คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของนายจ้างในการสั่งตรวจร่างกายลูกจ้างที่ลาป่วย และการเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และได้รับอนุญาตให้ลาจนครบกำหนด และมาทำงานแล้ว ก็ตาม หากจำเลยสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่หรือใช้สิทธิลาป่วยไม่สุจริต ก็ชอบที่จะสั่งให้โจทก์ไปตรวจกับ แพทย์อื่นซึ่งจำเลยจัดให้เพื่อตรวจสอบว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ หากการตรวจปรากฏว่าโจทก์ป่วยจริงและใช้สิทธิ ลาป่วยโดยสุจริตก็จะเป็นผลดีแก่โจทก์ คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานที่มีเหตุผลชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โจทก์ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกรณีไม่ร้ายแรง จำเลยได้มีหนังสือตักเตือนโจทก์ และยืนยันคำสั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามโจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จำเลยจึงลงโทษให้พักงานโจทก์ 11 วัน และยืนยันให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอีก เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีสิทธิออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย จึงเป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และเป็นการปฏบัติถูกต้องตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วและคำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าไม่ใช้คำสั่งเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3177/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงาน การฝ่าฝืนระเบียบงาน และสิทธิการได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน
ระหว่างที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานขนกระเป๋าในโรงแรมของจำเลยมัคคุเทศก์ได้นำรถตู้มารับแขกกลุ่มหนึ่ง โจทก์ได้พูดกับมัคคุเทศก์ว่า "แขกเลว ๆ อย่างนี้อย่าพามาที่นี่เลย" สาเหตุเพราะแขกและเด็ก ๆ กลุ่มดังกล่าวเป็นชาวตะวันออกกลางและเด็ก ๆ ซุกซนมาก ขณะรอรถได้ใช้ก้อนหินขว้างปานกเป็ดน้ำและปลาในบ่อ โจทก์ได้ว่ากล่าวตักเตือนแล้วไม่เชื่อฟัง เมื่อธุรกิจโรงแรมต้องให้บริการแก่แขกอย่างดีที่สุดพนักงานของโรงแรมต้องพูดจาสุภาพและแสดงกิริยามารยาทด้วยความอ่อนน้อม จึงถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 8 วรรคท้ายแล้ว แต่การใช้คำพูดดังกล่าวแม้จะไม่เหมาะสมแต่โจทก์กล่าวไปด้วยอารมณ์โดยไม่ได้มีเจตนาจะทำให้จำเลยเสียหายหรือเล็งเห็นถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่จำเลย จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงและไม่ใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหาย เมื่อการกระทำของโจทก์มิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรงตามมาตรา 119(4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
โจทก์เป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมระดับห้าดาวซึ่งมีหน้าที่หลักตามข้อบังคับการทำงานข้อ 19 ว่าต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงของโรงแรมจำเลยการที่โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับมัคคุเทศก์ที่มารับแขกอันเป็นลูกค้าของโรงแรมถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ 5 วัน เพื่อสอบสวนความผิด เมื่อจำเลยไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายเงินแก่ลูกจ้างระหว่างพักงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงาน 5 วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงาน: เหตุผลความร้ายแรง, การชดเชย, และค่าจ้างระหว่างพักงาน
โจทก์พูดกับมัคคุเทศก์ว่า "แขกเลวๆ อย่างนี้อย่าพามาที่นี่เลย" แม้ถ้อยคำที่โจทก์ใช้จะเป็นถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมแต่โจทก์ได้กล่าวไปด้วยอารมณ์ไม่พอใจในพฤติกรรมที่ไม่สมควรของบุตรแขกชาวตะวันออกกลางโดยไม่ได้มีเจตนาจะทำให้โรงแรมจำเลยเสียหายหรือทำไปโดยเล็งเห็นถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่จำเลย และข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับความเสียหายตามที่จำเลยคาดการณ์ กรณีจึงใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงและไม่ใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเสียหาย ตามมาตรา 119 (4) แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมจำเลยจะต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงของโรงแรม โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยได้มีคำสั่งพักงานโจทก์ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ถึงวันที่ 2 กันยายน 2543 รวม 5 วัน เพื่อสอบสวนความผิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายเงินแก่ลูกจ้างระหว่างพักงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงาน 5 วัน ดังกล่าว ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ การนับวันเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
เมื่อกรรมการของจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2543 และสำนักงานของจำเลยถูกปิด ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ไม่สามารถเข้าไปทำงานในสำนักงานได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้นับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างดังที่โจทก์อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างงาน ความรับผิดชอบค่าจ้าง และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในคดีแรงงาน
เจ้าของตึกที่ตั้งสำนักงานจำเลยได้ตัดน้ำ ตัดไฟ และปิดสำนักงาน ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกสัญญาจ้างแรงงานจากจำเลย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 123 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่โจทก์ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยสัญญาจ้างแรงงานนั้นจำเลยได้ยอมรับแล้วทั้งโจทก์ก็มีพยานบุคคลอื่นมานำสืบด้วยว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานนั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างข้อกฎหมายปะปนมากับข้อเท็จจริงเพื่อที่จะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามที่โจทก์อ้าง ซึ่งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างก็ได้ความเพียงว่าค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเท่านั้น มิได้มีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด เพื่อกิจการใดและโจทก์จะเบิกจากจำเลยได้ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอย่างไร อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์เบิกความลอย ๆว่าโจทก์มีสิทธิได้ค่านายหน้าร้อยละ 15 ของค่าตอบแทนที่บริษัทลูกค้าที่โจทก์นำมาจ่ายให้จำเลยเป็นเงินเดือนละ 45,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารอื่นสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้า ดังนั้นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ได้นำ จ. มาสืบยืนยันว่าจำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่ลูกจ้างฝ่ายที่ปรึกษาผู้นำลูกค้ามาให้จำเลย การสืบพยานของโจทก์เท่าที่สืบได้ในเรื่องค่านายหน้าก็น่าจะสมบูรณ์แล้ว หาใช่เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่ ที่มิได้ปรากฏว่าเบิกค่านายหน้าก็เพราะจำเลยไม่มีเงินนั้น ก็เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงดังที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซ้ำหลังศาลฎีกาย้อนสำนวน และข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษากำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายโดยใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 แล้ว ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางดังกล่าวต่อ ศาลฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีก อ้างว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าจำเลยต้องชำระค่าเสียหายเต็มตามคำฟ้อง ดังนี้ ข้ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในประเด็นที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้ว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานโดยคำสั่งถอดถอนกรรมการของ ธปท. ศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้าง
แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีอำนาจในการที่จะสั่งถอดถอนกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ใดภายใต้เงื่อนไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ทวิ ที่แก้ไขแล้วก็ตาม แต่คำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้ถอดถอนโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด เป็นการกระทำที่ไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไป จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง และคำสั่งธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวถือว่าเป็นมิตของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด ตามวรรคท้ายของบทบัญญัติข้างต้นด้วย คำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีผลเป็นว่าบริษัทเงินทุนมหาทุน จำกัด ผู้เป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง
การที่จำเลยยกปัญหาขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ซึ่งยังมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832-2833/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรและเพียงพอ แม้ปรับโครงสร้างบุคลากรก็ต้องเป็นธรรม
การปรับปรุงโครงสร้างบุคลากรโดยลดจำนวนบุคลากรลงให้เหมาะสมกับงาน แม้เป็นอำนาจบริหารของนายจ้างจนเป็นผลให้ต้องเลิกจ้างลูกจ้างได้ แต่ต้องเป็นการกระทำที่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้าง และต้องเป็นธรรมต่อลูกจ้างด้วย การลดจำนวนลูกจ้างแม้ผู้ร้องได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นพิจารณาแก่ลูกจ้างทุกคนก็ตาม แต่ผลการประเมินได้ระบุเพียงว่าผลปฏิบัติงานของผู้คัดค้านทั้งสองได้คะแนนต่ำสุดของหน่วยงานเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองไม่สามารถทำงานให้ดีได้หรือทำงานให้ผู้ร้องเสียหายอย่างไร หรือผู้คัดค้านทั้งสองได้กระทำผิดประการใด หรือมีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องเลิกจ้างลูกจ้างในแผนกไฟฟ้าระดับ 5 และแผนกอุปกรณ์ของแหล่งผลิตเอราวัณเฉพาะผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้น จึงไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832-2833/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลทางธุรกิจต้องสมเหตุสมผลและเป็นธรรมต่อลูกจ้าง
ผู้ร้องประกอบกิจการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้องใช้บุคลากรจำนวนมาก การดำเนินกิจการมีกำไรตลอดมา ทั้งปริมาณงานและผลผลิตมิได้ลดลง ส่วนที่มีการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นและแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้ต้องผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลดลงนั้นเป็นเพียงการคาดคะเนแม้เป็นมูลเหตุให้ผู้ร้องต้องปรับโครงสร้างบุคลากร แต่ก็ไม่มีผลทำให้ต้องยุบหน่วยงานที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างทำงานอยู่ ผู้ร้องกลับจ้างลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกหลายคน แม้มิได้ให้ทำงานในแผนกที่ผู้คัดค้านทำงานอยู่ แต่ย่อมจะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนการลดจำนวนบุคลากรลงให้เหมาะสมกับงาน แม้ผู้ร้องได้กำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นพิจารณาแก่ลูกจ้างทุกคนแต่ผลการประเมินได้ระบุเพียงว่าผลปฏิบัติงานของผู้คัดค้านได้คะแนนต่ำสุดของหน่วยงานเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านไม่สามารถทำงานให้ดีได้หรือทำงานให้ผู้ร้องเสียหายอย่างไร หรือได้กระทำผิดประการใด หรือมีความจำเป็นเพียงใดที่จะต้องเลิกจ้างเฉพาะผู้คัดค้านเท่านั้น จึงไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: อำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้ร้องต่อ ก.ล.ต. ตาม พ.ร.บ.แรงงาน
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร บางกรณีอาจเป็นได้ทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ด้วย โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายที่โจทก์ทำอยู่ถูกยุบอันเป็นความเท็จ เพราะตำแหน่งงานดังกล่าวยังไม่ได้ถูกยุบ แต่จำเลยใช้กลอุบายเลิกจ้างโจทก์โดยโอนกิจการที่โจทก์ทำอยู่ไปให้บริษัท ฮ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของจำเลยดำเนินกิจการแทน แต่ก็ยังคงใช้พนักงานเดิมและสถานที่เดิมของจำเลยและต่อมาจำเลยกับบริษัท ฮ. ก็รับลูกจ้างใหม่เข้าทำงานในตำแหน่งของโจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้โจทก์ได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามเดิมนั้น เห็นได้ว่า เป็นการฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาหนังสือพิมพ์ บ. และเป็นผู้เข้าร่วมกับสมาชิกคนอื่นในการต่อสู้ขัดขวางการกระทำที่ไม่เป็นธรรมของฝ่ายบริหารจำเลยนั้น ก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องของโจทก์ในเรื่องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โจทก์มิได้มุ่งประสงค์จะกล่าวหาว่าการเลิกจ้างของจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 121 หรือมาตรา 123 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อนตามมาตรา 124 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
of 205