พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีบุกรุกที่ดินต้องตรงประเด็นที่คู่ความและศาลชั้นต้นวินิจฉัย หากไม่ตรง ศาลฎีกาแก้ไขได้
ชั้นแรกโจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง เนื้อที่ประมาณ 70 ตารางวา ราคา6,000 บาท ต่อมาโจทก์ขอแก้ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่ดินเพิ่มขึ้นรวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ ราคา 22,000 บาท ศาลอนุญาตให้แก้ฟ้องได้แล้ว ในการทำแผนที่พิพาท คู่ความนำชี้ว่าที่พิพาทคือที่ดินภายในเส้นสีแดงตามแผนที่พิพาทซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ ในการสืบพยานของคู่ความและวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ก็กล่าวว่าที่พิพาทคือที่ดินที่ปรากฏภายในเส้นสีแดงในแผนที่กลาง แต่ศาลชั้นต้นกลับพิพากษาให้ที่พิพาทภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นของโจทก์ ดังนี้ เป็นการพิพากษาไม่ตรงประเด็นที่คู่ความพิพาทและศาลอุทธรณ์ก็พิพากษายืนอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่เปลี่ยนแปลงผลแพ้ชนะเดิมอย่างมีนัยสำคัญ และขอบเขตการแก้ไขที่ไม่อยู่ในกรอบมาตรา 248 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ 5 ฉบับ รวมจำนวนเงินตามสัญญากู้ทั้งหมด 33,500 บาท จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 4,000 บาท ตามสัญญากู้ฉบับที่ 5 เท่านั้น สัญญากู้ 4 ฉบับแรกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้โจทก์เฉพาะสัญญากู้ฉบับที่ 5 ฉบับเดียวเป็นเงิน 4,000 บาท ตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยชนะคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้หนี้โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับที่ 1 ถึงที่ 4 รวม 4 ฉบับ เป็นเงินรวม 29,500 บาท ด้วยซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก ทั้งเป็นการแก้ข้อสำคัญที่จำเลยชนะในศาลชั้นต้นให้แพ้ทั้งหมด จึงเป็นการแก้ไขมากไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎมหายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ขัดแย้งกับข้อต่อสู้ของจำเลยในศาลชั้นต้น และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ 5 ฉบับ รวมจำนวนเงินตามสัญญากู้ทั้งหมด 33,500 บาท จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 4,000 บาท ตามสัญญากู้ฉบับที่ 5 เท่านั้น สัญญากู้ 4 ฉบับแรกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้โจทก์เฉพาะสัญญากู้ฉบับที่ 5 ฉบับเดียวเป็นเงิน 4,000 บาทตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งเท่ากับจำเลยชนะคดี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้หนี้โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับที่ 1 ถึงที่ 4 รวม 4 ฉบับเป็นเงินรวม 29,500 บาทด้วย ซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก ทั้งเป็นการแก้ข้อสำคัญที่จำเลยชนะในศาลชั้นต้นให้แพ้ทั้งหมด จึงเป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ตกพลาด และการพิจารณาโทษฐานเสพยาเสพติดจากคำรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นเขียนคำพิพากษาย่อบันทึกไว้หลังปกสำนวน ต่อมาเจ้าหน้าที่ของศาลจึงพิมพ์ฉบับเต็ม แต่ปรากฏว่าพิมพ์ข้อความขาดตกไป ดังนี้ ถือว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาด ชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของนายจ้าง, และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
ในคดีส่วนอาญาศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเป็นผู้ประมาท ดังนั้นในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่จะนำข้อเท็จจริงดังว่านี้มาใช้ยันจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 หาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญานั้นด้วย
การกำหนดให้คู่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม เป็นดุลพินิจของศาลจะคำนวณจากทุนทรัพย์ตามฟ้อง หรือตามที่โจทก์ชนะคดีก็ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยต่อสู้คดีในลักษณะประวิงคดีและไม่สุจริต ศาลจะไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เฉพาะทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีแต่ให้รับผิดตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องก็ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์คือค่าปลงศพ 25,000 บาท ค่าโจทก์ขาดไร้อุปการะ 161,500 บาท ค่าซ่อมรถ 3,000 บาท แล้วพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงิน 164,500 บาท แก่โจทก์เป็นการผิดพลาดไปโดยมิได้เอายอดเงินค่าปลงศพ 25,000 บาท มารวมคำนวณด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และจำเลยคงฎีกาฝ่ายเดียวต่อมาดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องได้โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 พิพากษาแก้ให้จำเลยชดใช้เงิน 189,000 บาท แก่โจทก์
การกำหนดให้คู่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม เป็นดุลพินิจของศาลจะคำนวณจากทุนทรัพย์ตามฟ้อง หรือตามที่โจทก์ชนะคดีก็ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยต่อสู้คดีในลักษณะประวิงคดีและไม่สุจริต ศาลจะไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เฉพาะทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีแต่ให้รับผิดตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องก็ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์คือค่าปลงศพ 25,000 บาท ค่าโจทก์ขาดไร้อุปการะ 161,500 บาท ค่าซ่อมรถ 3,000 บาท แล้วพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงิน 164,500 บาท แก่โจทก์เป็นการผิดพลาดไปโดยมิได้เอายอดเงินค่าปลงศพ 25,000 บาท มารวมคำนวณด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และจำเลยคงฎีกาฝ่ายเดียวต่อมาดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องได้โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 พิพากษาแก้ให้จำเลยชดใช้เงิน 189,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาเมื่อมีเหตุผลสนับสนุนการลงโทษฐานอื่น แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชก ชิงทรัพย์ และพาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์และพาอาวุธไปในเมือง โดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานกรรโชกด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดียังไม่พอฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายชิงทรัพย์และพาอาวุธไปในเมืองโดยไม่มีเหตุสมควร แต่เชื่อว่าจำเลยเป็นคนร้ายกรรโชกทรัพย์ผู้เสียหาย ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โดยไม่ใช่กรณีที่ต้องอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 เพราะมิใช่เป็นเหตุในลักษณะคดี แต่เป็นเรื่องคดียังไม่ถึงที่สุดซึ่งศาลอาจพิพากษาเป็นอย่างอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งริบของกลางต้องเป็นไปตามคำขอของโจทก์ การพิพากษาเกินคำขอเป็นเหตุให้ต้องแก้ไข
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความชัดว่าจำเลยได้ใช้รถไถ 3 คันของกลางในการกระทำผิด อันอยู่ในข่ายควรริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 หรือต้องริบเสียทั้งสิ้นตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 35 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลางรายนี้ ศาลจะสั่งริบไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยเป็นข้อเท็จจริงสำคัญ ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารยืนยันอายุเพื่อแก้ไขคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นจดคำให้การรับสารภาพของจำเลยไว้ และจดอายุของจำเลย 19 ปี แล้วพิพากษาลงโทษจำเลย จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยอายุ 15 ปีเศษ ขอให้ลดมาตราส่วนโทษให้ด้วย ศาลอุทธรณ์รับฟังสำเนาภาพถ่ายเอกสารสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านที่จำเลยเสนอมาพร้อมอุทธรณ์ เชื่อว่าจำเลยมีอายุ 15 ปีเศษ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายไว้ ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนาย แล้วทำการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเฉพาะจำเลยบางราย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 5 มีกำหนด 6 เดือน ปรับจำเลยที่ 6 เป็นเงิน 500 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำเลยที่ 6 เป็นให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เช่นนี้ จำเลยที่ 5 และ 6 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเฉพาะโทษจำเลยบางราย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 5 มีกำหนด 6 เดือน ปรับจำเลยที่ 6 เป็นเงิน 500 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำเลยที่ 6 เป็นให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เช่นนี้ จำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219