พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการฎีกาคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีและมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยทั้งสองยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้จำเลยทั้งสองจะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13118/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์ตกลงโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องได้ชำระมูลค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทน และมีการชำระบัญชีหนี้สินระหว่างกันเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งยังกำหนดให้โจทก์ดำเนินคดีและบังคับคดีกับลูกหนี้เช่าซื้อต่อไปในนามของผู้ร้อง และเมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินให้แก่ผู้ร้องทั้งหมด แสดงว่าผู้ร้องแต่ผู้เดียวมีอำนาจในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับชำระหนี้และรับชำระหนี้เช่าซื้อ ดังนั้น บันทึกข้อตกลงดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และโจทก์สามารถโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องได้ตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 27 โจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 การโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ให้แก่ผู้ร้องตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องมีสิทธิเข้าสวมสิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองแทนโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างผู้รับเหมาช่วงกับผู้รับเงิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามสัญญารับเหมาช่วงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ร่วมลงนามผูกพันเป็นคู่สัญญาด้วย ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญากับโจทก์โดยตกลงที่จะเป็นผู้ชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แทนจำเลยที่ 1 อันจะมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ แม้จะได้ความว่าก่อนจะทำสัญญา จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 แจ้งว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อสินค้าสำหรับใช้ในโครงการที่จำเลยที่ 1 รับเหมากับโจทก์ หากจำเลยที่ 2 ได้รับเงินในงวดงานที่ 17, 18 ก็ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งว่าไม่ขัดข้อง ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการจัดการชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ต่อโจทก์ให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 เพราะตราบใดมีค่างวดงานที่จำเลยที่ 2 ได้รับจากมหาวิทยาลัย ม. ยังนำไปหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ไม่ครบถ้วน ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2 จะชำระค่าจ้างเหมาให้แก่โจทก์ก็ยังไม่เกิดผลบังคับและแม้การเบิกเงินในงวดงานที่ 17, 18 จะเกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับเหมาช่วงจากจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้โจทก์มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ในอันที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงตามมาตรา 374 ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเกินสิทธิ, การรับผิดชอบร่วมของลูกหนี้, และดอกเบี้ยจากการโอนสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าไม่ว่าหนี้ในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จำเลยที่ 5 ต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ซึ่งในหนังสือยังแจ้งด้วยว่า แม้ใบเรียกเก็บเงินบางฉบับอาจจะไม่มีข้อความที่ระบุข้างต้นก็ขอชำระเงินให้แก่โจทก์ตามรายการในใบเรียกเก็บเงินทุกใบต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่าเป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยที่ 5 มีต่อจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมด มิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เฉพาะราย หลังจากนั้น จำเลยที่ 5 ยังได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 หลายครั้งและชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการซื้อขายแบบต่อเนื่องไม่ใช่เป็นการซื้อขายสินค้าเจาะจงเฉพาะสิ่ง การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าจึงรวมถึงหนี้ค่าสินค้ารายการที่ 1 ถึง 14 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 5 ทราบแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 5
สินค้ารายการที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าโดยคิดรวมในส่วนที่ไม่ได้ส่งมอบดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการโอนขายสิทธิเรียกร้องเกินกว่าสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้รายการดังกล่าว
สินค้ารายการที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าโดยคิดรวมในส่วนที่ไม่ได้ส่งมอบดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการโอนขายสิทธิเรียกร้องเกินกว่าสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้รายการดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าสินค้าต่อเนื่อง การแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องมีผลผูกพันผู้ซื้อ แม้จะยังไม่มีกำหนดชำระ
จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าไม่ว่าหนี้ในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จำเลยที่ 5 ต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ไปให้แก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวยังแจ้งด้วยว่าแม้ใบเรียกเก็บเงินบางฉบับอาจจะไม่มีข้อความที่ระบุข้างต้น ก็ให้ชำระเงินแก่โจทก์ตามรายการในใบเรียกเก็บเงินทุกใบต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่าเป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยที่ 5 มีต่อจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมด มิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าเฉพาะราย หลังจากโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 5 ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 5 สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 หลายครั้งและชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการซื้อขายแบบต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นการซื้อขายสินค้าเจาะจงเฉพาะสิ่ง การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าจึงรวมถึงหนี้ค่าสินค้ารายการที่ 1 ถึง 14 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 5 แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 5 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ค่าขายสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องล้มละลายหลังโอนสิทธิเรียกร้อง: โจทก์ยังสามารถดำเนินคดีได้จนกว่าจะมีการสวมสิทธิ
โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 10 แม้ภายหลังยื่นคำฟ้องโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลล้มละลายกลางก็ตาม แต่ตราบใดที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ยังมิได้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน โจทก์ซึ่งยังอยู่ในฐานะคู่ความ ก็ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ต่อไปเท่าที่จำเป็นในระหว่างที่ยังไม่มีผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน และแม้โจทก์จะมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ตาม ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ อนึ่ง หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ศาลล้มละลายกลางก็ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริษัททรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ย่อมมีฐานะเป็นคู่ความชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อไปได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีหลังการพิทักษ์ทรัพย์: ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องไม่สามารถใช้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
แม้ผู้ถูกทวงหนี้มิได้ปฏิเสธหนี้เป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เด็ดขาดตามกฎหมาย และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวออกขายโดยวิธีประมูลซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อได้ แต่การขอออกคำบังคับ การขอออกหมายบังคับคดี และการขอให้ศาลมีคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ถูกทวงหนี้ไว้ชั่วคราวก่อนศาลมีคำสั่งในเรื่องนี้นั้นเป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ประกอบมาตรา 22 (2) ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากลูกหนี้จึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อพิพาทที่จะดำเนินการทวงถามและฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันในทางแพ่งต่อไป แต่ไม่อาจขอเข้าสวมสิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการหักกลบลบหนี้: การให้ความยินยอมภายในกรอบสัญญาและสิทธิในการยกข้อต่อสู้
หนังสือให้ความยินยอมและรับทราบการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 4 มีไปยังจำเลยที่ 1 มีข้อความว่า "เป็นที่เข้าใจกันว่าเอทีแอนด์ที (AT&T) เพียงแต่ตอบสนองตามการขอร้องของท่านที่ให้จ่ายเงินโดยตรงในนามของท่านให้แก่บริษัทอื่น และในการจ่ายเงินดังกล่าวนี้ เอทีแอนด์ทีจะไม่และต้องไม่เป็นการยอมรับหนี้สินเพิ่มต่อท่านหรือต่อผู้รับโอนสิทธิ นอกจากนี้การยอมให้มีการโอนสิทธิทางการเงิน ไม่หมายความด้วยประการใด ๆ ว่า เอทีแอนด์ทีสละสิทธิของตนซึ่งมีอยู่ในสัญญา" ข้อความดังกล่าวนี้ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 4 มิได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องโดยมิได้อิดเอื้อน แต่เป็นการให้ความยินยอมภายในกรอบแห่งสิทธิของจำเลยที่ 4 อันพึงมีอยู่ในสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ดังนั้น หากจำเลยที่ 4 มีข้อต่อสู้กับจำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ผู้โอนได้ จำเลยที่ 4 จึงมีสิทธิที่จะนำยอดเงินจำนวน 13,522,469.67 บาท หักกลบลบหนี้กับเงินค่าจ้างจำนวน 11,610,539.33 บาท ซึ่งจำเลยที่ 4 มีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 อันทำให้หนี้จำนวนดังกล่าวระงับไป โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ผู้โอนจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 4 ชำระเงินจำนวน 11,610,539.33 บาท แก่ตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8501/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ด้อยคุณภาพให้ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ทำให้ผู้ฟ้องเดิมขาดอำนาจฟ้อง
หนี้คดีนี้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่โจทก์ได้โอนให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ และต่อมาก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำพิพากษา บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ได้โอนสินทรัพย์รายนี้ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยไปแล้ว สิทธิเรียกร้องที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ในฐานะผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์มีต่อจำเลยทั้งสี่จึงโอนไปเป็นของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2540 มาตรา 30 บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. ผู้เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีนี้อีกต่อไป
ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และวรรคหกนั้น เมื่อได้มีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายนี้ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยไปแล้วก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะได้มีคำพิพากษา และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมิได้ยื่นคำร้องขอเป็นอย่างอื่น ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ว่าบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมิได้ร้องขอเป็นอย่างอื่น แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวคู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยทั้งสี่ยกปัญหาขึ้นกล่าวในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ จำเลยทั้งสี่จึงมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และวรรคหกนั้น เมื่อได้มีการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายนี้ให้แก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยไปแล้วก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะได้มีคำพิพากษา และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมิได้ยื่นคำร้องขอเป็นอย่างอื่น ชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะต้องสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ว่าบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยมิได้ร้องขอเป็นอย่างอื่น แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวคู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยทั้งสี่ยกปัญหาขึ้นกล่าวในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ จำเลยทั้งสี่จึงมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ทำหนังสือซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องโดยระบุให้เรียกคู่สัญญาในหนังสือดังกล่าวระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ว่า "ผู้โอน" และ "ผู้รับโอน" ตามลำดับ เนื้อหาภายในหนังสือดังกล่าวระบุว่าผู้โอนซึ่งเป็นผู้ให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ขอโอนสิทธิการรับค่าเช่าจากจำเลยตามสัญญาเช่าในแต่ละเดือนให้แก่ผู้รับโอนเป็นผู้รับเงินจำนวนดังกล่าว โดยผู้โอนขอรับรองว่า ผู้รับโอนมีสิทธิสมบูรณ์เสมือนผู้โอนทุกประการ ทั้งมีการแจ้งการโอนเป็นหนังสือให้แก่จำเลยและจำเลยได้ตอบรับเป็นหนังสือ หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งก็คือสัญญาเช่าที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีนี้ จึงถือว่าโจทก์และธนาคาร ก. ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการรับเงินค่าเช่าจึงตกเป็นของธนาคาร ก. ตั้งแต่นั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบอำนาจให้แก่ธนาคาร ก. เป็นผู้รับเงินค่าเช่าแทนโจทก์ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเช่าแก่โจทก์
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว จึงได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 แล้ว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 แต่อย่างใด