พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการไม่วางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา ศาลชอบที่จะไม่รับอุทธรณ์ได้
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 229 หาได้ใช้บังคับเฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเท่านั้นไม่ แม้จะเป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย แต่จำเลยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไป ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว และการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งและเสียเฉพาะค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่กฎหมายบังคับให้จำเลยต้องเสียในขณะยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ เงินดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ครบถ้วนจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที และกรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มาก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ฟ้องก่อน หากศาลมีคำพิพากษาชี้ขาดแล้ว
ฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับอีกคดีหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ได้ แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องไว้ก่อนคดีนั้น แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีแล้วกรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน ศาลจึงไม่อาจหยิบยกพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลแรงงานต่อกองทุนสหภาพแรงงาน แม้กรรมการผู้เบิกจ่ายเปลี่ยนไป
โจทก์ฟ้องว่าที่ประชุมสมัชชาของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ลงมติให้จ่ายเงินกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งเก้าในฐานะกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินกองทุนดังกล่าวไม่ดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งเก้าให้การว่าที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ไม่ได้ลงมติเสียงข้างมากให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ ประเด็นพิพาทคดีนี้จึงเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องโดยตรงว่า ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ผู้ร้องมีมติเสียงข้างมากให้จ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ผู้ร้องมีมติให้จ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์ จึงได้พิพากษาให้จำเลยทั้งเก้าจ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนดังกล่าวแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาจึงบังคับโดยตรงต่อกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ที่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เพียงแต่ในขณะที่ฟ้องคดีนี้จำเลยทั้งเก้าเป็นกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินจากกองทุนดังกล่าว จึงให้จำเลยทั้งเก้าเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าต่อมาจำเลยบางคนไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายแล้วเช่นนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจสั่งอายัดเงินกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์จากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระตามคำพิพากษาศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 282 จึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดี คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 58 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจถอนอุทธรณ์และการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดหลังมีคำพิพากษา
ป. ผู้จัดการคนเดิมของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และเป็นผู้ลงลายมือชื่อแต่งทนายความไว้ แต่เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาเป็น ภ. แล้ว ภ. ย่อมมีอำนาจถอนอุทธรณ์และถอนทนายความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีล้มละลาย และสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน
ลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งตั้งแต่งวดแรกวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมได้นับแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 จึงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้แล้ว ทั้งการที่เจ้าหนี้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี และลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาลดยอดหนี้เพื่อขอไถ่ถอนจำนองนั้น ก็มิใช่เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีหรือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ (5) ดังนั้น มูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงขาดอายุความและถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 (1)
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพยสิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพยสิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขสัญญาประนีประนอมตามยอมได้หากเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ไม่กระทบคำพิพากษาเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา จึงอยู่ในบังคับที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงในสัญญาดังกล่าวได้ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ทั้งนี้จะต้องไม่เป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับเลขที่อาคารที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดคลาดเคลื่อน เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้ไขคำฟ้อง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุเลขที่อาคารคลาดเคลื่อนไปด้วย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตา 143 และมิใช่เป็นเรื่องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความให้นอกเหนือไปจากที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกัน ทั้งมิใช่เป็นการกลับหรือแก้คำพิพากษาตามยอมเดิม ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 143 วรรคสอง
คำฟ้องของโจทก์บรรยายเกี่ยวกับเลขที่อาคารที่โจทก์ซื้อจากการขายทอดตลาดคลาดเคลื่อน เป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้โจทก์จะมิได้ขอแก้ไขคำฟ้อง และโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุเลขที่อาคารคลาดเคลื่อนไปด้วย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ เมื่อมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอแก้ไขข้อผิดพลาดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตา 143 และมิใช่เป็นเรื่องการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความให้นอกเหนือไปจากที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงกัน ทั้งมิใช่เป็นการกลับหรือแก้คำพิพากษาตามยอมเดิม ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 143 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อเท็จจริง, อุทธรณ์ไม่สำเร็จ, คดีถึงที่สุดเมื่อไม่วางเงินตามคำพิพากษา
จำเลยยื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาเพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 แต่จำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดเวลาศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คดีย่อมถึงที่สุดไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้คำพิพากษาเป็นโมฆะได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10078/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แม้คำพิพากษาไม่ได้ระบุชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และโจทก์ประสงค์บังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้อง อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายสารบัญญัติ และเป็นคดีมีข้อพิพาท ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีเข้าสู่ศาล ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติในการที่จะวินิจฉัยและพิพากษาคดี โดยหากวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมายสารบัญญัติ ก็ย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์ตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยทั้งห้าในทางแพ่ง สำหรับคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ รวมทั้งให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินตามฟ้องในฐานะเจ้าหนี้จำนองผู้ทรงทรัพยสิทธิจำนองเหนือที่ดินตามฟ้องตามกฎหมายสารบัญญัติด้วย ความรับผิดดังกล่าวของจำเลยทั้งห้าก็คือ หนี้ตามคำพิพากษา หากจำเลยทั้งห้าในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ย่อมมีสิทธิบังคับคดี และในกรณีหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้เงิน การบังคับคดีย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มาตรา 278 และมาตรา 282 คือการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้าหรือบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องของจำเลยทั้งห้า เพื่อนำออกขายทอดตลาดและนำเงินที่ได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ อันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์โดยสืบเนื่องจากผลแห่งคำพิพากษา และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องระบุสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้าไว้ในคำพิพากษาด้วย ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามฟ้อง และโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งห้า การที่คำพิพากษามิได้ระบุให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดอันเป็นขั้นตอนในการบังคับคดี จึงหาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องและอุทธรณ์ฎีกาในเหตุดังกล่าวโดยตรงขึ้นมายังศาลสูง ก็ชอบที่ศาลจะต้องกล่าวในคำพิพากษาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่คู่ความและเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติให้บรรลุผลตามคำพิพากษาในเนื้อหาคดี ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาให้ครบถ้วนตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องและอุทธรณ์ฎีกาในเหตุดังกล่าวโดยตรงขึ้นมายังศาลสูง ก็ชอบที่ศาลจะต้องกล่าวในคำพิพากษาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่คู่ความและเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติให้บรรลุผลตามคำพิพากษาในเนื้อหาคดี ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำพิพากษาให้ครบถ้วนตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำพิพากษา
การที่จำเลยยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ไม่ และแม้ว่าจำเลยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนมาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์โดยไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ให้ครบถ้วน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการบังคับและการขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เกี่ยวกับเรื่องการขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายตามเงื่อนไขที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเรื่องต่อเนื่องกับการทุเลาการบังคับ ซึ่งเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นั้นต่อมา และถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชั้นขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายดังกล่าวเป็นที่สุดแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ฎีกาชั้นนี้ว่า การออกคำบังคับของศาลชั้นต้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหาย และกำหนดระยะเวลาให้จำเลยนำเงินประกันความเสียหายตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 มาวางต่อศาลชั้นต้นใหม่ เพราะไม่ว่าศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอย่างไรก็ไม่อาจกระทบถึงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งเป็นที่สุดแล้วดังกล่าวได้