พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมอุทธรณ์และการปฏิบัติตามเงื่อนไขการอุทธรณ์หลังมีคำพิพากษา
แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองอุทธรณ์อย่างคนอนาถา และสั่งว่าหากจำเลยยังติดใจอุทธรณ์ ให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นใน 10 วันแต่เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการชำระเงินออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นก็ได้สั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไปเพียง7 วัน อันเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่สั่งขยายระยะเวลาการชำระเงินให้จำเลยทั้งสอง เพื่อประโยชน์แก่ความยุติธรรม จำเลยจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องการขอขยายระยะเวลาการชำระเงินดังกล่าวได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 223 การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ในเรื่องเกี่ยวกับการขอขยายระยะเวลาการชำระเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์เป็นการยื่นอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว และย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าไป อันอาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยจึงต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย: การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายต้องไม่ผูกมัดบริษัทผู้รับประกันภัย
เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า "ผู้เอาประกันจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่า จะชดใช้ว่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น" มีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจจะส่งผลผูกพันบริษัทผู้รับประกันภัยในการที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่น โดยบริษัทผู้รับประกันภัยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยหรือเป็นเงื่อนไขที่มีความหมายในการป้องกันหรือห้ามมิให้ผู้เอาประกันสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ย ของบริษัทผู้รับประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดขอให้บุคคลซึ่งเป็นคู่ความในคดีอยู่แล้วเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข
กรณีที่จะมีการเข้ามาเป็นคู่ความโดยการร้องสอดตามป.วิ.พ. มาตรา 57 ได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอเข้ามาเองหรือถูกหมายเรียกเข้ามาก็ดี ผู้ที่จะเข้ามานั้นต้องเป็นบุคคลนอกคดีจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 ขอให้เรียกเข้ามานั้นเป็นคู่ความอยู่ในคดีนี้แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่โจทก์ก็ยังดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลภายนอกที่จำเลยที่ 2 จะเรียกเข้ามาโดยการร้องสอดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57(3) ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4630/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง เงื่อนไขการซื้อขาย และการฟ้องแย้งเป็นคดีต่างหาก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อเป็ดไปจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระราคาจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยซื้อเป็ดไปจากโจทก์จริง แต่มีเงื่อนไขว่าถ้าเป็ดที่ซื้อไปไม่เป็นโรคตายภายใน 5 วัน จำเลยจะชำระราคาเมื่อปรากฏว่าเป็ดที่ซื้อไปตายภายในกำหนดดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องชำระราคา การที่ศาลชั้นต้นฟังว่าการซื้อขายเป็ดเป็นการซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง กรรมสิทธิ์ในเป็ดย่อมโอนไปยังจำเลยทันที ที่จำเลยต่อสู้ว่า การซื้อขายมีเงื่อนไขฟังไม่ขึ้น ดังนี้ เท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าการซื้อขายไม่มีเงื่อนไขและเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่แล้ว ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซื้อเป็ดไปจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระราคาจำเลยรับว่าซื้อเป็ดไปจากโจทก์จริง แต่เป็ดเป็นโรคตายหมดภายในกำหนดสัญญา จึงไม่ต้องชำระราคา และฟ้องแย้งว่าเชื้อโรคจากเป็ดโจทก์ติดต่อเป็ดของจำเลยตายไปด้วย ขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหายดังนี้ ฟ้องแย้งเป็นคนละเรื่องกับที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาซื้อขาย ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขาย, ความผิดสัญญาเช่าซื้อ, เหตุพ้นวิสัย/สุดวิสัย, ความรับผิดทางสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายรถยนต์พิพาทมีข้อตกลงให้มีผลบังคับต่อเมื่อได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ในเส้นทางกรุงเทพมหานคร - จันทบุรี หรือกรุงเทพมหานคร - ตราด ซึ่งการจะได้รับอนุมัติหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต ไม่แน่นอน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข ต่อมากระทรวงคมนาคมอนุมัติให้รถยนต์พิพาทเข้าร่วมวิ่งกับบริษัท ข.ได้ เงื่อนไขตามสัญญาจึงสำเร็จลงมีผลบังคับคู่สัญญา เมื่อจำเลยไม่สามารถโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์เพราะเหตุจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อและให้ผู้เช่าซื้อยึดรถยนต์พิพาทไป การที่จำเลยถูกยึดรถยนต์พิพาทเพราะไม่ชำระค่าเช่าซื้อ เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่เรื่องนอกเหนืออำนาจของจำเลยแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เหตุพ้นวิสัยหรือเหตุสุดวิสัยซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของจำเลยที่จะป้องกันได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีผลเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ การไม่ชำระหนี้เช่าซื้อไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ข้อตกลงที่ว่าสัญญาจะซื้อจะขายรถยนต์พิพาทจะมีผลบังคับได้ต่อเมื่อบริษัทขนส่งจำกัด อนุมัติให้เข้าร่วมวิ่งในเส้นทางกรุงเทพมหานคร-จันทบุรี หรือกรุงเทพมหานคร-ตราด ซึ่งการจะได้รับอนุมัติหรือไม่เป็น เหตุการณ์ ในอนาคตไม่แน่นอน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข ต่อมา กระทรวงคมนาคมอนุมัติให้รถยนต์พิพาทเข้าร่วมวิ่งกับบริษัทขนส่งจำกัด เงื่อนไขตามสัญญามีผลบังคับคู่สัญญาแล้วเมื่อจำเลยไม่สามารถโอนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ได้ เพราะเหตุที่จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อ เนื่องจากไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อ บริษัท ค. ผู้ให้เช่าซื้อได้ยึดรถยนต์พิพาทดังกล่าวไป ดังนี้เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่ เรื่องนอกเหนืออำนาจจำเลย จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เป็นเหตุ พ้นวิสัย หรือสุดวิสัย ซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของจำเลยจะ ป้องกันได้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการปรับปรุงที่ดินมีเงื่อนไข ศาลไม่รับพิจารณาเพราะไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแย้งของจำเลยพอแปลได้ว่าหากจำเลยไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทต่อไปตามข้อต่อสู้แล้ว จำเลยขอเรียกร้องค่าเสียหายที่จำเลยลงทุนปรับปรุงที่ดินพิพาทคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแย้งนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะ รับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ หากยังไม่จ่ายให้ลูกจ้างโดยเด็ดขาดตามเงื่อนไขกฎหมายภาษีอากร
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(2) ที่ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2523,2524 นั้นต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างหรือพนักงานโดยเด็ดขาดเท่านั้นตามกฎข้อบังคับของกองทุนสะสมของพนักงานของโจทก์ แม้จะกำหนดว่าโจทก์จ่ายโดยเด็ดขาดให้พนักงานและโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งได้มอบหมายให้บริษัท เอส. เป็นผู้จัดหาผลประโยชน์ให้สมาชิกโดยมีคณะกรรมการควบคุม แต่ตามข้อบังคับดังกล่าวพนักงานของโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำเงินกองทุนไปใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงชีพในขณะที่โจทก์จ่ายให้แต่ประการใด จะมีสิทธิโดยเด็ดขาดต่อเมื่อหมดจากสมาชิกภาพแห่งกองทุนของโจทก์เท่านั้น และในการหมดจากสมาชิกภาพถ้ามีการทุจริตหรือมีหนี้สินกับบริษัทโจทก์หรือกองทุน ก็จะไม่ได้รับเงินกองทุนสมทบ หรือถ้าเป็นสมาชิกภาพไม่ครบกำหนดระยะเวลาก็จะได้รับเพียงบางส่วนเท่านั้น รอบระยะเวลาบัญชีที่โจทก์จ่ายเงินกองทุนสมทบจึงมิใช่เป็นการจ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาด กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) ต้องถือว่าเป็นเงินกองทุนที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเองต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ การซื้อขายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขไม่มีผล
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำตะคองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ พ. จะครอบครองอยู่ ก็ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่จะโอนสิทธิไปให้แก่ผู้ใดเมื่อมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้น ผู้ใดจะได้สิทธิในที่ดินต้องตกอยู่ในเงื่อนไขและวิธีการของการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาทมาก่อนเลย โดยมี พ. เป็นผู้ครอบครองอยู่ ทั้งเมื่อมีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้นแล้วโจทก์ก็มิได้เป็นผู้ครอบครองและขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แต่พ. เป็นผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แม้โจทก์จะอ้างว่าได้รับโอนขายที่ดินมาจาก พ.ตั้งแต่ก่อนที่พ. จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคม แต่เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการตามเงื่อนไขและวิธีการของพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่ได้สิทธิในที่พิพาทและถือว่าการโอนขายที่ดินระหว่าง พ. กับโจทก์เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งครอบครองที่พิพาทอยู่และเป็นสมาชิกของนิคมให้ออกจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขสัญญาซื้อขายที่ดิน: การอนุมัติจากผู้จัดการมรดกทั้งหมดเป็นสาระสำคัญของสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ว.ร่วมกันมิได้เป็นคู่สัญญาด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่า ผู้ซื้อจะชำระเงินมัดจำให้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะผู้จัดการมรดกของ ว.ทั้ง 5 คน อนุมัติหรือให้สัตยาบันเป็นลายลักษณ์อักษร หรือนับแต่วันที่ผู้ขายแจ้งให้ผู้ซื้อทราบว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมรายนี้แก่ผู้ซื้อ ดังนี้เป็นการตกลงให้สัญญามีผลบังคับต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวเป็นผลสำเร็จอันเป็นสาระสำคัญในการก่อให้เกิดความผูกพันแก่ทั้งสองฝ่าย
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลชี้ขาดในการทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าแถลงต่อศาลว่าหากมีผู้เสนอราคาให้สูงกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็พร้อมจะเลิกสัญญากับโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับจะหาผู้ซื้อรายใหม่ภายในกำหนด ถ้าหาผู้ซื้อไม่ได้ ขอให้ปรับปรุงแก้ไขสัญญานั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติหรือให้สัตยาบันกลับแสดงว่าจำเลยที่ 4และที่ 5 ไม่เห็นชอบ เพราะราคาที่ตกลงขายยังต่ำไป ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในคดีดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จ โจทก์จะบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้.
ในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลชี้ขาดในการทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าแถลงต่อศาลว่าหากมีผู้เสนอราคาให้สูงกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็พร้อมจะเลิกสัญญากับโจทก์ โดยจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับจะหาผู้ซื้อรายใหม่ภายในกำหนด ถ้าหาผู้ซื้อไม่ได้ ขอให้ปรับปรุงแก้ไขสัญญานั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุมัติหรือให้สัตยาบันกลับแสดงว่าจำเลยที่ 4และที่ 5 ไม่เห็นชอบ เพราะราคาที่ตกลงขายยังต่ำไป ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องในคดีดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้วย่อมทำให้เงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ไม่สำเร็จ โจทก์จะบังคับให้จำเลยทั้งห้าต้องปฏิบัติตามสัญญาในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ได้.