พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเมื่อผู้เสียภาษีไม่นำเอกสารหลักฐานมาตรวจสอบ และการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ที่แสดงรายการตามแบบที่ยื่นรายการเสียภาษีจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่จะออกหมายเรียกให้ผู้ที่ยื่นรายการแสดงการเสียภาษีนำบัญชี หรือเอกสารหลักฐานการลงบัญชีใด ๆ ไปให้เพื่อทำการไต่สวนตรวจสอบ หากผู้นั้นขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินก็ชอบที่จะทำการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) และไม่มีบทบัญญัติใด ในกรณีนี้บังคับว่าจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน
โจทก์อ้างว่าบัญชีและหลักฐานการลงบัญชีที่เก็บไว้สูญหายแต่ได้ความว่า โจทก์เพียงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพว่า บัญชี 5 เล่ม ประจำปี 2515 - 2516 ของโจทก์หายไปเนื่องจากการโยกย้ายสำนักงานเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าเอกสารประกอบการลงบัญชีทุกชนิดต้นฉบับ หรือคู่ฉบับสัญญาเช่าซื้อของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2515 - 2516 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกให้โจทก์นำไปส่งมอบได้หายไปด้วย ทั้งโจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหาได้แจ้งเรื่องบัญชี 5 เล่มที่สูญหายต่อสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับตามมาตรา 71 (1) ดังกล่าว
จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์เป็นสรรพากรเขต 4 สำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ตามกฎหมายมีอำนาจทำการประเมินเรียกเก็บภาษีในจังหวัดที่อยู่ภายในเขตอำนาจ จึงรวมถึงประเมินเรียกเก็บภาษีของโจทก์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจดัวย ดังนั้น การแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นกับพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นร่วมกันเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงถือว่าเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (1) (ข) แล้ว
โจทก์อ้างว่าบัญชีและหลักฐานการลงบัญชีที่เก็บไว้สูญหายแต่ได้ความว่า โจทก์เพียงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพว่า บัญชี 5 เล่ม ประจำปี 2515 - 2516 ของโจทก์หายไปเนื่องจากการโยกย้ายสำนักงานเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าเอกสารประกอบการลงบัญชีทุกชนิดต้นฉบับ หรือคู่ฉบับสัญญาเช่าซื้อของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2515 - 2516 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกให้โจทก์นำไปส่งมอบได้หายไปด้วย ทั้งโจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหาได้แจ้งเรื่องบัญชี 5 เล่มที่สูญหายต่อสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับตามมาตรา 71 (1) ดังกล่าว
จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์เป็นสรรพากรเขต 4 สำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ตามกฎหมายมีอำนาจทำการประเมินเรียกเก็บภาษีในจังหวัดที่อยู่ภายในเขตอำนาจ จึงรวมถึงประเมินเรียกเก็บภาษีของโจทก์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจดัวย ดังนั้น การแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นกับพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นร่วมกันเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงถือว่าเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (1) (ข) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการประเมินภาษีโดยไม่ต้องไต่สวน หากมีเหตุเชื่อว่ารายการไม่ถูกต้อง และความชอบด้วยกฎหมายของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ในกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ที่แสดงรายการตามแบบที่ยื่นรายการเสียภาษีจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ที่จะออกหมายเรียกให้ผู้ที่ยื่นรายการแสดงการเสียภาษีนำบัญชีหรือเอกสารหลักฐานการลงบัญชีใด ๆ ไปให้เพื่อทำการไต่สวนตรวจสอบ หากผู้นั้นขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินก็ชอบที่จะทำการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) และไม่มีบทบัญญัติใดในกรณีนี้บังคับว่าจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน
โจทก์อ้างว่าบัญชีและหลักฐานการลงบัญชีที่เก็บไว้สูญหายแต่ได้ความว่าโจทก์เพียงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพว่า บัญชี 5 เล่ม ประจำปี 2515-2516 ของโจทก์หายไปเนื่องจากการโยกย้ายสำนักงานเท่านั้นไม่ปรากฏว่าเอกสารประกอบการลงบัญชีทุกชนิดต้นฉบับ หรือคู่ฉบับสัญญาเช่าซื้อของรอบระยะเวลาบัญชีปี2515-2516 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกให้โจทก์นำไปส่งมอบได้หายไปด้วย ทั้งโจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหาได้แจ้งเรื่องบัญชี 5 เล่มที่สูญหายต่อสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับตามมาตรา 71(1) ดังกล่าว
จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์เป็นสรรพากรเขต 4 สำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ตามกฎหมายมีอำนาจทำการประเมินเรียกเก็บภาษีในจังหวัดที่อยู่ภายในเขตอำนาจ จึงรวมถึงประเมินเรียกเก็บภาษีของโจทก์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจด้วย ดังนั้น การแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นกับพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นร่วมกันเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงถือว่าเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) แล้ว
โจทก์อ้างว่าบัญชีและหลักฐานการลงบัญชีที่เก็บไว้สูญหายแต่ได้ความว่าโจทก์เพียงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพว่า บัญชี 5 เล่ม ประจำปี 2515-2516 ของโจทก์หายไปเนื่องจากการโยกย้ายสำนักงานเท่านั้นไม่ปรากฏว่าเอกสารประกอบการลงบัญชีทุกชนิดต้นฉบับ หรือคู่ฉบับสัญญาเช่าซื้อของรอบระยะเวลาบัญชีปี2515-2516 ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินมีหมายเรียกให้โจทก์นำไปส่งมอบได้หายไปด้วย ทั้งโจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหาได้แจ้งเรื่องบัญชี 5 เล่มที่สูญหายต่อสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับตามมาตรา 71(1) ดังกล่าว
จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์เป็นสรรพากรเขต 4 สำนักงานตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ตามกฎหมายมีอำนาจทำการประเมินเรียกเก็บภาษีในจังหวัดที่อยู่ภายในเขตอำนาจ จึงรวมถึงประเมินเรียกเก็บภาษีของโจทก์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่นซึ่งอยู่ในเขตอำนาจด้วย ดังนั้น การแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นกับพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นร่วมกันเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงถือว่าเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญาและการยกข้ออ้างภายหลังการไต่สวน
จำเลยกับโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลว่า จำเลยยอมให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิการจำยอมเป็นถนนผ่านที่ดินจำเลย โดยโจทก์ต้องทำถนนให้เสร็จภายในเวลา 2 นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนสิทธิภารจำยอม ถ้าไม่ทำจนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกไป และโจทก์จะต้องไปจดทะเบียนถอนภารจำยอมออกจากที่ดินดังกล่าว เมื่อต่อมาจำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์มิได้ทำถนนภายในกำหนดเวลาตามสัญญาศาลสอบถามโจทก์ โจทก์ยืนยันว่าได้ทำถนนภายในกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว ศาลจึงดำเนินการไต่สวนและเดินเผชิญสืบตรวจดูสถานที่ ได้ความว่า โจทก์ไม่ได้ทำถนนแต่อย่างใดเลยโจทก์กลับมายกข้ออ้างขึ้นใหม่ภายหลังที่เดินเผชิญสืบเสร็จการไต่สวนแล้วว่ามีบันทึกซึ่งจำเลยที่ 3 ทำขึ้นนอกศาลตกลงขยายเวลาทำถนนให้โจทก์ ซึ่งขัดกันที่โจทก์แถลงไว้เดิม จึงรับฟังไม่ได้ ศาลบังคับให้โจทก์ไปจดทะเบียนเพิกถอนภารจำยอมออกจากโฉนดที่ดินของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องมีคำร้องและไต่สวน การบังคับตามสัญญาประนีประนอมเมื่อมีการขายทรัพย์สิน
โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหลังจากที่มีคำสั่งนัดพร้อม จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยได้ขายที่ดินที่ส่วนของจำเลยให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว หากโจทก์จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมอย่างใด ก็ชอบที่จะดำเนินการกับจำเลยในทางอื่น ศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยแบ่งที่ดินของจำเลยไว้เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยได้ขายที่ดินที่ส่วนของจำเลยให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว หากโจทก์จะถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมอย่างใด ก็ชอบที่จะดำเนินการกับจำเลยในทางอื่น ศาลไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยแบ่งที่ดินของจำเลยไว้เพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรื้อถอนสิ่งรบกวนการก่อสร้าง: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนมีคำสั่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดและให้รื้อถอนเสาและสายไฟฟ้าแรงสูงที่ติดตั้งและเดินสายผ่านที่ดินของโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา อ้างว่าเสาไฟฟ้าดังกล่าวกีดขวางอยู่ ทำให้ก่อสร้างโรงภาพยนตร์และอาคารพาณิชย์ในที่ดินนั้นไม่ได้ โจทก์เสียหายขาดรายได้ ขอให้สั่งจำเลยย้ายเสาและสายไฟจากที่เดิมเพื่อติดตั้งใหม่ในที่ของโจทก์ส่วนที่ไม่กีดขวางการก่อสร้าง คำขอดังกล่าวเท่ากับเป็นการขอห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ฟ้อง ศาลควรจะต้องทำการไต่สวนและฟังข้อเท็จจริงว่ามีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าวหรือไม่ ไม่ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอโดยไม่ทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอนุญาตไต่สวนอนาถาใหม่ และรับอุทธรณ์อนาถาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ในวันที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 และทนายไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนและสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและไต่สวนคำร้องขออนาถาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และมีคำสั่งลงวันที่ 9 เมษายน 2518 อนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลลงวันที่ 31 ตุลาคม 2517 ซึ่งโจทก์ได้โต้แย้งไว้แล้ว จึงหาใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอันถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156วรรคสามไม่จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบ แล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการสืบพยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนอนาถาและสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นได้ เพราะศาลได้สั่งไปโดยชอบ แล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีการขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 หรือ 202 ด้วย ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นอนุญาตให้ไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อนาถาของจำเลยที่ 2 ใหม่ และคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การล่าช้าเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันรับหมาย และการไต่สวนคำร้องเพื่อแก้ไขความผิดพลาด
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีในวันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2518 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ครบกำหนดยื่นคำให้การวันที่ 31 ตุลาคม 2518 จำเลยยื่นคำให้การเลยกำหนดจึงไม่รับคำให้การ และสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ นัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดเพราะจำเลยป่วยเป็นไข้ และจำวันรับหมายผิด จึงบอกวันรับหมายกับทนายผิดไป ทนายจึงยื่นคำให้การล่วงเลยกำหนดไป 1 วัน ศาลชั้นต้นสั่งว่าการบอกวันรับหมายผิดไม่ใช่ข้อแก้ตัวให้ยกคำร้อง จำเลยโต้แย้งคำสั่งไว้แล้ว ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์ ไปตามนัด แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อปรากฏตามใบรับหมายเรียกท้ายรายงานเจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายว่า จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่ 25 ตุลาคม 2518 ซึ่งถ้าเป็นความจริง คำให้การที่จำเลยยื่นไว้ก็เป็นการยื่นในกำหนดเวลาตามกฎหมายและคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยก็อ้างเหตุเจ็บป่วย จึงมีเหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและสั่งคำร้องของจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การล่าช้าเนื่องจากความเข้าใจผิดเรื่องวันรับหมาย และการไต่สวนคำร้องยื่นคำให้การ
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีในวันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2518ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ครบกำหนดยื่นคำให้การวันที่ 31 ตุลาคม 2518 จำเลยยื่นคำให้การเลยกำหนดจึงไม่รับคำให้การ และสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดเพราะจำเลยป่วยเป็นไข้ และจำวันรับหมายผิดจึงบอกวันรับหมายกับทนายผิดไป ทนายจึงยื่นคำให้การล่วงเลยกำหนดไป 1 วัน ศาลชั้นต้นสั่งว่าการบอกวันรับหมายผิดไม่ใช่ข้อแก้ตัวให้ยกคำร้อง จำเลยโต้แย้งคำสั่งไว้แล้ว ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์ไปตามนัด แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อปรากฏตามใบรับหมายเรียกท้ายรายงานเจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในวันที่ 25 ตุลาคม2518 ซึ่งถ้าเป็นความจริง คำให้การที่จำเลยยื่นไว้ก็เป็นการยื่นในกำหนดเวลาตามกฎหมายและคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยก็อ้างเหตุเจ็บป่วยจึงมีเหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและสั่งคำร้องของจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนมีคำสั่งให้กักขัง จำเลยต้องแสดงเหตุผลที่ไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้
โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ขอให้จับจำเลยมากักขังไว้จนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์จำเลยยังคงโต้เถียงกันอยู่ว่า จำเลยสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หรือไม่ ศาลสมควรที่จะไต่สวนให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังเป็นยุติเสียก่อนที่จะสั่งยกหรืออนุญาตตามคำร้องของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เอกสารตามคำท้าคดี: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนชี้ขาดตามคำท้า
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ถ้าในพินัยกรรมที่ ด. ทำไว้มีข้อความว่า ด. ได้ขายที่พิพาทให้จำเลยหมดทั้งแปลง โจทก์ยอมแพ้ แต่ถ้าไม่มีข้อความดังกล่าว จำเลยยอมแพ้ จำเลยได้ส่งเอกสารต่อศาล 1 ฉบับ โจทก์ตรวจดูแล้วแถลงว่าไม่ใช่พินัยกรรมที่คู่ความตกลงท้ากัน พินัยกรรมตามที่ท้ากันมีอีกต่างหาก จำเลยแถลงยืนยันว่าเป็นเอกสารตามที่ตกลงท้า ดังนี้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารที่จำเลยส่งเอกสารจึงยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ ศาลต้องไต่สวนให้ได้ความจริงว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่คู่ความตกลงท้ากันหรือไม่เสียก่อน แล้วจึงจะชี้ขาดคดีไปตามคำท้าได้