พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,003 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14933/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริตหลังมีสัญญาซื้อขายแล้ว ย่อมใช้สิทธิยันผู้ซื้อรายอื่นไม่ได้
การที่โจทก์ทราบดีว่า พ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยแล้ว แต่โจทก์ยังจดทะเบียนรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 รวมทั้งที่ดินพิพาทจาก พ. โดยเสน่หาซึ่งเป็นเวลาภายหลังจาก พ. ทำหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยแล้ว จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต แม้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำมาใช้ยันจำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13764/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ การเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทกับจำเลยแล้วเข้าไปซ่อมแซมปรับปรุงตึกแถวพิพาท โดยต่อเติมบริเวณด้านหลังซึ่งเป็นทางเดิน สร้างผนังปิดทางเดิน สร้างเพิ่มเติมพื้นชั้นลอย เพิ่มความสูงของอาคารเป็น 4 ชั้น ก่อสร้างโครงหลังคาเหล็กต่อจากชั้นที่ 4 ขึ้นไป จึงเชื่อได้ว่าในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทนั้น จำเลยไม่ได้บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 2 ทราบว่ามีพื้นชั้นลอยด้านหลังที่จำเลยยังไม่ได้รื้อถอนให้แล้วเสร็จตามคำสั่งของสำนักงานเขตจอมทอง ซึ่งหากจำเลยได้บอกกล่าวให้โจทก์ที่ 2 ทราบข้อเท็จจริงนี้แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์ที่ 2 จะกล้าเสี่ยงต่อเติมอาคารหลายรายการและเสียค่าใช้จ่ายมากมายโดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากจำเลยโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 แม้โจทก์ที่ 2 ไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรม แต่การฟ้องคดีนี้มีผลเท่ากับเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นแล้ว สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 176 วรรคหนึ่ง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายไม่อาจอาศัยสัญญาจะซื้อจะขายมาเป็นข้ออ้างเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ต่อกันได้ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 เพียงคืนเงินค่าที่ดินและตึกแถวพิพาทพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากจำเลยได้อีก
คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 มิได้กล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดฐานละเมิด ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในกรณีละเมิดได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 มิได้กล่าวอ้างหรือตั้งประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดฐานละเมิด ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในกรณีละเมิดได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13658/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาซื้อขายและการลดจำนวนเบี้ยปรับเมื่อผู้ขายผิดสัญญา
โจทก์ให้หลักประกันเพื่อให้จำเลยที่ 2 เชื่อได้ว่าโจทก์จะปฏิบัติตามสัญญา หากโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจำเลยที่ 2 จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการฟ้องขับไล่ผู้เช่าและผู้อาศัยที่ไม่ยอมย้ายออกจากทรัพย์สินที่ซื้อขายด้วยเงินที่ยึดถือไว้เป็นประกัน อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับที่ต้องคืนให้แก่โจทก์ด้วยนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงหามีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากเบี้ยปรับที่ได้รับคืนไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 2 ต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับที่ต้องคืนให้แก่โจทก์ด้วยนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12163/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายน้ำมันราคาคงที่ ความรับผิดในสัญญา และการคำนวณค่าเสียหายจากส่วนต่างราคา
โจทก์กับจำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายราคาคงที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมน้ำมันเตาจำนวน 6,030,000 ลิตร ภายในช่วงเวลาที่กำหนด วันเดียวกัน โจทก์ทำสัญญาสั่งซื้อน้ำมันชนิดดังกล่าวจากบริษัท ช. เพื่อสำรองส่งมอบให้จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โดยทำเป็นสัญญาซื้อขายเพื่อความแตกต่างซึ่งเป็นประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน หลังจากจำเลยทำสัญญากับโจทก์แล้ว จำเลยซื้อน้ำมันจากโจทก์ไม่ครบจำนวนตามสัญญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามสัญญาซื้อขายราคาคงที่ฯ ข้อ 4.1 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่อาจสั่งซื้อสินค้าได้ครบตาม ข้อ 1.4 ของสัญญานี้...ผู้ขายมีสิทธิเลือกที่จะปรับผู้ซื้อตามข้อ 4.3 และสัญญาดังกล่าว ข้อ 4.3 ระบุว่า ค่าเสียหายจะเท่ากับค่าปรับดังต่อไปนี้ของจำนวนสินค้าที่ผู้ซื้อยังซื้อไม่ครบ (แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า) 4.3.1 ร้อยละ 10 (สิบ) ของจำนวนราคาสินค้าที่ผู้ซื้อยังซื้อไม่ครบตามสัญญาข้อ 1.4 ของสัญญานี้ 4.3.2 หรือเท่ากับมูลค่าที่แตกต่างระหว่างราคาสินค้าตามสัญญากับราคาเฉลี่ยของสินค้าของผู้ค้ารายอื่น ๆ ภายในประเทศที่ต่ำกว่าในประเภทสินค้าเดียวกันอย่างน้อย 2 ราย และเอกสารแนบท้าย ก. ข้อ 7 ระบุว่า ในกรณีที่ไม่สามารถรับสินค้าปริมาณการสั่งซื้อนั้นไว้ได้...ผู้ซื้อจะถูกปรับ (และอาจถูกปรับสูงขึ้น) โดยจะต้องชำระราคาเพิ่มอีก 10% จากราคาตามข้อ 5 หรือชำระมูลค่าที่แตกต่างระหว่างราคาสินค้าที่ตกลงกันตามข้อ 5 กับราคาตลาด (เฉพาะกรณีที่ราคานั้นต่ำกว่าราคาตามข้อ 5) ของผู้ค้าน้ำมันหลักรายอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ราย คูณจำนวนที่ยังสั่งซื้อไม่ครบ เมื่อพิจารณาประกอบกับใบกำกับสินค้า (Invoice) หรือใบแจ้งหนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าค่าเสียหาย คือ ส่วนต่างระหว่างราคาคงที่ตามสัญญากับราคาน้ำมันในตลาดขณะนั้นซึ่งต่ำกว่า เมื่อโจทก์จ่ายค่าเสียหายนี้ให้แก่บริษัท ช. ตามสัญญาเพื่อความแตกต่างที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ได้ตามสัญญาซื้อขายราคาคงที่ฯ ข้อ 4.3.2 แม้โจทก์จะไม่ได้คิดคำนวณค่าเสียหายจากมูลค่าที่แตกต่างระหว่างราคาสินค้าตามสัญญากับราคาเฉลี่ยของสินค้าของผู้ค้ารายอื่น ๆ ภายในประเทศที่ต่ำกว่าในประเภทสินค้าเดียวกันอย่างน้อย 2 ราย ตามข้อสัญญา ก็ตาม แต่การคิดค่าเสียหายตามที่โจทก์เรียกร้องไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพราะค่าเสียหายที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท ช. เป็นผู้ค้ารายใหญ่ ต้นทุนการดำเนินการย่อมต่ำกว่าผู้ค้ารายย่อยอื่น ๆ ในประเทศอยู่แล้ว โจทก์นำสืบค่าเสียหายว่าต้องจ่ายเงินที่เป็นส่วนต่างของราคาน้ำมันให้แก่บริษัท ช. เป็นเงิน 42,587,757 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ และเนื่องจากเป็นหนี้เงิน จึงให้จำเลยชำระดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11695/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนที่ดินส่วนที่ส่งมอบเกินกว่าที่ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขาย
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยหรือมากไปกว่าที่กำหนดในสัญญานั้น ป.พ.พ. มาตรา 466 วรรคหนึ่ง วางหลักไว้ว่า ผู้ซื้อจะปัดเสีย หรือจะรับไว้ และใช้ราคาตามส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก โดยมีมาตรา 467 บัญญัติต่อไปว่า "ในข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบ" แสดงว่านอกจากกฎหมายให้สิทธิผู้ซื้อที่จะฟ้องผู้ขายให้รับผิดในทรัพย์สินส่วนที่ส่งมอบขาดได้แล้ว ยังให้สิทธิแก่ผู้ขายที่จะฟ้องเรียกทรัพย์สินส่วนที่ส่งมอบล้ำจำนวนไปคืนจากผู้ซื้อได้ด้วย ซึ่งทั้งสองกรณี ไม่ว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายจะเป็นผู้ฟ้อง ต้องฟ้องเสียภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบ คดีนี้โจทก์ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายแก่จำเลยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2527 หากเนื้อที่ดินที่ส่งมอบล้ำจำนวนไปจากที่ระบุในสัญญา โจทก์ก็ต้องฟ้องให้จำเลยรับผิดคืนส่วนที่ล้ำจำนวนไปเสียภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบคือต้องฟ้องภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2528 ดังนั้น การที่โจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องในปี 2555 จึงเป็นการฟ้องที่เกินกำหนดอายุความตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11692/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า: การกำหนดค่าปรับที่เหมาะสมและความเสียหายที่แท้จริง
หนังสือรับรองข้อความที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ออกโดยนายทะเบียนการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ถือเป็นเอกสารมหาชน ดังนั้น สำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวที่ทนายโจทก์รับรองความถูกต้อง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้และถูกต้อง เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่าหนังสือรับรองข้อความมีข้อความไม่ถูกต้องอย่างไร ย่อมต้องฟังว่าเป็นหนังสือรับรองที่แท้จริงและถูกต้อง ข้อความในหนังสือที่รับรองว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียน ณ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือย่อมรับฟังได้
โจทก์อ้างสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานเอกสารโดยจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้านการนำเอกสารมาสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานโดยไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ เมื่อศาลมิได้รับฟังต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานหลักฐาน ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ ปิดอากรแสตมป์แล้วไม่ได้ขีดฆ่าหรือไม่ ย่อมไม่มีผลให้การรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานเปลี่ยนแปลงไป
แม้เอกสารท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แต่เอกสารท้ายฟ้องส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นการรับรองการมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในต่างประเทศโดยโนตารีปับลิกแห่งกรุงลอนดอน ซึ่งคำฟ้องโจทก์บรรยายเป็นภาษาไทยไว้ชัดเจนว่า โจทก์ได้แต่งตั้งและมอบอำนาจให้ ว. กระทำการแทนโจทก์รวมทั้งมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วว่าการมอบอำนาจไม่ว่าการมอบอำนาจภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร มิได้กระทำโดยผู้มีอำนาจ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจปลอมและตราประทับไม่ใช่ตราประทับที่แท้จริง การที่ไม่มีคำแปลหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นภาษาไทย ก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญากันว่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต จำเลยที่ 1 ตกลงสั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์ตามราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา และโจทก์ก็ตกลงจะขายให้จำเลยที่ 1 ในราคาดังกล่าว เมื่อถึงช่วงเวลาตามสัญญาคู่สัญญาก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงต่อกัน ฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการพนันขันต่อ จึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ
ค่าปรับคือ ค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้า กำหนดให้ฝ่ายที่ปฏิบัติผิดสัญญาต้องชดใช้ค่าปรับที่กำหนดไว้ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการที่ศาลจะกำหนดให้ฝ่ายที่ผิดสัญญารับผิดชำระค่าปรับเพียงใด ศาลจะต้องคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริงที่เกิดขึ้นแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่เฉพาะแต่ความเสียหายในเชิงทรัพย์สิน
โจทก์เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ มีการสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศหรือในประเทศมาจำหน่ายให้แก่ลูกค้ารายย่อยในประเทศไทยจำนวนมากเป็นธรรมดาที่โจทก์ต้องมีการเจรจาตกลงสั่งซื้อน้ำมันล่วงหน้าจากผู้ผลิตน้ำมันจากต่างประเทศ ซึ่งโจทก์ต้องยอมรับความเสี่ยงเรื่องการขึ้นลงของน้ำมันในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศซึ่งเคลื่อนไหวตลอดเวลา การแนะนำลูกค้าให้ทำสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าจากโจทก์ ถือเป็นการแบ่งเบาภาระและความเสี่ยงอันเกิดจากราคาน้ำมันของโจทก์ไปให้แก่ลูกค้าของโจทก์นั่นเอง สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่เข้าลักษณะของสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ
โจทก์อ้างสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานเอกสารโดยจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้านการนำเอกสารมาสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานโดยไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ เมื่อศาลมิได้รับฟังต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานหลักฐาน ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ ปิดอากรแสตมป์แล้วไม่ได้ขีดฆ่าหรือไม่ ย่อมไม่มีผลให้การรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานเปลี่ยนแปลงไป
แม้เอกสารท้ายฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แต่เอกสารท้ายฟ้องส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเป็นการรับรองการมอบอำนาจของโจทก์ที่ทำในต่างประเทศโดยโนตารีปับลิกแห่งกรุงลอนดอน ซึ่งคำฟ้องโจทก์บรรยายเป็นภาษาไทยไว้ชัดเจนว่า โจทก์ได้แต่งตั้งและมอบอำนาจให้ ว. กระทำการแทนโจทก์รวมทั้งมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้วว่าการมอบอำนาจไม่ว่าการมอบอำนาจภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร มิได้กระทำโดยผู้มีอำนาจ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจปลอมและตราประทับไม่ใช่ตราประทับที่แท้จริง การที่ไม่มีคำแปลหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นภาษาไทย ก็ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญากันว่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต จำเลยที่ 1 ตกลงสั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์ตามราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา และโจทก์ก็ตกลงจะขายให้จำเลยที่ 1 ในราคาดังกล่าว เมื่อถึงช่วงเวลาตามสัญญาคู่สัญญาก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงต่อกัน ฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา สัญญาดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการพนันขันต่อ จึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะ
ค่าปรับคือ ค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้า กำหนดให้ฝ่ายที่ปฏิบัติผิดสัญญาต้องชดใช้ค่าปรับที่กำหนดไว้ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการที่ศาลจะกำหนดให้ฝ่ายที่ผิดสัญญารับผิดชำระค่าปรับเพียงใด ศาลจะต้องคำนึงถึงความเสียหายที่แท้จริงที่เกิดขึ้นแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่เฉพาะแต่ความเสียหายในเชิงทรัพย์สิน
โจทก์เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ มีการสั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศหรือในประเทศมาจำหน่ายให้แก่ลูกค้ารายย่อยในประเทศไทยจำนวนมากเป็นธรรมดาที่โจทก์ต้องมีการเจรจาตกลงสั่งซื้อน้ำมันล่วงหน้าจากผู้ผลิตน้ำมันจากต่างประเทศ ซึ่งโจทก์ต้องยอมรับความเสี่ยงเรื่องการขึ้นลงของน้ำมันในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศซึ่งเคลื่อนไหวตลอดเวลา การแนะนำลูกค้าให้ทำสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าจากโจทก์ ถือเป็นการแบ่งเบาภาระและความเสี่ยงอันเกิดจากราคาน้ำมันของโจทก์ไปให้แก่ลูกค้าของโจทก์นั่นเอง สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่เข้าลักษณะของสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6698/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากไม่ก่อสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์จะชำระค่างวดแล้ว
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยทั้งหกจึงมีหน้าที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ คือ ปลูกสร้างทาวน์เฮาส์และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และแม้สัญญาจะไม่มีกำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยทั้งหกจะต้องดำเนินการก่อสร้างทาวน์เฮาส์ในที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาให้แล้วเสร็จสมบูรณ์พร้อมโอนกรรมสิทธิ์ในเวลาอันสมควร เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่างวดตามสัญญา คงเหลือเงินเพียงงวดสุดท้ายที่จะต้องชำระให้จำเลยทั้งหกในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่จำเลยทั้งหกกลับให้เวลาผ่านไปเนิ่นนานโดยมิได้ปฏิบัติการก่อสร้างทาวน์เฮาส์ให้แล้วเสร็จ ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดที่ดิน และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยทั้งหกจึงมิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 211 โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดนัดและถือว่าจำเลยทั้งหกเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย จำเลยทั้งหกจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6231/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์เมื่อรับมอบสินค้า สถานที่รับมอบจึงเป็นสถานที่เกิดมูลคดี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เหนือบุคคล โจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์มีภูมิลำเนาที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ส่วนจำเลยมีภูมิลำเนาที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ในการติดต่อสั่งซื้อสินค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้น จำเลยจะส่งใบสั่งซื้อสินค้าทางโทรสารไปยังที่ทำการโจทก์ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หลังจากนั้นโจทก์จะจัดส่งสินค้าให้จำเลย ณ ที่ทำการบริษัทจำเลยที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เห็นว่า การที่จำเลยทำคำเสนอส่งให้แก่โจทก์ทางโทรสารเป็นเพียงการแสดงเจตนาต่อโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์บอกกล่าวสนองรับไปถึงจำเลย ณ ที่นั้นเวลานั้นแต่อย่างใด ทั้งจำเลยไม่ได้แสดงเจตนาโดยให้ถือว่าการดำเนินการจัดส่งสินค้าเป็นการสนองรับหรือปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยมีประเพณีปฏิบัติในการค้าต่อกัน โดยไม่จำต้องมีคำสนองรับที่จะก่อให้เกิดสัญญาจนทำให้เกิดมูลหนี้ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น การที่โจทก์จัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อไปให้จำเลย ณ ที่ทำการบริษัทจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และจำเลยได้ยอมรับมอบสินค้าไว้แทนการบอกกล่าวสนองรับ จึงถือว่าสถานที่รับมอบสินค้าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาและมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล ทั้งกรณีไม่ใช่เรื่องมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันในอันที่โจทก์จะเสนอคำฟ้องได้ทั้งสองศาล โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้น ที่โจทก์ฎีกาว่า การแสดงเจตนาของจำเลยมีผลนับแต่เวลาที่โจทก์ได้ทราบการแสดงเจตนา สัญญาซื้อขายจึงเสร็จสมบูรณ์ ณ ที่ทำการโจทก์นั้นเป็นเรื่องผลของการแสดงเจตนา เมื่อไม่มีการสนองรับในขณะนั้น จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ ณ สถานที่และในเวลาเดียวกันกับที่มีคำเสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 168 และ 356
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นกลบเกลื่อนการกู้ยืมเงิน สิทธิในที่ดินยังเป็นของผู้กู้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การตอนแรกว่า ต. และจำเลยที่ 1 ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่สัญญาซื้อขายตามฟ้องเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ที่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์ จึงเป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้น ว่าสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การตอนหลังว่า สัญญาซื้อขายตามฟ้องมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ และตัดฟ้องโจทก์ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น ก็มิใช่ว่าเป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่า ต. และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธินำพยานเข้าสืบหักล้างสัญญาซื้อขายตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การที่โจทก์ปล่อยปละละเลยให้เวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี นับแต่ที่อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจาก ต. และจำเลยที่ 1 โดยมิได้จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาททั้งสองซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดำเนินการปกป้องสิทธิของตนเองเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อพิรุธของโจทก์อย่างยิ่ง ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทราบดีว่าตนมีสิทธิเพียงเข้าทำกินในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่างดอกเบี้ยเท่านั้นเอง การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ทำให้นิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง
แม้กรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ต.และจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้อง เป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่าง ต. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับกันได้
การที่ ต. และจำเลยที่ 1 มิได้ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์และให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นการทำกินต่างดอกเบี้ย ต. และจำเลยที่ 1 มิได้สละการครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ว่าโจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ เพราะยังถือได้ว่าโจทก์ครอบครองแทน ต. หรือทายาทของ ต. และจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดไป
การที่โจทก์ปล่อยปละละเลยให้เวลาล่วงเลยมานานเกือบ 20 ปี นับแต่ที่อ้างว่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาจาก ต. และจำเลยที่ 1 โดยมิได้จัดให้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาททั้งสองซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติที่ไม่ดำเนินการปกป้องสิทธิของตนเองเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อพิรุธของโจทก์อย่างยิ่ง ส่อแสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์ทราบดีว่าตนมีสิทธิเพียงเข้าทำกินในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงต่างดอกเบี้ยเท่านั้นเอง การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้องจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ทำให้นิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง
แม้กรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ ต.และจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตามฟ้อง เป็นนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่าง ต. กับโจทก์ จึงมีผลบังคับกันได้
การที่ ต. และจำเลยที่ 1 มิได้ขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่ ต. และจำเลยที่ 1 กู้เงินไปจากโจทก์และให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นการทำกินต่างดอกเบี้ย ต. และจำเลยที่ 1 มิได้สละการครอบครองให้แก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ว่าโจทก์จะครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ เพราะยังถือได้ว่าโจทก์ครอบครองแทน ต. หรือทายาทของ ต. และจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19391/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยโอนที่ดินให้บุคคลภายนอกหลังสัญญาซื้อขาย ยังต้องรับผิดตามสัญญาเดิม ศาลยืนตามเดิม
การที่จำเลยไม่ปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ให้ไว้แก่โจทก์ได้นั้น เป็นเพราะจำเลยได้โอนที่ดินพิพาทไปให้บุคคลภายนอกซึ่งถือได้ว่าเป็นความผิดอันเกิดแต่ฝ่ายของจำเลยเอง จำเลยยังคงมีความรับผิดที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้อง เพราะอาจมีการเพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลย และดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้จำเลยไม่จำต้องรับผิดดำเนินการดังกล่าวต่อโจทก์