คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5534/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การบอกเลิกสัญญา, การโอนกรรมสิทธิ์, และผลกระทบต่อทายาท
การที่จำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อนจะถึงกำหนดการโอนเท่ากับจำเลยได้สละเงื่อนเวลาที่จะไปโอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อนกำหนดเวลาตามสัญญาได้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ไปโอนให้โจทก์ตามนัด จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา การซื้อขายตัวทรัพย์ซึ่งมิใช่เป็นการขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนจะทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน เมื่อยังมิได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท การที่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์มาทำสัญญาจะขายให้โจทก์โดยทายาทอื่นมิได้ยินยอมด้วยจึงไม่มีผลผูกพัน จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญามิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมลวงซื้อขายที่ดินเพื่อจำนอง ศาลสั่งให้จำเลยไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์คืน
การที่โจทก์จดทะเบียนขายที่ดินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยนำที่ดินไปประกันเงินกู้ของนางสาว ป. โดยมิได้ตกลงซื้อขายกันจริงหนังสือสัญญาขายที่ดินจึงเกิดขึ้นโดยเจตนาลวง เป็นโมฆะ จำเลยไม่มีอำนาจนำที่ดินไปจำนองต่อธนาคาร แต่ที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนโจทก์โดยปลอดภาระหนี้สิน หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ซึ่งการบังคับโดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยไม่สามารถทำได้ เพราะจะทำให้กระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ดังนั้นในกรณีนี้หากจำเลยไม่ดำเนินการไถ่ถอนจำนองก่อน ก็ให้โจทก์ดำเนินการแทนโดยให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์หลังการโอนกรรมสิทธิ์: เจ้าหนี้ยังยึดได้หากผู้รับโอนไม่ร้องขอปล่อยทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดทรัพย์สินที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่มี น.ส.3 ก. เพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แล้วอันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 283 วรรคแรก แม้จะปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ อ. ไปก่อนแล้วก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไป เพราะหากอ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ก. อ้างว่าตนเป็นเจ้าของเนื่องจากได้รับการยกให้จากจำเลย อ. ก็ต้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 เมื่อ อ. มิได้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุผลใดมาอ้างเพื่อเพิกถอนการยึด เพราะการมีชื่อใน น.ส.3 ก. ดังกล่าวมิได้หมายความว่า อ. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับใช้ได้ในการแบ่งทรัพย์มรดกและหน้าที่ในการโอนกรรมสิทธิ์
การที่จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในฐานะทายาทและโจทก์จำเลยได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันและทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสืออันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับกันได้ตามมาตรา 850,1750 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผลแห่งข้อตกลงทำให้ข้อคัดค้านของโจทก์ระงับไป และได้สิทธิในที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังโอนกรรมสิทธิ์ และสิทธิของโจทก์ร่วมในคดีขับไล่
ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิดต่อโจทก์ได้ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวให้แก่โจทก์ร่วมอำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไปส่วนโจทก์ร่วมผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)โจทก์ยังคงมีอำนาจฟ้องต่อไป และโจทก์ร่วมสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังโอนกรรมสิทธิ์ & การเข้าเป็นโจทก์ร่วม: แม้โอนกรรมสิทธิ์หลังฟ้อง อำนาจฟ้องยังอยู่ โจทก์ร่วมมีสิทธิขอเข้าเป็นโจทก์ได้
ขณะที่ฟ้องโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งอยู่โดยละเมิดได้ แม้ภายหลังฟ้องแล้วโจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ร่วม อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้ว ยังคงมีผลอยู่ต่อไป ส่วนโจทก์ร่วมก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์รวมภายหลัง ผู้รับโอนยังยกข้อต่อสู้ได้
ที่ดินที่มีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีผู้ครอบครองปรปักษ์ ที่ดินบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มา การที่เจ้าของรวมคนอื่นโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของเจ้าของรวมคนหนึ่งเพียงคนเดียว ไม่ถือว่าเจ้าของรวมผู้รับโอนนั้นเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคสองผู้ครอบครองปรปักษ์ยกเอาการได้มาขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาประกันภัยเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน และการขาดการแจ้งการโอนให้ผู้รับประกันทราบ
ศ. จดทะเบียนจำนองที่ดินและตึกแถวพิพาทไว้แก่ธนาคาร ก.และได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมีข้อความระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยว่าให้ธนาคาร ก. เป็นผู้รับประโยชน์และระบุด้วยว่าสัญญาย่อมระงับไป เมื่อทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยวิธีอื่นนอกจากทางพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ต่อมา ศ.ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองโดยโจทก์เป็นผู้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. แทน ศ.แล้วศ.ได้จดทะเบียนโอนขายให้โจทก์โดยปลอดการจำนอง จึงทำให้สิทธิจำนองระงับไปและธนาคาร ก. หมดสิทธิที่จะได้รับช่วงทรัพย์ อันได้แก่สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ ศ. มีอยู่ต่อจำเลยอีกต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 231 สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรมธรรม์ประกันภัยจึงกลับมาเป็นของ ศ. ตามเดิมเมื่อ ศ. โอนตึกแถวพิพาทให้โจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวการโอนให้จำเลยทราบเพราะไม่ทราบเงื่อนไขตามสัญญาจนกระทั่งเกิดเพลิงไหม้ตึกแถว ดังนี้ โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ได้รับช่วงสิทธิด้วยอำนาจกฎหมายจากธนาคาร ก. เพราะเป็นบุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ และเอาเงินราคาค่าซื้อให้แก่ผู้รับจำนองทรัพย์สินเสร็จไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(2) และไม่อาจอ้างได้ว่าสิทธิของ ศ. ตามสัญญาประกันภัยได้โอนมายังโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 เพราะสัญญาประกันภัยได้ระงับไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2780/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินและการโอนกรรมสิทธิ์: การกระทำไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เมื่อมีการซื้อขายและส่งมอบทรัพย์สินอย่างถูกต้อง
โจทก์ร่วมตกลงขายทรัพย์ให้จำเลยที่ 1 กรรมสิทธิ์จึงโอนไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว การที่จำเลยทั้งสามนำเอาทรัพย์นั้นไปจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนชำระค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือแก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ก็ให้คืนเงินมัดจำกับค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น ในการบังคับคดีจำเลยจึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ตามลำดับของคำพิพากษา โดยจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ก่อน จำเลยจะเลือกวิธีการคืนเงินมัดจำกับชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยโจทก์ไม่ตกลงด้วยหาได้ไม่
of 56