พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9061/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขเลขโฉนดในคำพิพากษา: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขรายละเอียดเลขที่โฉนดให้ถูกต้อง แม้ในชั้นบังคับคดี หากไม่กระทบผลคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับเลขโฉนดที่ดิน เมื่อตามสำเนาหนังสือมอบอำนาจ สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาโฉนดที่ดินและสำเนาหนังสือของสำนักงานที่ดินจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นเอกสารท้ายฟ้องระบุชัดเจนว่า ที่ดินของโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 82489 หาใช่ที่ดินโฉนดเลขที่ 82498 ดังที่โจทก์กล่าวฟ้องและในคำขอท้ายฟ้อง การที่โจทก์ขอแก้ไขคำพิพากษาในส่วนเลขโฉนดจากเลขที่ 82498 เป็นเลขที่ 82489 จึงเป็นการขอแก้ไขในรายละเอียดให้ชัดเจนถูกต้องตรงกับความเป็นจริง แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดีก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับโอนที่ดินตามคำพิพากษาเหนือกว่าการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้รายอื่น
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิโอนที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ยึดมาแล้วต้องนำออกขายทอดตลาด หากมีผู้ซื้อได้ก็ต้องมีการโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ จึงมิใช่เพียงแต่ยึดไว้เท่านั้น การที่ศาลในคดีอื่นได้พิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ที่ดินพิพาทจะต้องตกเป็นของผู้ร้องเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะให้ที่ดินพิพาทหลุดมือจากผู้ร้องตกไปเป็นของผู้อื่น จึงถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้โจทก์จะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง แต่ศาลก็ไม่อาจปล่อยให้มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ เพราะผู้ที่ซื้อได้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับโอนเนื่องจากผู้ร้องเท่านั้นที่มีสิทธิจะได้รับโอน ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ก็มีบทบัญญัติไม่ให้การยึดทรัพย์มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งได้นั้น หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ที่จะมาขอเฉลี่ยต้องเป็นผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ร้องได้สิทธิโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่แล้วจึงไม่มีกรณีที่จะต้องมาขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดที่ดินเพื่อบังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งได้นั้น หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ที่จะมาขอเฉลี่ยต้องเป็นผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ร้องได้สิทธิโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่แล้วจึงไม่มีกรณีที่จะต้องมาขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดที่ดินเพื่อบังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749-8750/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษา ศาลมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้คดีนี้จำเลยที่ 1 จะเพียงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เป็นเนื้อหาสาระในคำฟ้องของโจทก์ แต่เป็นการที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ซึ่งอาจมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้หากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ซึ่งบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และกรณีมิใช่เรื่องที่ต้องพิจารณาว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่เพราะค่าขึ้นศาลซึ่งต้องเสียในเวลายื่นอุทธรณ์ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ต้องนำมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นคนละส่วนกัน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มาวางศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวถือเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติก่อน แม้ศาลชั้นต้นจะให้โอกาสจำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามจนระยะเวลาล่วงเลยไปแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์
จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มาวางศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวถือเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิใช่เป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่ชั้นสืบพยานโจทก์ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัวนั่นเอง ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติก่อน แม้ศาลชั้นต้นจะให้โอกาสจำเลยที่ 2 และที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามจนระยะเวลาล่วงเลยไปแล้วจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย, และการบังคับใช้ตามคำพิพากษาในคดีแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินประกัน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย หรือค่าชดเชยพิเศษ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน นอกเหนือจากที่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดที่กำหนดให้ต้องเสียร้อยละสิบห้าต่อปีอีกด้วย เมื่อค่าจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยไม่ได้จ่ายแก่โจทก์ยังมีข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องจ่ายให้โจทก์หรือไม่ และจะนำไปหักกลบลบหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้หรือไม่ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นนายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเจ็ดวันแต่อย่างใด
การอุทธรณ์ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ซึ่งจำเลยจะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดีและวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พ.รบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ในคำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย" ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น
การอุทธรณ์ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ซึ่งจำเลยจะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดีและวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พ.รบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ในคำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย" ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุคัดค้านคำพิพากษาชัดเจน มิใช่เพียงกล่าวอ้างว่าเสียเปรียบ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนโดยเห็นว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าผู้รับมอบฉันทะของทนายจำเลยจดวัดนัดผิดพลาดฟังไม่ขึ้น ทั้งคำร้องของจำเลยมิได้แสดงข้อคัดค้านโดยชัดแจ้งซึ่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 207 ให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยเพียงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าไต่สวนโดยไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีโดยขาดนัดพิจารณา จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากจำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าสืบหลังจากโจทก์สืบพยานเสร็จแล้วย่อมมีผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป มิได้กล่าวว่าจำเลยมีพยานหลักฐานอย่างใดที่จะนำมาหักพยานโจทก์อันจะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ จึงเป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบมาตรา 207 ถือว่าเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากจำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าสืบหลังจากโจทก์สืบพยานเสร็จแล้วย่อมมีผลให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป มิได้กล่าวว่าจำเลยมีพยานหลักฐานอย่างใดที่จะนำมาหักพยานโจทก์อันจะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ จึงเป็นคำร้องที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวบกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบมาตรา 207 ถือว่าเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 832/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาล ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา แม้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ใช้บังคับแก่การอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งในทุกกรณี หาได้ใช้บังคับเฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเท่านั้นไม่ แม้เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา ผู้อุทธรณ์ก็อยู่ในบังคับต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์เช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ของคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีซึ่งเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและทำการสืบพยานจำเลยทั้งสามต่อไป การอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตรง จำเลยที่ 3 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 มา ก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ย่อมจะต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 ทั้งหมด
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ย่อมจะต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 3 ทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับคำร้องตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้" ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 วรรคสอง มีความหมายว่า หากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 307 วรรคหนึ่งแล้ว คำสั่งใด ๆ ที่เกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งศาลตามมาตรานี้" ทั้งสิ้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ อ้างว่าจำเลยที่ 2 ป่วย จึงเป็นคำร้องตามมาตรา 307 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 307 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีอุทธรณ์คำสั่งศาลที่มิได้กระทบคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่นๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดีแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา และมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องและรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลย ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดีเท่านั้น ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ก็ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดีแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา และมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องและรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ ภาค 1 เห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลย ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดีเท่านั้น ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ก็ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่: คำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อใด? ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าวันที่ทนายโจทก์ทราบคำพิพากษาจริงคือวันที่มีการลงลายมือชื่อรับทราบ
ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธินำคดีที่ศาลไม่รับหรือคืนหรือยกฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลไปฟ้องใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด ย่อมหมายถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านให้คู่ความฟังแล้ว เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2547 ซึ่งไม่ใช่วันนัดพิจารณาหรือนัดฟังคำพิพากษา ต่อมาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 อันเป็นวันที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและลงลายมือชื่อทราบคำพิพากษา กรณีถือว่าทนายโจทก์เพิ่งทราบคำพิพากษาในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลชั้นต้นในคดีนี้วันที่ 4 เมษายน 2548 ซึ่งอยู่ในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ, การส่งสำนวนให้ศาลรัฐธรรมนูญ, และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดที่ศาลชั้นต้นได้ออกให้แก่โจทก์นั้นล้วนเป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นได้สั่งหลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว คำสั่งทั้งสองประการดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อีกทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งทั้งสองดังกล่าวได้
กรณีที่ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนั้น จะต้องเป็นเรื่องของข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ผู้พิพากษาบางคนที่ลงชื่อเป็นองค์คณะในคำพิพากษามิใช่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องว่ากล่าวโต้แย้งโดยการยื่นอุทธรณ์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาจึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีถึงที่สุด ไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
กรณีที่ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนั้น จะต้องเป็นเรื่องของข้อโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่กรณีตามคำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ผู้พิพากษาบางคนที่ลงชื่อเป็นองค์คณะในคำพิพากษามิใช่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาซึ่งจำเลยจะต้องว่ากล่าวโต้แย้งโดยการยื่นอุทธรณ์ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาจึงชอบแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แต่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีถึงที่สุด ไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด