คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7798/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากผู้ร้องมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
เนื้อหาฎีกาของผู้ร้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญล้วนคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น คงมีส่วนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยในรายละเอียดซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของผู้ร้องมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ควรวินิจฉัยอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7460/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น และยืนตามคำพิพากษาเดิมในคดีอาญา
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้จำเลยที่ 1 นำบัตรสินเชื่อเกษตรกรของผู้เสียหายไปใช้ซื้อสินค้า เมื่อขายสินค้าได้ จำเลยที่ 1 จะมอบเงินสดให้แก่ผู้เสียหาย ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จำหน่ายสินค้าแล้วแต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จึงไม่สามารถนำเงินมาคืนให้แก่ผู้เสียหายตามที่ตกลงกัน ทำนองว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ไม่ได้วินิจฉัยในข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ เพราะไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดมีผลผูกพันคดีแพ่งที่เกี่ยวข้อง การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คดีนี้ ในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์มิได้ฎีกา ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ อันจะใช้สิทธิฎีกาในคดีส่วนอาญาดังกล่าวได้ คดีส่วนอาญาย่อมยุติและถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์จึงถือได้ว่า จำเลยมิได้ร่วมกระทำความผิดกับพวก แม้คดีส่วนแพ่งของผู้ร้องจะมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเกินสองแสนบาท และไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญารับฟังเป็นยุติแล้วว่า จำเลยมิได้ร่วมกระทำความผิด ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ข้อเท็จจริงในส่วนคดีแพ่งจึงต้องฟังว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อผู้ตายอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ – ประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน – ผลผูกพันคำพิพากษา – การย้อนสำนวน
โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในอีกคดีหนึ่งฟ้องแย้งให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวรับผิดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยร่วมกระทำผิดสัญญาโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับที่กล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้ ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้และคดีดังกล่าวจึงมีประเด็นอย่างเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคดีดังกล่าวว่าจำเลยร่วมดำเนินการก่อสร้างและส่งมอบงานให้แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ในกรณีที่บริษัท ว. ไม่คืนหนังสือคํ้าประกันการปฏิบัติงานตามสัญญาและหนังสือคํ้าประกันการคืนเงินเบิกล่วงหน้าให้แก่กิจการร่วมค้า ส. และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์และจำเลยร่วมคู่ความในคดีนี้ต่างเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของโจทก์และจำเลยร่วมในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยร่วมในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แต่สำหรับจำเลยนั้น เมื่อจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าในคดีดังกล่าวศาลจะพิพากษาว่าจำเลยร่วมไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่คดียังไม่ถึงที่สุดโดยอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา หากในชั้นที่สุดศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นประการใด ผลของคำพิพากษาในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันทั้งโจทก์และจำเลยร่วมในคดีนี้ด้วย และคดีนี้ยังมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามคำให้การของจำเลยต่อไปอีกว่า หนังสือค้ำประกันที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เป็นการค้ำประกันครอบคลุมความรับผิดในความเสียหายตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี และมาตรา 83 จำคุกคนละ 7 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 จังหวัดขอนแก่น มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยซึ่งไม่เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 และมาตรา 183 ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมารับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยทั้งสองมา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกฎีกาของจำเลยทั้งสอง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2559)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4142/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามคำพิพากษาถึงที่สุด ไม่อาจขอผ่อนชำระได้โดยอาศัย พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่จำเลย 3,600,000 บาท และต่อไปอีกเดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องแย้งจนกว่าคดีถึงที่สุด การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอผ่อนชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเดือนละ 50,000 บาท โดยอาศัย พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 162 วรรคหนึ่ง นั้น ไม่อาจทำได้เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งคุ้มครองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูตามคำพิพากษา จึงกำหนดมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันว่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้รับชำระจริง หาใช่เพื่อกำหนดวิธีการชำระหนี้เป็นก้อนหรือผ่อนชำระให้แตกต่างไปจากคำพิพากษาอันถึงที่สุดไม่ โจทก์มีหน้าที่ตามคำบังคับที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ผลคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีแพ่งตามที่ตกลง
การที่คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3604/2555 ของศาลชั้นต้น เป็นข้อแพ้ชนะคดีนี้แทน ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดี เพราะเป็นคำท้าที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาซึ่งมีคู่ความรายเดียวกันและในมูลกรณีเดียวกันกับคดีนี้ จึงเป็นคำท้าที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันคู่ความและศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามคำท้านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง กรณีถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง คำท้าจึงมีผลผูกพันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3230/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมายหลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์กลับ การถอนการบังคับคดี และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เพื่อขายทอดตลาดในคดีหมายเลขแดงที่ ย. 211/2546 ของศาลแพ่ง เป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โดยขณะนำยึดทรัพย์สินนั้นคำพิพากษาของศาลแพ่งยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่และยังไม่ได้ถูกกลับโดยคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องคดีดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว กรณีถือได้ว่าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (3) และบทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี แม้ศาลแพ่งจะได้ออกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ไว้แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะถอนการบังคับคดีโดยโจทก์หรือจำเลยไม่ต้องร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลที่สั่งบังคับคดีไว้ และแม้เมื่อยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. และค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี อันเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 153 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีเป็นผู้ชำระและจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีไม่ได้ชำระก็เป็นเรื่องระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพื่อชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 ตรี ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295 (3) เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสวมสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วน ไม่ใช่การแทนที่เจ้าหนี้เดิมทั้งหมด การขอเข้าเป็นเจ้าหนี้อีกคนหนึ่งในคดีไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ตามคำร้องฉบับแรกผู้ร้องมีความประสงค์ขอเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิมทั้งหมด แต่คำร้องฉบับหลังเป็นการยื่นคำร้องเข้ามาโดยมีความประสงค์ขอเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิมเพียงบางส่วนคือขอเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ข้อ 3 และข้อ 4 ส่วนสิทธิตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ยังเป็นของโจทก์เดิม อันหมายความได้ว่า โจทก์เดิมยังคงเป็นคู่ความในคดีหรือยังคงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิบังคับชำระหนี้ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ได้ต่อไป คำร้องฉบับหลังของผู้ร้องดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการขอเข้ามาในลักษณะเป็นโจทก์อีกคนหนึ่งหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งโดยโจทก์เดิมก็ยังคงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเช่นเดียวกัน มิใช่เป็นการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิมซึ่งมีผลทำให้โจทก์เดิมพ้นจากการเป็นคู่ความหรือพ้นจากการเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและทำให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้แทนอันเป็นการเข้าสวมสิทธิตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 แต่อย่างใด ซึ่งไม่มีกฎหมายใดอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาในคดีเพื่อเป็นโจทก์อีกคนหนึ่งหรือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งในลักษณะเช่นนี้ได้ ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้แก้ไขคำสั่งให้สวมสิทธิเดิมและยังคงคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เดิม
จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยนัดประชุมคณะกรรมการและไม่มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อลงมติให้เรียกประชุมใหญ่ จำเลยทั้งสี่มิได้จัดส่งหนังสือนัดประชุมใหญ่แก่สมาชิกทุกคน จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม จำเลยทั้งสี่กำหนดอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ของสมาชิกแตกต่างจากที่ได้จดทะเบียนไว้ในข้อบังคับ และจำเลยทั้งสี่เสนอตารางการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยมิได้เรียงลำดับข้อที่ขอแก้ไขเทียบกับข้อบังคับเดิม เนื้อหาฎีกาของโจทก์ดังกล่าวในส่วนที่เป็นสาระสำคัญล้วนคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้น คงมีส่วนเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยในรายละเอียด ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ควรวินิจฉัยอย่างไร และด้วยเหตุผลใด จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 189