย จำเลยได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบรวม 7 ฉบับ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับในประเทศจ่าหน้าซองระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับตามภูมิลำเนาของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดตรัง เลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะเปียะ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92140 โดยมี พ. ซึ่งบรรลุนิติภาวะและอยู่ที่นั่นรับไว้แล้ว จึงเป็นการ แจ้งการประเมินที่ชอบและถือว่าโจทก์ได้รับทราบการแจ้งการประเมินแล้ว ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 8 กรณีจึงมิใช่ มีเหตุจำเป็นจนโจทก์ไม่สามารถจะยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาได้ การที่อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตราซึ่งมีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราที่ประทับข้อความดังกล่าว มิใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบ การที่เจ้าพนักงานศาลไม่แจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งต่อมาว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ จึงไม่ใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่สามารถใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลมได้
ในคดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ดังนั้น จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ห้ามใช้ มาตรา 223 ทวิ มาใช้โดยอนุโลม
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ และหน้าที่การวางเงินค่าธรรมเนียมตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้สืบพยานโจทก์ต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ภายในกำหนด 15 วัน แต่จำเลยไม่นำเงินมาวาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ก็เป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 234 จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของจำเลย ซึ่งในกรณีนี้ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของจำเลย ซึ่งในกรณีนี้ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา การวางค่าธรรมเนียม และการคืนค่าธรรมเนียมศาล
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้สืบพยานโจทก์ต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ภายใน 15 วัน จำเลยไม่นำเงินมาวาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ก็เป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 234 เมื่อจำเลยไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย จึงต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย จึงต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีแรงงานและการยกเว้นการระบุอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้าง การอุทธรณ์ประเด็นใหม่หลังศาลชั้นต้น
สัญญาจ้างแรงงานไม่ได้ระบุไว้อย่างแจ้งชัดว่า ในกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจะต้องนำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเสียก่อนแต่อย่างใด ข้อตกลงตามสัญญาจ้างแรงงานจึงมีลักษณะเป็นการให้สิทธิแก่คู่สัญญาว่า ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงานแล้ว คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจใช้สิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานของประเทศไทย เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้นๆ หรือคู่สัญญาอาจตกลงกันนำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดก็ได้ การที่โจทก์นำข้อพิพาทตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิจะฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางโดยชอบด้วยกฎหมาย
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายเลิกจ้างโจทก์หรือโจทก์ลาออกจากงาน ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไปทำงานที่สำนักงานร่วมทุนที่ประเทศสิงคโปร์มีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน โดยโจทก์เรียกเงินเดือนในอัตราใหม่ซึ่งสูงกว่าเงินเดือนอัตราเดิมมาก แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงยกเลิกความผูกพันตามสัญญาจ้างเดิมและเจรจาตกลงเงื่อนไขสภาพการจ้างใหม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางและมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายเลิกจ้างโจทก์หรือโจทก์ลาออกจากงาน ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไปทำงานที่สำนักงานร่วมทุนที่ประเทศสิงคโปร์มีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน โดยโจทก์เรียกเงินเดือนในอัตราใหม่ซึ่งสูงกว่าเงินเดือนอัตราเดิมมาก แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงยกเลิกความผูกพันตามสัญญาจ้างเดิมและเจรจาตกลงเงื่อนไขสภาพการจ้างใหม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางและมิได้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลก่อนมีคำพิพากษา ต้องห้ามอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9219/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งคืนคำคู่ความ: การบังคับใช้มาตรา 18 และ 228 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทำมาใหม่ เป็นคำสั่งชั้นตรวจคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ตามวรรคสองของมาตรา 18 แต่วรรคท้ายของมาตรา 18 บัญญัติให้อุทธรณ์และฎีกาคำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตามมาตรานี้ได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247 กรณีมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 234 แห่ง ป.วิ.พ. ที่จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แต่อย่างใด เพราะกรณีนี้อยู่ในชั้นตรวจคำคู่ความ การที่จำเลยไม่ทำอุทธรณ์มายื่นใหม่ภายในเวลา 3 วันตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคสอง หาทำให้จำเลยหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คืนคำฟ้องอุทธรณ์ให้ทำมาใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 วรรคท้าย ไม่