พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5544/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการยื่นคำร้อง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้ว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ในการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ต่อไปได้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 บัญญัติว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หมายความตลอดถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทน ดังนั้น การขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายก็ชอบที่จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในคดีล้มละลาย ไม่ใช่ยื่นคำร้องในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งการออกเสียงเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย และผลต่อการลงมติยอมรับประนอมหนี้
การออกเสียงลงมติของเจ้าหนี้มีผู้คัดค้านในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกว่าจะยอมรับคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 หรือไม่นั้น จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 35 วรรคสอง ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจะให้เจ้าหนี้ดังกล่าวที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว แต่ศาลยังไม่ได้พิจารณามีคำสั่งขอรับชำระหนี้ให้มีสิทธิออกเสียงในจำนวนหนี้เท่าใดเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถสั่งในขณะนั้นได้ ในคดีนี้ได้ความว่ามีเจ้าหนี้คัดค้านการออกเสียงของผู้ร้อง และผู้คัดค้านได้สอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องเสร็จสิ้นจนมีความเห็นให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องแล้ว แสดงว่าผู้คัดค้านสามารถพิจารณาสั่งให้ผู้ร้องออกเสียงได้เท่าใดหรือไม่จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนคำขอรับชำระหนี้แล้ว แม้ระหว่างระยะเวลาผู้คัดค้านแก้ฎีกาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วบางส่วน แต่ไม่ปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด และไม่ว่าผู้ร้องจะมีสิทธิออกเสียงในการประชุมเต็มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ หรือเป็นจำนวนตามที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาต เมื่อนำยอดหนี้ดังกล่าวไปรวมกับยอดหนี้ของเจ้าหนี้ที่ลงมติไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายแล้ว มติของเจ้าหนี้ที่ออกเสียงยอมรับคำขอประนอมหนี้ก็ยังคงเป็นมติพิเศษของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากที่มีจำนวนหนี้มากกว่าสามในสี่แห่งจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งคำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่ให้ผู้ร้องออกเสียงลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกดังกล่าวหาได้มีผลไปถึงการประชุมเจ้าหนี้ในครั้งต่อไปหรือมีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้แต่ประการใด คำสั่งของผู้คัดค้านที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การโอนทรัพย์พิพาทเป็นนิติกรรมที่กระทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ทั้งเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนอันเป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 ประกอบมาตรา 114 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ผู้โอนและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนอันเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว
พยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย เนื่องจากทรัพย์พิพาทแม้จะมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่าเป็นเวลาอีกกว่า 10 ปี ทรัพย์พิพาทก็ยังคงมีมูลค่าอยู่ แต่จำเลยที่ 2 กลับโอนให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีค่าตอบแทนในขณะที่คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 5 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 86,908,418.05 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 โอนทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าเป็นทางที่ทำให้เจ้าหนี้ทั้งหลายต้องเสียเปรียบ อันเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
ข้อที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้ดำเนินการเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเกินระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้นั้น เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย เนื่องจากทรัพย์พิพาทแม้จะมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่าเป็นเวลาอีกกว่า 10 ปี ทรัพย์พิพาทก็ยังคงมีมูลค่าอยู่ แต่จำเลยที่ 2 กลับโอนให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีค่าตอบแทนในขณะที่คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 5 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 86,908,418.05 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 โอนทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าเป็นทางที่ทำให้เจ้าหนี้ทั้งหลายต้องเสียเปรียบ อันเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
ข้อที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้ดำเนินการเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเกินระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้นั้น เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการรับฟังเอกสารที่จำเลยไม่ปฏิเสธ
โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสารของราชการที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง แต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าสำเนาโฉนดที่ดินเป็นของจำเลยที่ 2 เอกสารแสดงรายการที่จำเลยทั้งสองกับพวกถูกฟ้องคดีต่อศาล จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าถูกฟ้องคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งเอกสารดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารที่มีคำรับรองอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย หากมีเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
การฟ้องคดีล้มละลายเป็นการฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย เจ้าหนี้รายอื่นของลูกหนี้แม้ไม่ได้ยื่นฟ้องก็มีสิทธิในทรัพย์สินของลูกหนี้โดยอาศัยวิธีการในกฎหมายล้มละลาย เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้วในคดีนี้ และเจ้าหนี้ที่ยื่นฟ้องจำเลยไว้ต้องไปใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อไป กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ ล.221/2528 และคดีล้มละลายอีก 9 คดี ที่จำเลยถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องเป็นคดีล้มละลายจะต้องพิจารณาคดีอีกต่อไป ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 ทั้งคำสั่งจำหน่ายคดีก็มิได้ลบล้างผลของการยื่นคำฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยถูกฟ้องขอให้ล้มละลายในคดีนี้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2528 แต่จำเลยถูกฟ้องขอให้ล้มละลายในคดีหมายเลขดำที่ ล.221/2528 แล้วตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2528 การที่จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 25 และ 27 มิถุนายน 2528 ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 (เดิม)
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 (เดิม) มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและการเสียค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น คดีนี้ขณะโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเจ้าหนี้อีกหลายราย การโอนที่ดินพิพาททำให้กองทรัพย์สินของจำเลยลดน้อยถอยลง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นไม่ได้รับชำระหนี้หรือได้รับชำระหนี้น้อยกว่าที่ควรจะได้รับ การโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 จึงทำให้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น กรณีมีเหตุให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนได้
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 (เดิม) มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและการเสียค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น คดีนี้ขณะโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเจ้าหนี้อีกหลายราย การโอนที่ดินพิพาททำให้กองทรัพย์สินของจำเลยลดน้อยถอยลง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นไม่ได้รับชำระหนี้หรือได้รับชำระหนี้น้อยกว่าที่ควรจะได้รับ การโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 จึงทำให้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น กรณีมีเหตุให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการล้มละลายไม่กระทบสิทธิผู้รับประกันภัยต่อผู้รับประกันอื่น โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง บัญญัติว่า คำสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกันหรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน... ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 จึงมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้ที่โจทก์อาจขอรับชำระหนี้ได้ในการฟื้นฟูกิจการ แต่คงมีผลเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ และหนี้นั้นหาได้ระงับหมดสิ้นไปไม่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งอาจต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในมูลละเมิดต้องเป็นไปตามสัญญาประกันภัย และบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ว่าด้วยเรื่องประกันภัยค้ำจุน การที่จำเลยที่ 1 หลุดพ้น ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ดังนั้น ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มา 113,450 บาท เกินไป 113,250 บาทและจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 113,451 บาท เกินไป 113,251 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ดังนั้น ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มา 113,450 บาท เกินไป 113,250 บาทและจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 113,451 บาท เกินไป 113,251 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งยกเลิกการล้มละลายไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้เดิม เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 136 บัญญัติว่า "คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หรือ (2) นั้นไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด" เมื่อกฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้ว่าหนี้ใดบ้างหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลายจึงต้องแปลว่าหนี้สินทุกชนิดที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนฟ้องอย่างไรก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิมอย่างนั้น ดังนั้น แม้โจทก์มิได้นำหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว หนี้ของโจทก์ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย การพิสูจน์สุจริตและผลของการยินยอมจากผู้ทำแผน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 ให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตกแก่ผู้ทำแผนเมื่อศาลคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว และให้นำบทบัญญัติมาตรา 90/12 (9) มาใช้บังคับแก่ผู้ทำแผนโดยอนุโลม ดังนั้น การให้ความยินยอมในการรับโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงถือเป็นการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนที่จะให้ความยินยอมได้ ทั้งไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 90/12 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลก่อนล้มละลาย: เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้ กรณีจึงต้องถือว่าเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับไปจากศาลชั้นต้น คงมีสิทธิเพียงยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องนำสืบหลักฐานเอง และหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังรู้ฐานะลูกหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเรื่องหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้นั้นว่าต้องกระทำเมื่อใด การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อศาลล้มละลายกลางว่าเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เสียนั้นมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ การทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในส่วนนี้จึงชอบแล้ว
เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น
เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น