คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช็ค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,865 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายเครื่องจักรต่างประเทศ, เช็คไม่สามารถเรียกเก็บได้, การชำระหนี้ด้วยการหักเงิน, อายุความ
การที่โจทก์ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา และโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระราคาเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตามมาตรา 193/34 (1)
โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม สินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเองโดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยกรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตามมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งสั่งซื้อเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ครบกำหนดระยะเวลาชำระที่โจทก์ขยายให้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2540 เมื่อจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2540 หนี้ค่าสินค้าครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ครบกำหนดชำระในวันที่ 5 และวันที่ 22 กรกฎาคม 2540 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 6 และวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2545 หนี้ค่าสินค้าดังกล่าวทั้งหมดจึงยังไม่ขาดอายุความ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, อำนาจฟ้อง, เช็ค, การชำระหนี้, และการบังคับตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม... เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ...เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง..." และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1)...(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" ดังนั้น การที่โจทก์ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมเครื่องมือช่างทองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา และโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมสินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเอง โดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสามบัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ส่งมอบแก่โจทก์ แล้วโจทก์ไม่นำไปเรียกเก็บเงิน ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์หรือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในต่างประเทศ จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คในอันที่จะใช้เงินแก่โจทก์ผู้ทรงเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 วรรคหนึ่ง แต่การชำระหนี้ด้วยการออกเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงิน หนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำเช็ค 3 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค หนี้ค่าสินค้าที่มีอยู่เดิมก็ไม่ระงับ แม้โจทก์เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายละเลยไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเองก็ตาม อย่างไรก็ดี สำหรับจำนวนเงินค่าสินค้าครั้งหลังสุดจำนวน 1,219 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อจำเลยได้ชำระแล้วโดยหักจากเงินที่จำเลยสำรองจ่ายให้ ฟ. ตัวแทนของโจทก์บางส่วนและที่ ฟ. ให้จำเลยจ่ายค่าโรงแรมไปเป็นเงินรวม 99,177.05 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนนี้ด้วยการชำระหนี้อย่างอื่นแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้ ผู้ทรงเช็คโดยชอบ การโอนเช็คสู่โจทก์ จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาท จะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
ข้อที่จำเลยนำสืบเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการรับฟังที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่ ท. นั้นเพื่อชำระหนี้เงินยืม ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองตามที่เห็นสมควรเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คจากจำเลยเพื่อชำระหนี้นั้นได้ การที่ ท. ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทภายหลัง ถือได้ว่า ท. เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายกระทำการโดยสุจริต จดวันสั่งจ่ายที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง กรณีหาเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คโดยไม่สุจริตดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไม่
จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อ ท. ผู้ทรงคนก่อน การที่ ท. ผู้ทรงคนก่อนโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์ เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ การโอนเช็คพิพาททำได้เพียงด้วยการส่งมอบให้กัน โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ เมื่อจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทไม่มีข้อต่อสู้ที่เกี่ยวกับ ท. ผู้ทรงคนก่อนที่จะใช้เป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรง จำเลยจะอ้างว่าโจทก์และ ท. ผู้ทรงคนก่อนไม่มีหนี้สินผูกพันกันในการรับโอนเช็คพิพาทมาหาได้ไม่ จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 918, 989 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์โดยอัยการและการพิจารณาโทษคดีเช็ค การแก้ไขโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ บัญญัติว่า "ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 22 ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา... หรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป" โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับแนบหนังสือรับรองของอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 และหนังสือมอบหมายของอัยการสูงสุดให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงมีอำนาจรับรองอุทธรณ์แทนมาท้ายอุทธรณ์ และในตอนท้ายของอุทธรณ์มีข้อความระบุไว้ด้วยว่า คดีนี้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยได้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์แล้ว ตามหนังสือแนบท้ายอุทธรณ์นี้ แม้ในตอนท้ายของอุทธรณ์ดังกล่าวจะมิได้ระบุว่าให้ถือว่าหนังสือรับรองเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์ดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ดังกล่าวก็ย่อมถือได้แล้วว่าหนังสือรับรองแนบท้ายอุทธรณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์และอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ได้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ตามความประสงค์ของกฎหมายแล้ว ทั้งมาตรา 22 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ก็มิได้บัญญัติว่าการรับรองอุทธรณ์จะต้องระบุวันเดือนปีที่ทำการรับรองและต้องมีรายละเอียดของเหตุผลที่สมควรให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีดังกล่าวแต่ประการใด ดังนั้น เมื่อข้อความในหนังสือรับรองแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารูปคดีนี้มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย จึงรับรองอุทธรณ์คดีนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อชำระหนี้การพนันสลากกินรวบ ไม่ก่อให้เกิดหนี้ตามกฎหมาย
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้การพนันสลากกินรวบ จึงไม่ก่อให้เกิดหนี้อันจะเรียกร้องกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 853, 854 จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าขึ้นศาลค้างจ่าย: ผู้รับสิทธิต้องเรียกรับเงินหรือนำเช็คไปขึ้นเงินภายใน 5 ปี มิฉะนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
ป.วิ.พ. มาตรา 323 บัญญัติว่า "บรรดาเงินต่างๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน" เมื่อพิจารณาคำว่า "เรียกเอา" ประกอบกับคำว่า "บรรดาเงินต่างๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาล" แล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้มีสิทธิรับเงินจะต้องเรียกเอาเงินหรือขอรับเงินที่ตนมีสิทธิจะได้รับจากศาลและต้องมารับเงินตามที่เรียกหรือขอด้วย หรือในกรณีที่ศาลออกเช็คแทนการจ่ายเป็นเงินสดผู้มีสิทธิรับเงินก็ต้องนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารหากผู้มีสิทธิรับเงินเพียงแต่แถลงขอรับเงินจากศาลแต่ไม่มารับเงินตามที่ขอ หรือมิได้นำเช็คที่ศาลออกให้ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร เงินที่ศาลจะต้องจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าวจะยังคงอยู่ที่ศาลและถือเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาลตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนฟ้องพร้อมกับยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลสั่งคืนเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2542 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในวันเดียวกันและสั่งคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 57,100 บาท โดยศาลชั้นต้นได้คืนเงินค่าขึ้นศาลให้โจทก์เป็นเช็ค แต่โจทก์มิได้มารับเช็คภายใน 1 ปี ศาลชั้นต้นจึงยกเลิกเช็คดังกล่าว เงินค่าขึ้นศาลสั่งคืนจึงเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลสั่งคืนแต่มิได้มารับเช็คค่าขึ้นศาลที่ศาลออกให้ไปเรียกเก็บเงินจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวแล้ว และการที่ศาลชั้นต้นออกเช็คค่าขึ้นศาลให้โจทก์ก็ไม่มีผลทำให้เงินค่าขึ้นศาลสิ้นสภาพจากการเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ในศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่ถือเป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที แต่กลับมีเงื่อนไขให้จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วมจนครบถ้วนเสียก่อน โจทก์ร่วมจึงจะถอนคำร้องทุกข์ให้ แสดงว่าในระหว่างนั้นโจทก์ร่วมยังติดใจที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยอยู่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยดังกล่าวหามีผลเป็นการยอมความอันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1169/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามเช็ค: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินคำฟ้องและฐานความรับผิดของผู้ลงลายมือชื่อเช็ค
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดตามเช็คพิพาท โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 นำข้อเท็จจริงตามบันทึกที่ระบุว่าในกรณีที่เช็คถึงกำหนดชำระแล้วไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอยอมรับผิดชอบค่าเสียหายต่อผู้ทรงเช็คในฐานะส่วนตัวมาพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดตามเช็คพิพาทกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10302/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับคดีอาญาเช็ค; หนี้สิ้นผลผูกพันก่อนมีคำพิพากษา
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้ โจทก์ได้เคยฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินตามคดีแพ่งของศาลจังหวัดราชบุรี ต่อมาโจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลจังหวัดราชบุรีพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาทเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า โจทก์และจำเลยยังมิได้มีเจตนาที่จะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยจะชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์แล้ว และไม่มีข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความแสดงให้เห็นว่าโจทก์จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย คงเป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยจะชดใช้ให้แก่โจทก์อันเป็นสิทธิทางแพ่งที่โจทก์สามารถเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้อีกทางหนึ่งเท่านั้น จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) นั้น เป็นคนละเรื่องคนละกรณีกันกับคดีอาญาเลิกกันตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 เพราะคดีในส่วนอาญาจะเลิกกันตาม พ.ร.บ.และมาตราดังกล่าวนั้น เป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งดังกล่าว และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้วผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 852 ซึ่งเป็นกรณีที่มูลหนี้ที่จำเลยคดีนี้ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา คดีในส่วนอาญาจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 ซึ่งมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป อันเป็นอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในชั้นฎีกาและการสละปัญหาข้อกฎหมาย ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีเช็ค
จำเลยยื่นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การจากที่ให้การปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเสียเองเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา และถือว่าจำเลยสละปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว
of 187