คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุสุดวิสัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยนอกเหนืออำนาจจำเลย ทำให้ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัท ร. จำเลยได้ขายสินค้าให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ขายสินค้าดังกล่าวให้แก่กองบัญชาการทหารสูงสุดในขณะที่โจทก์ทำสัญญากับจำเลยนั้น โจทก์ได้รู้อยู่แล้วว่า การส่งสินค้าดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน ซึ่งโจทก์ก็ได้ทำการขออนุมัติจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ภายหลังเมื่อโจทก์เห็นว่า การรอคอยคำตอบจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการล่าช้า โจทก์จึงได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจากบริษัทร. ต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่า รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ส่งสินค้าออกนอกประเทศ โจทก์จึงได้ขอแก้สัญญากับกองบัญชาการทหารสูงสุด ขอส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นแทน พฤติการณ์ทั้งหมดเห็นได้ว่าโจทก์เองก็ถือว่า การที่รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้บริษัท ร.ส่งสินค้าออกนอกประเทศครั้งนี้ ไม่อาจถือว่าเป็นความผิดของฝ่ายใดได้และสาเหตุดังกล่าวก็อยู่นอกเหนืออำนาจของจำเลย ถือได้ว่า ภายหลังจากที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยอันมิใช่ความผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือสภาพสินค้า
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นและเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.ได้แต่งตั้งให้ น. และหรือ ว. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนห้างหุ้นส่วนได้แก่ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี และดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในศาลทั้งหลายของประเทศไทยหรือองค์การใด ๆ ของรัฐบาลในประเทศไทยต่อจำเลยทั้งห้า ฟ้องร้องดำเนินคดีล้มละลายแก่ลูกหนี้ในประเทศไทยและกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึง 5 ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากร แม้โจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว แต่ก็เป็นการกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.หาใช่โจทก์ทั้งสามต่างคนต่างมอบอำนาจเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อเป็นการมอบอำนาจให้บุคคล 2 คน ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์สำหรับผู้รับมอบอำนาจคนละ 30 บาทหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 60 บาท เท่านั้น การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113 และ 114ก็ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในชั้นสืบพยานโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 150 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้วแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้เสียเงินเพิ่มอากรศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) คดีพิพาทเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง กำหนดให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ปรากฏว่าขณะเกิดข้อพิพาทยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขนมาใช้บังคับโดยถือเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 บัญญัติว่าผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นบุบสลายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการบุบสลายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับขนส่งสินค้าลำไยพิพาทโดยมีหน้าที่ต้องจัดหาตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นสำหรับควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2มอบตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำการขนส่งเพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเรือบรรทุกสินค้า จำเลยที่ 2เป็นผู้ว่าจ้างโดยมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่าเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นภายในบรรจุลำไยสดจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงทราบดีว่าสินค้าภายในตู้เป็นผลไม้สดที่ต้องใช้ตู้ทำความเย็นเพื่อรักษาความสดของผลไม้ไว้ เหตุที่จำเลยที่ 3และที่ 4 อ้างว่าสินค้าลำไยพิพาทต้องเสียหายเป็นเพราะความบกพร่องของตู้คอนเทนเนอร์ ท่อน้ำยารั่ว ตู้ดังกล่าวจึงไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ เจ้าหน้าที่เรือไม่อาจซ่อมแซมขณะเรือแล่นอยู่ในทะเลได้นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบุบสลายหรือเสียหายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง ทั้งไม่ปรากฏว่าสินค้าต้องบุบสลายหรือเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่งหรือผู้รับตราส่งแต่อย่างใด การขนส่งของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดร่วมกันในการบุบสลายหรือเสียหายนั้นต่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยที่ไม่สมเหตุสมผลและการดำเนินการของทนาย
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์มา 2 ครั้งแล้ว จำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ 2 วัน ทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 3 อ้างว่า วันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ทนายจำเลยได้เขียนอุทธรณ์เสร็จแล้วในตอนเช้าและเกิดท้องร่วงกะทันหัน แพทย์ให้พักรักษาตัว 2 วัน ไม่สามารถติดต่อจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ โดยไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้แนบสำเนาอุทธรณ์มาด้วยเพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อศาลว่าได้ทำอุทธรณ์เสร็จแล้วจริง ทั้งปรากฏว่าตามคำร้องฉบับดังกล่าวได้ขออนุญาตให้ศาลขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 3 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยยังทำอุทธรณ์ไม่เสร็จในวันครบกำหนด อีกทั้งปรากฏว่าคดีนี้ยังมีทนายจำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ กรณีของทนายจำเลยดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย จึงไม่สามารถขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุสุดวิสัยและยื่นคำขอทันท่วงที การป่วยเล็กน้อยของทนายไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ทนายจำเลยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อพ้นเวลาอุทธรณ์ โดยอ้างว่าเขียนอุทธรณ์เสร็จในเช้าของวันสุดท้ายที่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ แต่ทนายจำเลยท้องร่วงกะทันหัน แพทย์ให้พักรักษาตัว 2 วัน จึงไม่สามารถติดต่อเสมียนทนาย หรือจำเลยได้ อย่างไรก็ตามทนายจำเลยยังมีเวลาอีกเต็มวันที่จะยื่นอุทธรณ์ หรือขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้โดยอาการป่วยของทนายจำเลยไม่ถึงกับต้องนอนพักประกอบกับจำเลยมีทนายความซึ่งอยู่ในสำนักงานเดียวกับทนายจำเลยที่ป่วยอีกคนหนึ่งจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาแทนได้ และเมื่อพิจารณาคำร้องไม่ปรากฏสำเนาอุทธรณ์แนบมาเพื่อแสดงว่าอุทธรณ์ทำเสร็จแล้วทั้งคำร้องขอขยายเวลาอีก 3 วัน นับแต่วันที่ศาลอนุญาต แทนที่จะขออนุญาตยื่นในวันนั้นแสดงว่าทนายจำเลยยังทำอุทธรณ์ไม่เสร็จในวันครบกำหนด จึงฟังไม่ได้ว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัย ศาลย่อมไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษและต้องยื่นคำขอ ก่อนสิ้นสุดกำหนดเดิม แม้มีเหตุป่วยไข้ก็ต้องแสดงหลักฐานและไม่สามารถอ้างเหตุสุดวิสัยได้
จำเลยได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์มา 2 ครั้งแล้วจำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ 2 วันทนายจำเลยมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 3อ้างว่า วันสุดท้ายที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ทนายจำเลยได้เขียนอุทธรณ์เสร็จแล้วในตอนเช้าและเกิดท้องร่วงกะทันหัน แพทย์ให้พักรักษาตัว2 วัน ไม่สามารถติดต่อจำเลยและเสมียนทนายจำเลยได้ โดยไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้แนบสำเนาอุทธรณ์มาด้วยเพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อศาลว่าได้ทำอุทธรณ์เสร็จแล้วจริง ทั้งปรากฏว่าตามคำร้องฉบับดังกล่าวได้ขออนุญาตให้ศาลขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 3 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยยังทำอุทธรณ์ไม่เสร็จในวันครบกำหนด อีกทั้งปรากฏว่าคดีนี้ยังมีทนายจำเลยอีกคนหนึ่งซึ่งสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ กรณีของทนายจำเลยดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัย จึงไม่สามารถขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เหตุสุดวิสัย ทนายความเพิ่งได้รับมอบอำนาจและสำเนาคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยคำร้องขอขยายระยะเวลาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลชั้นต้นใช้เวลาพิจารณาพิพากษา2 ปี จำเลยที่ 1 แต่งทนายความชั้นอุทธรณ์ในระยะกระชั้นชิดทนายจำเลยที่ 1 ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาได้ จึงเป็นเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายประการใดบ้าง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการต่ออายุสัญญาจ้างโดยอ้างเหตุสุดวิสัยและการใช้ดุลพินิจ
การที่ผู้รับจ้างขอต่ออายุสัญญาโดยอ้างว่าเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน จำเลยดำเนินการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างโดยก่อนที่จะทำความเห็นเสนอต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังสืบหาข้อเท็จจริง ตลอดจนตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเคยมีการต่ออายุสัญญา-จ้างเพราะการขาดแคลนน้ำมันให้แก่ผู้อื่นมาแล้ว จำเลยจึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ ที่จำเลยมีความเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องคืนเงินค่าปรับแก่ผู้รับจ้าง แต่เป็นความเห็นโดยสุจริตในข้อกฎหมายซึ่งอาจแตกต่างจากบุคคลอื่นได้ จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อความเสียหายจากสัญญาต่ออายุที่อ้างเหตุสุดวิสัย แม้ไม่ได้ตรวจสอบทุกแหล่งข้อมูล
การที่ผู้รับจ้างขอต่ออายุสัญญาโดยอ้างว่าเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน จำเลยดำเนินการให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้างโดยก่อนที่จะทำความเห็นเสนอต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังสืบหาข้อเท็จจริง ตลอดจนตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเคยมีการต่ออายุสัญญาจ้างเพราะการขาดแคลนน้ำมันให้แก่ผู้อื่นมาแล้ว จำเลยจึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ ที่จำเลยมีความเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องคืนเงินค่าปรับแก่ผู้รับจ้าง แต่เป็นความเห็นโดยสุจริตในข้อกฎหมายซึ่งอาจแตกต่างจากบุคคลอื่นได้ จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขับรถ ชนกันเนื่องจากจักรยานยนต์ตัดหน้า จำเลยที่ 1 ไม่ประมาท
แม้จำเลยที่ 1 จะขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่ทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับมีรอยห้ามล้อของรถยนต์ก่อนถึงจุดชนเป็นระยะทางประมาณ 6 เมตร ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้พยายามหยุดรถยนต์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการชนกันขึ้น แต่สาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวตัดหน้ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับในระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยที่ 1จะหยุดรถได้ทัน กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ไม่อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ การที่รถทั้งสองคันเกิดชนกันจึงหาได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุการณ์ภายนอกควบคุมมิใช่ความบกพร่องของคู่ความและทนาย
จำเลยที่ 2 แต่งทนายความให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาแทนได้ การที่ทนายความติดต่อกับจำเลยที่ 2ไม่ได้เพราะจำเลยที่ 2 เดินทางไปค้าขายและไปล้มป่วยที่ต่างจังหวัดก็เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยที่ 2 กับทนายความเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลาการยื่นฎีกาให้จำเลยที่ 2 ได้
of 52