พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการเสียชีวิต จำเป็นต้องพิสูจน์การกระทำที่ทำให้ถึงแก่ความตาย
ความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งให้สิทธิผู้ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ทำละเมิดทำให้เขาถึงตาย หากมีการทำละเมิดแต่ไม่ถึงตาย ผู้ทำละเมิดก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ที่อ้างว่าขาดไร้อุปการะ
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 โดยคำฟ้องไม่มีข้อความให้รับผิดตามมาตราอื่น และแถลงร่วมกับจำเลยให้ถือเอาผลของคำพิพากษาฎีกาซึ่งจำเลยถูกฟ้องในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นหลักเกณฑ์ให้ศาลกำหนดค่าเสียหายโดยต่างไม่สืบพยาน ปรากฏในคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายถึงบาดเจ็บตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตามฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ถนัดว่าจำเลยเป็นผู้ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย คดีลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาไม่ได้ พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ได้ความดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 และไม่มีทางที่จะถือเอาคำพิพากษาฎีกา ดังกล่าวมาพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 โดยคำฟ้องไม่มีข้อความให้รับผิดตามมาตราอื่น และแถลงร่วมกับจำเลยให้ถือเอาผลของคำพิพากษาฎีกาซึ่งจำเลยถูกฟ้องในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นหลักเกณฑ์ให้ศาลกำหนดค่าเสียหายโดยต่างไม่สืบพยาน ปรากฏในคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายถึงบาดเจ็บตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตามฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ถนัดว่าจำเลยเป็นผู้ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย คดีลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาไม่ได้ พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ได้ความดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 และไม่มีทางที่จะถือเอาคำพิพากษาฎีกา ดังกล่าวมาพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียชีวิตจากงูกัดถือเป็นอุบัติเหตุตามสัญญาประกันชีวิต
ผู้เอาประกันชีวิตถูกงูพิษกัดถึงตายโดยบังเอิญนั้น นับว่าเป็นอุบัติเหตุตามความหมายของ คำว่าอุบัติเหตุแห่งข้อสัญญา ที่ว่า "ต้องเป็นเหตุเนื่องมาจากร่างกายของผู้เอาประกันถูกบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกโดยบังเอิญ และปราศจากเจตนาของผู้มีส่วนกระทำให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น" แล้ว ผู้รับประกันชีวิตจึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ไม่เข้าข่ายสมัครใจวิวาท
จำเลยทั้งสองย้อนกลับมาที่ร้านขายเหล้าและอาหาร ต่อว่าเจ้าของร้านว่าทอนสตางค์ไม่ครบ จึงเกิดเถียงกันจำเลยที่ 1 ฉุดเจ้าของร้านออกไปนอกร้าน โดยมีจำเลยที่ 2 ดันหลัง แล้วจำเลยที่ 1 ต่อยเจ้าของร้านด้วยสนับมือที่พกมา จำเลยที่ 2 ก็แทงเจ้าของร้านในเวลาติดต่อกันไปแล้วจำเลยก็พากันหนีไปต่อมาไม่ช้าเจ้าของร้านก็ตาย ถือว่า จำเลยทั้งสองร่วมมือกันฆ่าเจ้าของร้านตายไม่ใช่เป็นเรื่องสมัครใจวิวาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาจากขนาดบาดแผลและเหตุการณ์ขณะกระทำ
จำเลยตั้งใจจะหนีให้พ้นการจับกุม เป็นการจวนตัวจึงได้แทงไปหมายจะเอาตัวรอดเท่านั้นทั้งบาดแผลที่ตำรวจถูกแทงที่คอก็มีขนาดเล็ก กว้าง 3/4 เซนติเมตรยาว3/4เซนติเมตร ลึก 1 เซนติเมตร ต่อมาประมาณ 1 เดือน ตำรวจก็ตายเพราะแผลที่เย็บไม่ติดกัน ให้อาหารไม่ได้โดยอาหารรั่วออกทางแผล ร่างกายทรุดโทรมลงจนกระทั่งตายเช่นนี้ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะฆ่าให้ถึงตายจำเลยยังไม่มีผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานตาม มาตรา 289 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานจนถึงตาย ตามมาตรา 290 วรรคท้าย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานจนถึงตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคท้ายจำคุก 18 ปี ลด 1 ใน 3 ตาม มาตรา 78คงจำคุก 12 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานฆ่าเจ้าพนักงานตามมาตรา 289 ศาลฎีกาเห็นด้วยกับศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ผิดตามมาตรา 289 คงผิดตามมาตรา 290 วรรคท้าย แต่ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์วางโทษเบาและลดโทษให้มากไปศาลฎีกามีอำนาจแก้เป็นให้จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 20 ปีลดโทษให้ 4 ปีคงจำคุก 16 ปีได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงานจนถึงตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคท้ายจำคุก 18 ปี ลด 1 ใน 3 ตาม มาตรา 78คงจำคุก 12 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานฆ่าเจ้าพนักงานตามมาตรา 289 ศาลฎีกาเห็นด้วยกับศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ผิดตามมาตรา 289 คงผิดตามมาตรา 290 วรรคท้าย แต่ศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์วางโทษเบาและลดโทษให้มากไปศาลฎีกามีอำนาจแก้เป็นให้จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 20 ปีลดโทษให้ 4 ปีคงจำคุก 16 ปีได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าด้วยความทารุณโหดร้าย ใช้ขวานฟันซ้ำหลายครั้งจนเสียชีวิต
ใช้ขวานฟันซ้ำ ๆ หลายทีจนตาย มีแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ 9 แผล ที่คอ 3 แผลและแผลไม่ฉกรรจ์ที่อื่นอีก เป็นการฆ่าด้วยความทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าด้วยความทารุณโหดร้าย: การใช้ขวานฟันซ้ำจนเสียชีวิต
ใช้ขวานฟันซ้ำๆ หลายทีจนตาย มีแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะ9 แผล ที่คอ 3 แผล และแผลไม่ฉกรรจ์ที่อื่นอีก เป็นการฆ่าด้วยความทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนขอบังคับคดีหลังตัวการเสียชีวิต: ทายาทยังมิได้เป็นผู้จัดการมรดก
ตัวการได้มอบอำนาจให้ตัวแทนเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ของตัวการ ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลย คดีถึงที่สุด ในระหว่างดำเนินการขอบังคับคดี ตัวการถึงแก่กรรม ดังนี้ การที่ตัวแทนดำเนินการร้องขอบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อไป จึงเป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันตัวการได้มอบหมายแก่ตัวแทนโดยสมควร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว
ทายาทของตัวการซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้ว กำลังพิพาทกับตัวแทนเกี่ยวด้วยแย่งกันเป็นผู้จัดการมรดกของตัวการอยู่ ดังนี้ ยังถือว่าทายาทของตัวการยังมิได้เป็นผู้จัดการมรดก และยังหาอาจเข้ามาดำเนินการขอบังคับคดีซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในศาลก่อนตัวการถึงแก่กรรมอย่างใดไม่
ทายาทของตัวการซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้ว กำลังพิพาทกับตัวแทนเกี่ยวด้วยแย่งกันเป็นผู้จัดการมรดกของตัวการอยู่ ดังนี้ ยังถือว่าทายาทของตัวการยังมิได้เป็นผู้จัดการมรดก และยังหาอาจเข้ามาดำเนินการขอบังคับคดีซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในศาลก่อนตัวการถึงแก่กรรมอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนบังคับคดีหลังตัวการเสียชีวิต: ทายาทยังไม่เป็นผู้จัดการมรดก
ตัวการได้มอบอำนาจให้ตัวแทนเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ของตัวการ ศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลย คดีถึงที่สุด ในระหว่างดำเนินการขอบังคับคดี ตัวการถึงแก่กรรม ดังนี้ การที่ตัวแทนดำเนินการร้องขอบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อไป จึงเป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันตัวการได้มอบหมายแก่ตัวแทนโดยสมควร ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 828 แล้ว
ทายาทของตัวการซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้ว กำลังพิพาทกับตัวแทนเกี่ยวด้วยแย่งกันเป็นผู้จัดการมรดกของตัวการอยู่ดังนี้ ยังถือว่าทายาทของตัวการยังมิได้เป็นผู้จัดการมรดก และยังหาอาจเข้ามาดำเนินการขอบังคับคดีซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในศาลก่อนตัวการถึงแก่กรรมอย่างใดไม่
ทายาทของตัวการซึ่งได้ถึงแก่กรรมแล้ว กำลังพิพาทกับตัวแทนเกี่ยวด้วยแย่งกันเป็นผู้จัดการมรดกของตัวการอยู่ดังนี้ ยังถือว่าทายาทของตัวการยังมิได้เป็นผู้จัดการมรดก และยังหาอาจเข้ามาดำเนินการขอบังคับคดีซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในศาลก่อนตัวการถึงแก่กรรมอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าเสียหายกรณีเสียชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าความทุกข์ทางจิตใจ
ผู้ตายมีอายุ 44 ปี มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้นั่งรถยนต์ของจำเลยไปชนต้นไม้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าในปัจจุบันชีวิตของบุคคลทั่ว ๆ ไป ในสังคมที่มีการแพทย์และการสาธารณสุขดี ยาวกว่าแต่ก่อน ผู้ตายมีร่างกายแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว จึงควรคำนวณได้ว่า ผู้ตายอาจมีชีวิตทำมาหาได้ต่อไปข้างหน้าอีก 10 ปี
สามีไม่มีสิทธิฟ้อง เรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่ เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
สามีไม่มีสิทธิฟ้อง เรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่ เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าเสียหายกรณีเสียชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจ
ผู้ตายมีอายุ 44 ปี มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้นั่งรถยนต์ของจำเลยไปชนต้นไม้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าในปัจจุบันชีวิตของบุคคลทั่วๆ ไปในสังคมที่มีการแพทย์และการสาธารณสุขดี ยาวกว่าแต่ก่อน ผู้ตายมีร่างกายแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว จึงควรคำนวณได้ว่า ผู้ตายอาจมีชีวิตทำมาหาได้ต่อไปข้างหน้าอีก 10 ปี
สามีไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตายเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
สามีไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตายเพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)