พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในการขอเพิกถอนการบังคับคดีและการพิจารณาความสมเหตุสมผลของการขายทอดตลาด
การยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้มีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น ผู้ร้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลท้าย ป.วิ.พ.คือ ค่าคำร้องตามตาราง 2 (3) จำนวน 20 บาท และค่าคำสั่งตามตาราง 2 (7) อีกจำนวน 50 บาท ส่วนชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (2) (ก) จำนวน 200 บาท และเสียค่าคำสั่งตามตาราง2 (7) อีกจำนวน 100 บาท
คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296วรรคสอง โดยจำเลยเพียงแต่เสียค่าคำร้อง แต่มิได้เสียค่าคำสั่ง เป็นการเสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบ แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องทำการไต่สวนจนมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจะจงใจหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสีย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลยเสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบ
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่พิพาทกันนี้ในราคา46,200,000 บาท ได้มีการประกาศขายมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11โดยขายทอดตลาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2532 ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15พฤษภาคม 2538 ใช้เวลาขายรวม 5 ปีเศษ ผู้เข้าประมูลทุกครั้งมีแต่โจทก์และอ.ผู้เคยเป็นภริยาของจำเลยเข้าประมูลเท่านั้น ไม่มีผู้อื่นสนใจเข้าประมูล ราคาที่ประมูลอยู่ระหว่าง 45,000,000 บาท ถึง 46,000,000 บาท บางครั้งไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยรับว่าจะหาผู้มาสู้ราคา แต่ไม่เคยจัดหามา การที่จะให้ไปประกาศขายทอดตลาดใหม่อีกก็ไม่แน่ว่าจะขายได้ราคาดีขึ้น จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของจำเลย
คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296วรรคสอง โดยจำเลยเพียงแต่เสียค่าคำร้อง แต่มิได้เสียค่าคำสั่ง เป็นการเสียค่าธรรมเนียมศาลไม่ครบ แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นรับคำร้องทำการไต่สวนจนมีคำสั่งชี้ขาดแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจะจงใจหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสีย ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลยเสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบ
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่พิพาทกันนี้ในราคา46,200,000 บาท ได้มีการประกาศขายมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11โดยขายทอดตลาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2532 ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15พฤษภาคม 2538 ใช้เวลาขายรวม 5 ปีเศษ ผู้เข้าประมูลทุกครั้งมีแต่โจทก์และอ.ผู้เคยเป็นภริยาของจำเลยเข้าประมูลเท่านั้น ไม่มีผู้อื่นสนใจเข้าประมูล ราคาที่ประมูลอยู่ระหว่าง 45,000,000 บาท ถึง 46,000,000 บาท บางครั้งไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยรับว่าจะหาผู้มาสู้ราคา แต่ไม่เคยจัดหามา การที่จะให้ไปประกาศขายทอดตลาดใหม่อีกก็ไม่แน่ว่าจะขายได้ราคาดีขึ้น จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนการขายทอดตลาดตามคำร้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวม - เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายที่ดิน - การยินยอม - อายุความ
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองอีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1ถือกรรมสิทธิแทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดโดยไม่เปิดเผยภาระจำนอง ผู้ซื้อไม่ต้องตรวจสอบเอง ศาลเพิกถอนการขายได้
สำเนาเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ซึ่งโจทก์ใช้เป็นหลักฐานในการนำยึดที่ดินพิพาทและนำออกขายทอดตลาดไม่ปรากฏว่ามีรายการจำนอง เพราะจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารหลังการคัดสำเนา แต่เป็นเวลาก่อนนำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแบบไม่มีภาระผูกพัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ในราคาสูงกว่าราคาประเมินของทางราชการ 3-7 เท่า โดยผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่ดินพิพาทติดจำนองมาก่อน และเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินตามสำเนา น.ส.3 ก. โดยไม่ติดจำนองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์แล้วแม้การขายทอดตลาดนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 308 ให้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510กล่าวคือ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์ต้องทำตามคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยไม่ติดจำนอง คำประกาศดังกล่าวย่อมผูกพันเฉพาะเจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่ใช่หน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องไปตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทติดจำนองหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามสำเนา น.ส.3 ก. ซึ่งไม่มีรายการจดทะเบียนจำนอง เป็นการสั่งโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการบังคับคดีเมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจที่สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย ทำให้จำเลยไม่ทราบคำพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้
ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารหากไม่สามารถจะทำได้ดั่งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 78 ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ศาลจะต้องสั่งให้เป็นกิจจะลักษณะเสียก่อนว่าให้ส่งโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดเป็นกิจจะลักษณะ เพราะในหมายนัดก็มีข้อความที่พิมพ์แต่เพียงว่า"หมายศาล - ปิดหมาย" เท่านั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ส่งหมายก็รายงานว่า บริษัทจำเลยย้ายกิจการออกไปนานแล้ว แม้การปิดหมาย ณ สถานที่ดังกล่าวในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ก็ตามแต่เวลาก็ล่วงเลยมานานถึงสามปีเศษแล้ว และเมื่อปรากฏว่าขณะปิดหมายนัดสถานที่ที่ปิดหมายดังกล่าวไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย การปิดหมายจึงไม่ชอบตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายเช่าที่ดินและการเพิกถอนมติที่ไม่ชอบของ คชก. จังหวัด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 5175 ที่ พ.ซื้อจากส. คชก. จังหวัดได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส. เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2532 ว่า ผู้เช่าใช้สิทธิซื้อนาเป็นเวลาล่วงเลยมา 4 ปีเศษ นับแต่วันโอน จึงหมดสิทธิซื้อนา คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุดแล้ว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5843 ที่ พ. ซื้อจาก บ. มีคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งถึงที่สุดวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อมาภายในกำหนดเวลา 3 ปี จึงหมดสิทธิซื้อนา โจทก์ทั้งสองจึงต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัดและคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองหมดสิทธิซื้อที่ดินทั้ง 2 แปลง นั้นอีกต่อไป
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก. จังหวัดเป็นโมฆะโดยอ้างว่า พ. มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ แต่การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ดังนี้ ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และช. ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล. บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และช.มาแล้วกรณีจึงฟังได้ว่าส.และ ช. ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. ดังนั้น ในครั้งที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. จึงเป็นการไม่ชอบและยังไม่เป็นที่สุดการที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และช. ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ
การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้พิพากษาว่ามติของ คชก. จังหวัดเป็นโมฆะโดยอ้างว่า พ. มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดก็เพื่อวัตถุประสงค์จะให้มติของ คชก.จังหวัด ไม่มีผลใช้บังคับ แต่การที่จะวินิจฉัยมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อที่ดิน 2 แปลงนั้นได้อีก ดังนี้ ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในปัญหานี้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ทั้งสอง
การที่ คชก.จังหวัดไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. เพราะเห็นว่าไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าส.และช. ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบล ภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์โดย ล. บุตรสาวซึ่งอยู่บ้านเดียวกันเป็นผู้รับแทน นอกจากนี้ ก่อนประชุม คชก.จังหวัด ประธาน คชก.ตำบลก็ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.จังหวัดยืนยันว่าได้ส่งอุทธรณ์ของ ส.และช.มาแล้วกรณีจึงฟังได้ว่าส.และ ช. ได้ยื่นอุทธรณ์ผ่านประธาน คชก.ตำบลโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว คชก.จังหวัดจึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. ดังนั้น ในครั้งที่ คชก.จังหวัดประชุมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ส.และช. จึงเป็นการไม่ชอบและยังไม่เป็นที่สุดการที่ต่อมา คชก.จังหวัดยกอุทธรณ์ของ ส.และช. ขึ้นวินิจฉัยในการประชุมครั้งต่อมา จึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนผู้จัดการมรดกหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด และผลกระทบต่อการพิจารณาคำร้อง
++ เรื่อง ขอจัดการมรดก
++ (ชั้นร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา) ++
++
++
++ กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2521 หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10798/2520ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ 40 ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2355/2525 หมายเลขแดงที่ 10941/2530ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ 1) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 หรือเอกสารหมาย ค.1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8104/2529 ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25ธันวาคม 2527 ของผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ 1 ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม2521 มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 8151, 43796,43797 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ 1535/21.22 จำนวน 2 คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2536 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2540 ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 10941/2530 ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.1ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
++ (ชั้นร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา) ++
++
++
++ กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2521 หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10798/2520ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ 40 ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2355/2525 หมายเลขแดงที่ 10941/2530ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ 1) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 หรือเอกสารหมาย ค.1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8104/2529 ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25ธันวาคม 2527 ของผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ 1 ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม2521 มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 8151, 43796,43797 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ 1535/21.22 จำนวน 2 คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2536 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2540 ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 10941/2530 ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.1ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งมรดกโดยเปิดเผย และการไม่สมควรเพิกถอนผู้จัดการมรดก
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้รับการจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกมาเป็นชื่อของจำเลย และจำเลยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากของเจ้ามรดกนำมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้วนำเงินมรดกดังกล่าวบริจาคให้วัด กับสร้างโบสถ์และ ซื้อที่ดินให้วัดอันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดกเพื่อ จัดแบ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ส่วนการบริจาคเงินมรดกก็เป็นการจัดการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกยินยอมไม่คัดค้าน และจำเลยได้จัดการ มรดกในลักษณะที่เปิดเผย ทั้งจำเลยได้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วและจะแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกอื่นให้อีก โดยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ยอม ไปจดทะเบียนรับโอนเพราะยังไม่พอใจในอัตราส่วนแบ่งมรดกเช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งแต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วและจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดและจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคนในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกและฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้วนอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก เมื่อจำเลยมิได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดก และไม่ปรากฏว่าจำเลยทุจริตหรือความไม่สามารถอันเป็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะ ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินอันเกิดจากการฉ้อฉลและการหลอกลวง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเข้าใจได้ว่า อ.กับพวกได้สมคบกับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้กลอุบายทำการฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ โดยนำโฉนดที่ดินปลอมไปแลกเปลี่ยนกับโฉนดที่ดินฉบับที่แท้จริงของโจทก์ แล้วมอบให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย ทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์มิได้ยินยอมและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินจากจำเลย โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนนั้นเสีย คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่ว่านั้น รวมทั้งคำขอบังคับที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
โจทก์ถูกฉ้อฉลหลอกลวงให้ขายที่ดินพิพาทโดยที่โจทก์ยังมิได้รับเงินค่าขายที่ดิน และมิได้รู้เห็นหรือยินยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย การจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินให้แก่จำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน น.ส.3 ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการเพิกถอน จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
ปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ป่าช้าเดิมตามความเห็นเบื้องต้นจากผลการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ยังมิได้ผ่านกระบวนการเพิกถอนที่โจทก์ร่วมผู้มีชื่อใน น.ส.3มีโอกาสที่จะพิสูจน์โต้แย้งโดยเต็มที่ได้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ในความผิดฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงที่ น.ส. 3 มิได้มีการเพิกถอนตามที่ได้ร้องเรียน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 ได้ทราบดีอยู่แล้วหากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 ไม่ยอมรับสิทธิของโจทก์ร่วมที่พึงมีในที่พิพาทตามเอกสารราชการที่ยังมีผลอยู่ตามกฎหมายก็พึงดำเนินการใช้สิทธิของตนฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาลได้ต่อไปตามขั้นตอนอันชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 13กลับเลือกวิธีการเข้าไปปลูกต้นสัก ในที่ดินพิพาทโดยพลการเป็นการกระทำที่ไม่อาจอ้างเป็นการสุจริตได้ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ประกอบมาตรา 83,362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอม
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความและในวันทำสัญญาดังกล่าวจำเลยก็มาศาลและทราบเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาด้วย หลังจากที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกับโจทก์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยเหตุที่อ้างว่าโจทก์และทนายจำเลยฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138(1)จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และโจทก์ทำการยึดทรัพย์ที่จำนองของจำเลยแล้ว คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147วรรคหนึ่ง และผูกพันโจทก์จำเลยตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว