คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช็คพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4568/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเจ้าของเช็คพิพาท & ความประมาทเลินเล่อธนาคารใช้เช็คขีดคร่อม
โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของเช็คซึ่งธนาคาร ร.ในต่างประเทศมีคำสั่งให้ธนาคารจำเลยใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ห้างฯ อ.เพื่อชำระหนี้ค่าตั๋ว โดยสารเครื่องบิน แต่ห้างฯ อ. ไม่ได้รับเช็คดังกล่าว โจทก์จึงได้ส่งเช็คฉบับใหม่มาชำระให้แก่ห้างฯ อ.อีกฉบับหนึ่ง ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คฉบับแรกซึ่งมีผู้ปลอมตรา ประทับและลายมือชื่อผู้จัดการห้างฯ อ. มาเรียกเก็บเงินไปแล้วดังนี้ โจทก์ในฐานะเจ้าของเช็คพิพาทผู้มีสิทธิในเงินจำนวนที่สั่งจ่ายตามเช็คซึ่งยังไม่ตก ไปถึงมือผู้รับเงินตามความประสงค์ของโจทก์ ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ธนาคารจำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทอันเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะแก่ธนาคาร ส. ซึ่งส่งเช็คมาเรียกเก็บเงิน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเช็คขีดคร่อมที่ส่งมาเรียกเก็บโดยธนาคารอื่น เป็นหน้าที่ของธนาคารผู้รับเช็คที่จะตรวจสอบไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารผู้ใช้เงินดังนั้น การที่จำเลยมิได้ตรวจสอบลายมือชื่อและตรา ประทับของผู้สลักหลังในเช็คพิพาท ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คไปโดยประมาทเลินเล่อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแม้เป็นประกันหนี้, ความเสียหายจากไม่นำเช็คขึ้นเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์แม้จำเลยสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของ พ.ที่มีต่อโจทก์แต่เมื่อพ. ยังไม่ได้ชำระหนี้ต่อโจทก์ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังคงมีอยู่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ทั้งจะนำบทบัญญัติในเรื่องการผ่อนเวลาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับเพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่
ความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนด เช่นธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้า จน พ.หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการ ทำให้จำเลยเสียหาย ไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก พ. ได้ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: การปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรกเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ แม้จะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินใหม่
โจทก์มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารตรวจสอบบัญชีของจำเลย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2527 เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบแล้วบอกว่าไม่มีเงินจึงคืนเช็คให้โจทก์ ต่อมาวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินใหม่ เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์แสดงความจำนง ขอรับเงินตามเช็คจากธนาคารในวันที่ 26 มกราคม 2527 นั้นแล้ว แม้ธนาคารจะมิได้ปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นลายลักษณ์อักษรก็ต้องถือว่าความผิดตาม พ.ร.บ. เช็คฯ พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์ไว้แต่มาฟ้องคดีเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทหลายฉบับ: การลงโทษตามกรรมต่างกัน & ฟ้องไม่เคลือบคลุม
จำเลยออกเช็คพิพาทรวม 3 ฉบับ เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แม้ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินไปในวันเดียวกันทุกฉบับ แต่การออกเช็คดังกล่าวเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนและวันที่ที่ปรากฏในเช็ค ซึ่งจำเลยผู้ออกเช็คอาจมีเงินจ่ายตามเช็คหรือมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างกันได้การที่จำเลยออกเช็คหลายฉบับและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าว จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรม ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์อันเป็นการยืนยันว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้เช็คนั้นชำระหนี้แม้จะมิได้ระบุว่าชำระหนี้ในมูลหนี้อะไรก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การออกเช็คหลายฉบับถือเป็นความผิดหลายกรรม และฟ้องไม่เคลือบคลุมหากระบุเจตนาชำระหนี้
จำเลยออกเช็คพิพาทรวม 3 ฉบับเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แม้ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินไปในวันเดียวกันทุกฉบับ แต่การออกเช็คดังกล่าวเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนและวันที่ที่ปรากฏในเช็ค ซึ่งจำเลยผู้ออกเช็คอาจมีเงินจ่ายตามเช็คหรือมีเจตนาให้ใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างกันได้การที่จำเลยออกเช็คหลายฉบับและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าว จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรม ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์อันเป็นการยืนยันว่าจำเลยมีเจตนาจะใช้เช็คนั้นชำระหนี้แม้จะมิได้ระบุว่าชำระหนี้ในมูลหนี้อะไรก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเช็คพิพาทเรื่องดอกเบี้ยเกินกฎหมาย ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนพิพากษา
จำเลยที่ 1 ที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเกิดจากมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยรวมเอาดอกเบี้ยที่เรียกเกินกฎหมายไว้ด้วยจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาซึ่งจะถือว่าจำเลยที่ 3 รับตามฟ้องไม่ได้ แม้โจทก์จะได้ส่งคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาต่อศาลเพื่อแสดงว่า กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยออกเช็คพิพาทแล้วนำไปแลกเงินสด การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจึงไม่เป็นการต้องห้ามเพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินก็เป็นเพียงคำบอกเล่า ศาลชอบที่จะให้โจทก์นำสืบให้ได้ความตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์จึงไม่ชอบ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง กรณีเช็คพิพาท
ในคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาใน ศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์อุทธรณ์ใจความว่า จำเลยออกเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ เป็นการออกเช็คโดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและมีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง คดีเช็คพิพาท
ในคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22โจทก์อุทธรณ์ใจความว่า จำเลยออกเช็คพิพาทและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอ้างว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่เหมือนตัวอย่างที่ให้ไว้ เป็นการออกเช็คโดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คและมีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงโดยชอบ & การพิสูจน์การชำระหนี้
จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือ เช็คดังกล่าวย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบแก่กัน การที่โจทก์มีเช็คพิพาทไว้ในครอบครองจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบ
เมื่อจำเลยอ้างว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จำเลยก็ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้าง จำเลยมีเพียงตัวจำเลยและ ส.มาเบิกความว่าจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทหมดแล้วโดยไม่มีหลักฐานการชำระเงินมาแสดงว่าจำเลยได้ชำระให้แก่ผู้ใดไปเป็นเงินเท่าใดพยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้าง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็ค.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายลงชื่อใต้ช่องวันที่ ถือเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองภายหลังได้ ไม่ถือว่าเช็คไม่สมบูรณ์
เช็คพิพาทผู้สั่งจ่ายออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือโดยผู้สั่งจ่ายได้ลงวันที่ในช่องวันที่ออกเช็คและลงชื่อกำกับไว้ใต้ช่องวันที่ออกเช็คดังนี้แม้ผู้สั่งจ่ายจะมิได้ลงเดือนและปีไว้ในช่องวันที่ออกเช็คก็ต้องถือว่าผู้สั่งจ่ายเจตนาให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่ในเช็คเอาเองในภายหลังผู้ทรงเช็คย่อมลงวันที่ในเช็คเป็นวันไหนก็ได้ผู้สั่งจ่ายจะโต้แย้งว่าผู้ทรงเช็คกระทำการโดยไม่สุจริตและเช็คนั้นไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายหาได้ไม่
เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้ใช้เงินแก่ผู้ถือซึ่งโอนเปลี่ยนมือกันได้เพียงด้วยการส่งมอบให้กันเมื่อโจทก์มีเช็คไว้ในครอบครองนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 989ประกอบมาตรา 967
อายุความที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คเรียกเงินตามเช็คห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002
of 26