พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ไม่สร้างผลเสียหายเจ้าหนี้ ไม่ต้องแก้ไขตามมาตรา 146
กระบวนการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น ลำพังความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ทำเสนอต่อศาลเกี่ยวกับการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับได้โดยทันที จึงไม่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทำความเห็นเสนอต่อศาลเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง โดยเห็นควรให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 3,013,498.94 บาท จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ จึงยังมิได้ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย กรณีไม่ต้องด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ที่ผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขความเห็นของผู้คัดค้านดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2287/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายที่มิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งตาม กม.ล้มละลาย พ.ศ.2542 ต้องห้ามอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้มีคำสั่งว่าจำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ซื้อขายที่ดินของจำเลยตลอดจนมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้คืนโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยอันเป็นผลของการยกเลิกการล้มละลายนั้น มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งไม่มีกรณีจำต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์สินล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน, อำนาจผู้คัดค้าน, และผลของการพิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้รายที่ 7 ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 (จำเลยที่ 1) ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) และเจ้าหนี้รายที่ 7 ได้จัดการให้ผู้คัดค้านดำเนินการยึดหลักประกันของลูกหนี้ที่ 1 แล้ว ต่อมาระหว่างประกาศขายทอดตลาด ศาลฎีกามีคำพิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องลูกหนี้ที่ 1 ทำให้ผู้คัดค้านหมดอำนาจที่จะจัดการขายทอดตลาดหลักประกันดังกล่าวและมิใช่เป็นความผิดของเจ้าหนี้รายที่ 7 แต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 7 นำค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามมาตรา 179 (3) (เดิม) ไปชำระต่อผู้คัดค้าน
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้รายที่ 7 ที่ขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านงดเว้นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายจากเจ้าหนี้รายที่ 7 มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องนั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวตามมาตรา 26 วรรคสี่ จึงรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้รายที่ 7 ที่ขอให้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านงดเว้นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายจากเจ้าหนี้รายที่ 7 มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องนั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวตามมาตรา 26 วรรคสี่ จึงรับพิจารณาพิพากษาคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันต้องบรรยายฟ้องตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย หากไม่ปฏิบัติตาม ฟ้องไม่ชอบ
ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยว่า หนี้ของจำเลยที่ 2 ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงยุติตามคำพิพากษาของศาลล้มละลายกลางแล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงอุทธรณ์ในปัญหาว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน แต่ไม่บรรยายฟ้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) ด้วยมิได้ เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายในปัญหานี้ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) บังคับว่า กรณีที่เจ้าหนี้มีประกันฟ้องคดีล้มละลายจะต้องกล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่ สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท คดีนี้ได้ความตามฟ้องว่าโจทก์มีทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นประกัน โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 6 ฉะนั้น การที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ล้มละลาย โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ล้มละลาย จะสละที่ดินหลักประกันของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาที่ดินดังกล่าวมาในฟ้องซึ่งหักกับจำนวนหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อนำราคาประเมินของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันแล้วนำมาหักทอนกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามยังค้างชำระหลังหักราคาหลักประกันออกแล้วเป็นหนี้ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา ที่ศาลล้มละลายกลางรับฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไว้พิจารณาและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เด็ดขาด เป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 (2) บังคับว่า กรณีที่เจ้าหนี้มีประกันฟ้องคดีล้มละลายจะต้องกล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้วเงินยังขาดอยู่ สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท คดีนี้ได้ความตามฟ้องว่าโจทก์มีทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นประกัน โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 6 ฉะนั้น การที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ล้มละลาย โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ล้มละลาย จะสละที่ดินหลักประกันของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาที่ดินดังกล่าวมาในฟ้องซึ่งหักกับจำนวนหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อนำราคาประเมินของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันแล้วนำมาหักทอนกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสามยังค้างชำระหลังหักราคาหลักประกันออกแล้วเป็นหนี้ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา ที่ศาลล้มละลายกลางรับฟ้องโจทก์ในส่วนนี้ไว้พิจารณาและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เด็ดขาด เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวและข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดนราธิวาส โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับแล้ว แต่ไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ข้อเท็จริงฟังได้ว่าโจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รวม 2 ครั้ง ครั้งแรกตามเอกสารหมาย จ.31 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 และครั้งที่สองตามเอกสารหมาย จ.33 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ซึ่งปรากฎว่าตามเอกสารหมาย จ.31 โจทก์ทวงถามโดยระบุว่า เป็นหนี้ตามสัญญากู้เงินและเป็นการทวงถามก่อนมีการฟ้องคดีแพ่งอันเป็นมูลเหตุที่โจทก์นำเอาคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายคดีนี้ จึงเป็นการทวงถามคนละมูลหนี้กับมูลหนี้ตามฟ้องคดีนี้ ถือไม่ได้ว่าการทวงถามครั้งแรกเป็นการทวงถามในมูลหนี้ตามคำฟ้องคดีล้มละลาย ดังนั้น จึงฟังได้ว่าคดีนี้โจทก์ทวงถามเพียงครั้งเดียว กรณีไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ที่จะถือว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามความเป็นจริง ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 7 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) แล้ว ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เด็ดขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นในคดีฟื้นฟูกิจการ: ตัดสิทธิการควบคุมกำกับดูแลเมื่อมีกฎหมายล้มละลายเฉพาะ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 มาตรา 90/59 และมาตรา 90/69 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้วทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้บริหารแผน ผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ตามลำดับขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดจากการร่วมกันทำให้บริษัทลูกหนี้เสียหายให้แก่บริษัทลูกหนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตามมาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตามมาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมและการฟ้องล้มละลาย: ความรับผิดชอบหนี้สินที่ยังไม่ชำระ
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยทั้งสองยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์แยกเป็นต้นเงินจำนวน 1,000,000 บาท และดอกเบี้ยจำนวน 187,093 บาท และโจทก์ตกลงให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระรวม 10 งวด หากจำเลยทั้งสองผิดนัดยอมให้คิดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม การที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว กรณีจึงเป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งโจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งโดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เมื่อจำเลยที่ 2 ยังมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์จึงนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่มีเงื่อนไข และการล้มละลาย การคืนเงินมัดจำเมื่อเกิดพ้นวิสัย
โจทก์ไม่ได้ออกทุนรอนหรือยุยงส่งเสริมให้ จ. เป็นความกับ ม. กับพวก ข้อกำหนดตามสัญญาจะซึ้อขาย ข้อ 4 ที่ว่าจะโอนที่ดินเมื่อผู้ขายชนะคดีความไม่มีภาระผูกพันต่อคดีนั้น มีลักษณะเป็นเงื่อนไขในสัญญาประการหนึ่งและเป็นข้อความที่คัดลอกมาจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างจำเลยกับ จ. ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ เงินมัดจำที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยจึงไม่ใช่เงินที่ชำระโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411
จำเลยได้ฟ้อง จ. ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แล้วต่อมาคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงให้ทายาทของ จ. นำที่ดินแปลงที่ จ. ทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยไปขายให้แก่ผู้อื่นได้โดยทายาทของ จ. ยินยอมชำระเงินให้จำเลย 1,000,000 บาท จึงเป็นผลให้จำเลยไม่มีที่ดินโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อไป ถือว่าการโอนที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำที่รับไปแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 (3) จึงฟังได้ว่าหนี้เงินมัดจำที่รับไว้จากโจทก์จำนวน 2,450,000 บาท เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
จำเลยได้ฟ้อง จ. ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แล้วต่อมาคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยตกลงให้ทายาทของ จ. นำที่ดินแปลงที่ จ. ทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยไปขายให้แก่ผู้อื่นได้โดยทายาทของ จ. ยินยอมชำระเงินให้จำเลย 1,000,000 บาท จึงเป็นผลให้จำเลยไม่มีที่ดินโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อไป ถือว่าการโอนที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำที่รับไปแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 (3) จึงฟังได้ว่าหนี้เงินมัดจำที่รับไว้จากโจทก์จำนวน 2,450,000 บาท เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10298/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการฟ้องล้มละลายข้ามประเทศ: การพิจารณาภูมิลำเนาของลูกหนี้
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุดแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งหยุดนับระยะเวลาในการที่จำเลยที่ 1 จะได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 81/2 ประกอบมาตรา 81/3 ในชั้นนี้จึงมีประเด็นเพียงว่า ศาลล้มละลายกลางสมควรที่จะมีคำสั่งให้หยุดนับระยะเวลาในการที่จำเลยที่ 1 จะได้รับการปลดจากล้มละลายหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางสอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในวันนัดไต่สวนคำขอดังกล่าวเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ในขณะที่มีการขอให้จำเลยที่ 1 ล้มละลายหรือภายในกำหนดเวลา 1 ปี ก่อนนั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 7 แล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10298/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งให้ล้มละลายแล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุดแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด และในชั้นนี้มีประเด็นในศาลล้มละลายกลางเพียงว่าศาลล้มละลายกลางสมควรที่จะมีคำสั่งให้หยุดนับระยะเวลาในการที่จำเลยที่ 1 จะได้รับการปลดจากล้มละลายหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงไม่ชอบ