คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและใช้ความรุนแรง ย่อมเป็นตัวการร่วม
จำเลยที่ 2 มีความเกี่ยวพันเป็นอาเขย ของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 2 มีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง การที่จำเลยที่ 1 ยอมเปลี่ยนเป็นคนขับ รถจักรยานยนต์แทนจำเลยที่ 2 ก็เพื่อให้โอกาสจำเลยที่ 2ที่นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์จะได้ใช้อาวุธปืนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นเมื่อจำเป็นจะต้องใช้ และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจกำลังติดตามตรวจค้นจำเลยทั้งสองดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงจ่าสิบตำรวจ ม. ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นตัวการร่วมกระทำความผิด กับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: กรณีไม่ปรากฏข้อพิพาทภาษีและเหตุล่าช้าจากการแนะนำเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับแบบคำขอรับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535และหรือให้จำเลยไม่มีสิทธินำยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรว่าจำเลยได้นำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ และการที่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบคำขอดังกล่าวภายในกำหนดเวลาก็มิได้เกิดจากคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน แต่เป็นเพราะเชื่อตามคำแนะนำชี้แจงของเจ้าพนักงาน และโจทก์ไม่ได้ยืนยันที่จะยื่นในขณะที่ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่จะยื่นได้ เจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรจึงยังมิได้มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 7 (1) คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษี-อากรกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่สมัครใจ: ผลของการจูงใจจากเจ้าพนักงาน
คำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยมีลักษณะเป็นคำรับซึ่งเกิดจากการจูงใจของเจ้าพนักงานตำรวจ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยสมัครใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยเจ้าพนักงานที่ทำให้ผู้อื่นถูกดำเนินคดี ความเสียหายต้องเกิดกับรัฐ ไม่ใช่ตัวบุคคล
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมควบคุมตัวผู้ต้องหา ได้ปล่อยตัว ด. กับอ. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์ แล้วจำเลยที่ 1 แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกับผู้ต้องหาทั้งสองดังกล่าวลักทรัพย์ทำให้โจทก์ต้องถูกฟ้องเป็นคดีอาญา เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ดังนี้ การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของโจทก์เอง ไม่เกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดการที่จำเลยที่ 1 ปล่อยตัว ด.และ อ. ไปและโจทก์ถูกดำเนินคดีจะถือว่าโจทก์ถูกดำเนินคดีเพราะการปล่อยตัวบุคคลทั้งสองไปยังไม่ได้ อีกทั้งหากการปล่อยตัว ด.และ อ. ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการผู้ที่ได้รับความเสียหาย คือ รัฐไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนใจเจ้าพนักงานป่าไม้เพื่อให้ปล่อยไม้ยึด: พยายามกระทำความผิดแม้ผู้เสียหายไม่เกรงกลัว
การที่จำเลยพูดขู่เข็ญจะฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้หากไม่ปล่อยไม้ที่ยึด เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นการลงมือกระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เพราะผู้เสียหายไม่เกรงกลัวไม่ยินยอมปล่อยไม้ที่ยึด ผู้เสียหายจึงไม่ได้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ที่จำเลยข่มขืนใจ จำเลยจึง มีความผิดขั้นพยายามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139ประกอบมาตรา 80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาครอบครองอาวุธปืน - จำเลยมีเจตนาส่งมอบอาวุธปืนให้เจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
จำเลยเป็นพนักงานขับรถของมูลนิธิปอเต็กตึ้งได้ขับรถยนต์ไปที่เกิดเหตุรถชนกัน มีผู้นำถุงบรรจุอาวุธปืนมามอบให้แจ้งว่าเป็นของผู้ได้รับบาดเจ็บจำเลยได้ติดตามหาเจ้าของเพื่อมอบอาวุธปืนคืนเมื่อไม่พบก็ตั้งใจจะมอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ แต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับเสียก่อน ดังนี้จำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาไปในทางสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจขอออกหมายบังคับคดีเอง ต้องฟ้องผู้ผิดสัญญาเป็นคดีใหม่
การที่ ส. ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส. ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516 และการกระทำของ ส. ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้นไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้องส.เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นผู้อื่นและเจ้าพนักงาน: การพิจารณาบริบทและความเกี่ยวข้องกับหน้าที่
จำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงต่ำ ๆ ต่อหน้าผู้อื่นซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไปเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งหน้า หาใช่เป็นคำพูดในเชิงปรารถปรับทุกข์ไม่
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ในการปราบ-ปรามสืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดทางอาญา หาได้เกี่ยวกับกรณีที่มีบุคคลพิพาทกันในทางแพ่งไม่ แม้คู่กรณีนำเรื่องทางแพ่งไปแจ้งให้จัดการไกล่เกลี่ยเปรียบเทียบและผู้เสียหายที่ 2 ทำการไกล่เกลี่ยให้ และจัดการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่ คงเป็นแต่เพียงอัชฌาสัยในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น การกระทำของผู้เสียหายที่ 2 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้า-พนักงาน แม้จำเลยได้พูดถ้อยคำว่า "มันก็เข้าข้างกัน" ก็ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่น-เจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดูหมิ่นผู้อื่น vs. ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: การประเมินเจตนาและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยและผู้เสียหายที่ 1 ได้พบผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเรื่องการกู้ยืมเงิน จำเลยได้พูดว่าผู้เสียหายที่ 1 ต่อหน้าผู้เสียหายที่ 2และบุคคลอื่นว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้หญิงต่ำ ๆ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งหน้าแล้ว หาใช่เป็นเพียงคำพูดในเชิงปรารภปรับทุกข์ไม่ แต่ที่จำเลยพูดพาดพิงถึงผู้เสียหายที่ 2 ว่า "มันก็เข้าข้างกัน" ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่เพราะผู้เสียหายที่ 2 มีหน้าที่ทางอาญาหาได้เกี่ยวกับกรณีพิพาททางแพ่งไม่ แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะได้ทำการไกล่เกลี่ยเรื่องทางแพ่งให้และจัดการลงบันทึกประจำวันไว้ก็หาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นผู้อื่นและเจ้าพนักงาน: เจตนาและขอบเขตหน้าที่ตามกฎหมาย
จำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงต่ำ ๆ ต่อหน้าผู้อื่นซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไปเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1ซึ่งหน้า หาใช่เป็นคำพูดในเชิงปรารถปรับทุกข์ไม่ ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ในการปราบปรามสืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดทางอาญา หาได้เกี่ยวกับกรณีที่มีบุคคลพิพาทกันในทางแพ่งไม่ แม้คู่กรณีนำเรื่องทางแพ่งไปแจ้งให้จัดการไกล่เกลี่ยเปรียบเทียบและผู้เสียหายที่ 2 ทำการไกล่เกลี่ยให้ และจัดการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่คงเป็นแต่เพียงอัชฌาสัยในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น การกระทำของผู้เสียหายที่ 2จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้าพนักงาน แม้จำเลยได้พูดถ้อยคำว่า "มันก็เข้าข้างกัน" ก็ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
of 148