คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อุทธรณ์เหตุแก้ข้อกฎหมายใหม่ การบังคับคดีล้มละลายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการบังคับคดี การรวบรวม หรือการจำหน่ายทรัพย์สินตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาดไว้ชั่งคราวจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติ มาตรา 8 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 63/2548 แล้วว่า บทบัญญัติมาตรา 8 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 แล้ว การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาโดยอ้างเหตุผลในข้อกฎหมายขึ้นมาใหม่ว่า ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยทั้งสิบกระทำความผิดต่อ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ขอให้มีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการบังคับคดี การรวบรวม หรือการจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบไว้จนกว่าคดีหลักจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น ข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าลีสซิ่งไม่ใช่เช่าซื้อ, การพิพากษาล้มละลาย, หนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่งที่โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ายังไม่ตกเป็นของผู้เช่าจนกว่าจะแสดงเจตนารับคำมั่นของผู้ให้เช่าจนเกิดเป็นสัญญาซื้อขาย เงินค่าเช่าก็ไม่อาจถือว่ารวมค่าแห่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าไว้ด้วย และผู้เช่าไม่อาจบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดการเช่าได้ เมื่อสัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งดังกล่าวมิใช่สัญญาเช่าซื้อ การที่ศาลล้มละลายกลางนำบทบัญญัติมาตรา 574 แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 เช่าซื้อ มาปรับใช้แก่มูลหนี้ตามฟ้องแล้ววินิจฉัยว่ามูลหนี้ตามฟ้องยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และพิพากษายกฟ้องนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่าตั้งแต่งวดที่ 3 ถึง 19 และยังคงค้างชำระค่าเช่ารวม 6,881,401.90 บาท ดังนี้ แม้มูลหนี้ดังกล่าวจะยังมิได้คำนวณเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยที่ 1 ก็เป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและไม่จำกัดจำนวนต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวต่อโจทก์ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามสัญญาที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าแบบลีสซิ่งไม่ใช่เช่าซื้อ ศาลล้มละลายพิพากษาล้มละลายได้เมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่งที่โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเมื่อมีคำสั่งรับอุทธรณ์คดีล้มละลาย และการจำหน่ายคดีซ้ำซ้อน
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาคดีย่อมอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาที่จะทำคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว คำสั่งของศาลล้มละลายกลางจึงไม่ชอบให้เพิกถอนคำสั่งของศาลล้มละลายกลางดังกล่าว
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 3940/2549 ซึ่งศาลล้มละลายกลางในคดีดังกล่าวมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีนี้ กรณีต้องจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอให้ศาลจำหน่ายชื่อออกจากบัญชีลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องรอหนังสือยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่บุคคลซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อของตนออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้มีหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนแล้วมีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้ไปยังบุคคลนั้นอีกครั้งก่อนด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องมีหนังสือปฏิเสธตามหนังสือทวงหนี้ของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านมิได้มีหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องเนื่องจากผู้คัดค้านได้นำสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีต่อผู้ร้องออกประมูลขายโดยวิธีอื่นไปแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา 123 ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้
ที่ผู้ร้องฎีกาขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 และขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ทวงถามหนี้มายังผู้ร้องนั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลาย: ต้องรอการแจ้งยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน จึงจะสามารถร้องต่อศาลได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่บุคคลซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อของตนออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้มีหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนแล้วมีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้ไปยังบุคคลนั้นอีกครั้งหนึ่งก่อนด้วย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้มีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้แล้ว สิทธิที่จะร้องขอต่อศาลก็ยังไม่อาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2111/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้บางส่วนและการปลดหนี้ลูกหนี้ร่วมในคดีล้มละลาย สิทธิการขอรับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน
เจ้าหนี้และลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 โดยยอมรับผิดต่อบริษัท ท. อย่างลูกหนี้ร่วม เจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ 2 จึงเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 682 วรรคสอง ประกอบมาตรา 229, 296 การที่บริษัท ท. ยอมรับการชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ 2 และปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 ในคดีแพ่ง ก็คงเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ปลดหนี้ไปเท่านั้น ส่วนลูกหนี้ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อบริษัท ท. อีกต่อไป เพราะหนี้ส่วนที่เหลือสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ระงับไปแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 ดังนั้น หากต่อมาเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท. ไปเพียงใดก็ไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ที่ 2 ได้อีกต่อไป และมิใช่กรณีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกันลูกหนี้ที่ 2 มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายสำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์กรณียึดทรัพย์บุคคลภายนอกในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องรับผิดจากความประมาท
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการรวบรวม จัดการ และจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) หาได้รวมถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่มิได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ด้วยไม่ การที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้ผู้คัดค้านยึดโรงงานพิพาทที่มิใช่ของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 และมีบุคคลภายนอกร้องคัดค้านการยึดจนในที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ปล่อยโรงงานพิพาทคืนแก่บุคคลภายนอก เช่นนี้ ตามพฤติการณ์และวิสัยของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมจะต้องรู้อยู่แล้วว่าโรงงานพิพาทมิใช่เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นความสำศัญผิดของผู้ร้องก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ร้อง ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อไม่มีพฤติการณ์ใดแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมเข้าใจว่าสิ่งปลูกสร้างซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดินแปลงนั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าการยึดโรงงานพิพาทบนที่ดินจำนองหลักประกันของผู้ร้องเป็นความผิดของผู้คัดค้านผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขอให้ผู้คัดค้านยึดโรงงานพิพาทเพื่อประโยชน์ของผู้ร้องฝ่ายเดียวจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน, ดอกเบี้ย, และการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ศาลฎีกาแก้ไขดอกเบี้ยเป็นตามที่ตกลงกัน
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ในข้อ (4) คือ การรับ ออก โอนและสลักหลังตั๋วเงินหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้อย่างอื่น และตามข้อ (35) ประกอบธุรกิจบริการรับค้ำประกันหนี้สิน ความรับผิด และการปฏิบัติตามสัญญาของบุคคลอื่น การที่จำเลยรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นการค้ำประกันอย่างหนึ่ง จึงเป็นการกระทำตามวัตถุประสงค์ของจำเลย
การออกตั๋วสัญญาใช้เงินและผู้ออกคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี เป็นการตกลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายมิได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน จึงมิใช่การให้กู้ยืมเงินตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 การที่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ก็มิใช่กรณีเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 ตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงไม่เป็นโมฆะ
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ลูกหนี้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
บริษัท ป. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ เมื่อถึงกำหนดใช้เงินปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับชำระเงิน ต่อมาบริษัท ป. ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ การที่โจทก์นำตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติไว้ โจกท์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องให้แก่ผู้ใด โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินได้
ในคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ลูกหนี้โจทก์ระบุอัตราดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้ไว้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยในบัญชีแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ระบุในช่องหมายเหตุว่า ลูกหนี้มิได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ให้เมื่อครบกำหนด แต่ได้มีการตกลงทางวาจาว่า อัตราดอกเบี้ยใหม่จะเป็นร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นจำเลยผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจะต้องร่วมรับผิดกับบริษัท ป. ผู้ออกตั๋วแก่โจทก์ จึงต้องรับผิดในต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกในคดีล้มละลายหลังลูกหนี้ถึงแก่ความตาย การตั้งผู้แทนลูกหนี้ที่ตาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 87 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หรือเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้วก็ดี กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายยังคงต้องดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 ว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตายมาใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 6 คำว่า "กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย" หมายความรวมถึง กระบวนพิจารณาไม่ว่าจะกระทำต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงคดีสิ้นสุด คดีนี้จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อศาลได้พิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังคงมีอำนาจเก็บรวบรวมจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไปจนกว่าคดีสิ้นสุดตามมาตรา 22 (1) (2) และกรณีถือเป็นเหตุให้ต้องมีการจัดการทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย โดยจะต้องมีทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์เข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย ต่อไป เมื่อผู้ร้องแถลงยอมรับแล้วว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ตาย จึงเป็นทายาทโดยธรรมของจำเลยที่ 2 สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ย่อมตกทอดแก่ผู้ร้องแต่ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดก แม้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้แทนจำเลยที่ 2 ผู้ตาย เกินกว่า 1 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย ศาลก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาตั้งผู้ร้องเป็นผู้ร้องเป็นผู้แทนลูกหนี้ที่ตายเพื่อที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้
of 192