พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,003 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17093/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาซื้อขาย: ผู้รับโอนสิทธิไม่มีอำนาจฟ้องแทนคู่สัญญาเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในฐานะจำเลยเป็นผู้ขาย อันเป็นการฟ้องให้รับผิดตามสัญญาซื้อขาย เมื่อโจทก์โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ทำไว้กับจำเลยให้แก่ ข. ต่อมา ข. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลยและจดทะเบียนรับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาแล้ว ข. จึงเป็นคู่สัญญากับจำเลย โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลย แม้โจทก์จะได้รับการให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ข. ก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะให้ ไม่มีบทบัญญัติว่าผู้รับต้องรับสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ของผู้ให้ไปด้วย ซึ่งต่างจากกรณีทายาทรับมรดกที่จะเป็นผู้สืบสิทธิได้ สิทธิที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องตามสัญญาซื้อขายเป็นบุคคลสิทธิบังคับได้ระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ใช่คู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15919/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น.ส.3ก.ออกโดยมิชอบ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4410 เป็นการออกเฉพาะราย โดยมีการนำหลักฐาน ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาเป็นหลักฐาน เป็นการออก น.ส.3 ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องเพิกถอนตามมาตรา 61 แห่ง ป.ที่ดิน ซึ่งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า จำเลยนำ น.ส.3 ก. ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาหลอกขายให้โจทก์และได้รับเงิน 660,000 บาท จำเลยไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินแปลงนั้น โจทก์ซื้อที่ดินมาไม่ได้สิทธิครอบครอง การที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยจึงเป็นการทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จึงต้องคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 412 ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินได้ และการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการติดตามเอาเงินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่ามีการทวงถามจำเลยให้ชำระเงินคืนเมื่อไร จำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15794/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินอันเกิดจากกลฉ้อฉล และสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก
จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินให้ ย่อมทำให้นิติกรรมอันเกิดจากการแสดงเจตนาของโจทก์ในการทำสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคแรก เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อันมีผลเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกและให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ซึ่งมีความหมายรวมถึงสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 โอนกลับคืนมาเป็นของโจทก์ด้วยผลของกฎหมาย เพราะสิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นโดยผลของสัญญาขายฝากซึ่งมีที่ดินทั้งสองแปลงเป็นวัตถุแห่งหนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 497 (2) จำเลยที่ 2 ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่ไปขอใช้สิทธิไถ่ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ยอมรับและโจทก์นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่โดยมิได้สละสิทธิถอนทรัพย์ที่วางไว้ จำเลยที่ 2 จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินที่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากคืนแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15686/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสอบราคาซื้อขาย
คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยไม่ไปลงนามในสัญญาซื้อขายอันเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่จำเลยผู้เสนอราคาต้องปฏิบัติตามใบสอบราคา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยโจทก์ได้บอกเลิกการสั่งซื้อรถยนต์จากจำเลยแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โจทก์บอกเลิกสัญญาและจำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2547 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14294/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในสัญญาซื้อขายแทนผู้อื่นโดยมิได้เจตนาปลอมแปลงเอกสาร ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
จำเลยเขียนชื่อของผู้เสียหายลงในช่องผู้จะซื้อของสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำโดยเป็นการเขียนให้เป็นลายมือของจำเลยเอง และยังใช้คำว่านายนำหน้าชื่อผู้เสียหายและเขียนชื่อผู้เสียหายผิดจาก "ประพฤทธิ์" เป็น "ประพฤติ" แสดงว่าจำเลยมิได้เจตนาจะเลียนให้เหมือนหรือคล้ายคลึงลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้เสียหายแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การลงลายมือชื่อปลอม เมื่อจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายทั้ง 2 ฉบับ ในฐานะเป็นตัวแทนของผู้เสียหายและ ฉ. ไม่ได้ทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงซึ่งผู้เสียหายทำด้วยตนเอง อันจะเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ ส่วนจำเลยจะเป็นตัวแทนมีอำนาจทำสัญญาแทนผู้เสียหายจริงหรือไม่ ก็เป็นปัญหาเพียงเรื่องการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งหรือจะผูกพันผู้เสียหายที่เป็นตัวการหรือไม่เพียงใดเท่านั้น แต่ไม่ทำให้สัญญาดังกล่าวกลายเป็นเอกสารปลอมไปได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13923/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงราคาและการยกเว้นการชำระหนี้เนื่องจากสินค้าชำรุด
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ ต่อมาก่อนเช็คพิพาทถึงกำหนด จำเลยพบว่าสินค้าที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยตามใบสั่งซื้อ มีวาล์ว 10 ตัว จากจำนวนที่สั่งซื้อ 20 ตัว ชำรุดบกพร่องใช้การไม่ได้ ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้ขายจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระไว้ได้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามมาตรา 488 การที่จำเลยออกเช็คโดยจำนวนเงินตามเช็คเป็นการชำระค่าสินค้าทั้งหมดตามใบสั่งซื้อให้แก่โจทก์ แต่มีสินค้าบางส่วนชำรุดบกพร่อง อันมีเหตุให้จำเลยไม่ต้องชำระเงินเต็มตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในเช็คพิพาท จำเลยจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้ธนาคารห้ามการใช้เงิน ต่อมาเมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12203/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายรถยนต์: เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์และผลกระทบต่อความผิดฐานออกเช็ค
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สัญญาซื้อขายรถยนต์สมบูรณ์ การที่โจทก์ร่วมตกลงกับจำเลยนอกเหนือจากสัญญาซื้อขายรถยนต์ว่าจะยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่จำเลยจนกว่าเช็คทั้งสี่ฉบับจะเรียกเก็บเงินได้นั้น แสดงว่าโจทก์ร่วมและจำเลยตกลงให้ถือการที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับหรือไม่ เป็นเงื่อนไขของการที่จะมีนิติสัมพันธ์กันตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ ตราบใดที่ธนาคารยังไม่จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับ สัญญาซื้อขายรถยนต์ย่อมไม่มีผลสมบูรณ์ โจทก์ร่วมมีสิทธิติดตามเอารถยนต์กลับคืนมาได้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์ร่วมให้การในชั้นสอบสวนว่ามีข้อตกลงนอกเหนือจากสัญญาซื้อขายรถยนต์ดังกล่าว ย่อมฟังได้ว่าขณะที่จำเลยออกเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับยังไม่มีมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลย แม้ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับ จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11031/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในสัญญาซื้อขาย แม้เป็นของจำเลย แต่หากไม่รู้เห็นการกรอกข้อความ สัญญาไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการทำสัญญา
จำเลยให้การว่าลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยเป็นเอกสารปลอม คำให้การดังนี้เป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว นอกจากนั้นยังเป็นการอ้างว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อขายเป็นของจำเลยแต่จำเลยไม่ได้รู้เห็นในการเขียนข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว เท่ากับหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ดังฟ้อง กรณีจึงไม่เป็นการนำสืบและรับฟังนอกประเด็นที่ให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10736/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาซื้อขาย การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินแก่โจทก์เป็นค่าปรับรายวันตามสัญญาพิพาทข้อ 10 โดยศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าภายในกำหนดเวลาตามสัญญาพิพาทและวินิจฉัยว่าการคิดค่าปรับตามสัญญาข้อ 10 ดังที่ฟ้องขอมา ต้องเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา แต่เป็นกรณีมีระยะเวลาส่งมอบสินค้าขึ้นมาใหม่ซึ่งมิใช่การแสดงเจตนาของโจทก์ฝ่ายเดียวดังข้อเท็จจริงที่โจทก์เสนอแสดง เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหลักประกันเงินจำนวน 7,490 บาท ที่ฝ่ายจำเลยมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวเป็นค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และแม้การใช้สิทธิเลิกสัญญาไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าโจทก์ได้รับความเสียหายฐานผิดสัญญาเกินไปกว่าจำนวนเงินค่าเสียหายที่ฝ่ายจำเลยวางเป็นหลักประกันดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเท่ากับจำนวนเงินดังกล่าว อันย่อมเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยแปลความข้อสัญญาพิพาทโดยตรง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ขอตามข้อสัญญาดังกล่าว จึงหาใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการกำหนดค่าเสียหายไม่ ดังนั้น แม้ทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์โต้เถียงในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ก็หาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เมื่อฝ่ายจำเลยทำข้อตกลงไว้กับโจทก์ตามหนังสือสัญญาในข้อ 9 ว่า การบอกเลิกสัญญาเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าไม่ส่งมอบ ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิริบหลักประกัน และในข้อ 10 วรรคแรกว่า ค่าปรับในกรณีที่ผู้ซื้อมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 ผู้ขายต้องชำระค่าปรับให้ผู้ซื้อเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญา โดยเฉพาะในวรรคท้ายที่ว่า "ในระหว่างที่ผู้ซื้อมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้น หากผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน...ฯลฯ...และถ้าผู้ซื้อได้แจ้งข้อเรียกร้องให้ชำระค่าปรับไปยังผู้ขาย เมื่อครบกำหนดส่งมอบแล้ว ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะปรับผู้ขายจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกด้วย" ดังนี้ การที่ฝ่ายจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที แต่ได้เร่งรัดให้ฝ่ายจำเลยดำเนินการนำสินค้าตามสัญญาไปส่งมอบพร้อมทั้งสงวนสิทธิในการปรับเป็นรายวันดังกล่าวไว้ ซึ่งต่อมาฝ่ายจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบ เมื่อต่อมาโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงย่อมมีสิทธิบังคับตามสัญญาทั้งข้อ 9 และข้อ 10 วรรคแรกกับวรรคท้าย คือริบเงินหลักประกันและปรับฝ่ายจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสินค้าที่ยังไม่ได้รับมอบ ดังที่แจ้งสงวนสิทธิไว้แล้ว นับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบสินค้าตามสัญญา คือวันที่ 3 เมษายน 2549 จนถึงวันที่บอกเลิกสัญญาด้วย และกรณีตามสัญญาข้อ 10 นี้ มิใช่เป็นเรื่องที่จะเกิดสิทธิได้ก็ต่อเมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยต่างได้แสดงเจตนาตกลงกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้ากันขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาแล้วดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ไม่ อย่างไรก็ดี การปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสินค้าตามสัญญาข้อ 10 นี้ ก็คือเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลยเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา ซึ่งหากเบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อฝ่ายจำเลยทำข้อตกลงไว้กับโจทก์ตามหนังสือสัญญาในข้อ 9 ว่า การบอกเลิกสัญญาเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าไม่ส่งมอบ ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิริบหลักประกัน และในข้อ 10 วรรคแรกว่า ค่าปรับในกรณีที่ผู้ซื้อมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 ผู้ขายต้องชำระค่าปรับให้ผู้ซื้อเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญา โดยเฉพาะในวรรคท้ายที่ว่า "ในระหว่างที่ผู้ซื้อมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้น หากผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน...ฯลฯ...และถ้าผู้ซื้อได้แจ้งข้อเรียกร้องให้ชำระค่าปรับไปยังผู้ขาย เมื่อครบกำหนดส่งมอบแล้ว ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะปรับผู้ขายจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกด้วย" ดังนี้ การที่ฝ่ายจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาทันที แต่ได้เร่งรัดให้ฝ่ายจำเลยดำเนินการนำสินค้าตามสัญญาไปส่งมอบพร้อมทั้งสงวนสิทธิในการปรับเป็นรายวันดังกล่าวไว้ ซึ่งต่อมาฝ่ายจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบ เมื่อต่อมาโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงย่อมมีสิทธิบังคับตามสัญญาทั้งข้อ 9 และข้อ 10 วรรคแรกกับวรรคท้าย คือริบเงินหลักประกันและปรับฝ่ายจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสินค้าที่ยังไม่ได้รับมอบ ดังที่แจ้งสงวนสิทธิไว้แล้ว นับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบสินค้าตามสัญญา คือวันที่ 3 เมษายน 2549 จนถึงวันที่บอกเลิกสัญญาด้วย และกรณีตามสัญญาข้อ 10 นี้ มิใช่เป็นเรื่องที่จะเกิดสิทธิได้ก็ต่อเมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยต่างได้แสดงเจตนาตกลงกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้ากันขึ้นมาใหม่อีกครั้งหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาแล้วดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ไม่ อย่างไรก็ดี การปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสินค้าตามสัญญาข้อ 10 นี้ ก็คือเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลยเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา ซึ่งหากเบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8942/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มัดจำสัญญาซื้อขาย: ศาลลดริบได้หากสูงเกินส่วนตาม พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
เงินที่โจทก์ชำระให้จำเลยที่ 1 ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายนั้น เป็นการให้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาจะซื้อจะขายได้ทำขึ้นแล้ว และเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา โดยคู่สัญญามีเจตนาจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ หรือหากโจทก์ละเลยไม่ชำระหนี้ก็ให้ริบเงินนั้นได้ตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมัดจำมิใช่เบี้ยปรับ เพราะเบี้ยปรับเป็นกรณีที่ลูกหนี้สัญญาจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อตนไม่ชำระหนี้อันเป็นการกำหนดค่าเสียหายเอาไว้ล่วงหน้าเท่านั้น คู่สัญญามิได้มีเจตนาให้เอาเบี้ยปรับเป็นการใช้เงินบางส่วนเมื่อชำระหนี้ แม้ตาม ป.พ.พ. มิได้ให้อำนาจศาลที่จะลดมัดจำดังเช่นเบี้ยปรับ แต่ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 7 บัญญัติว่า ในสัญญาที่มีการให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ หากมีกรณีที่จะต้องริบมัดจำ ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้ โดยบทกฎหมายดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งให้ศาลพิจารณาตามที่เห็นสมควรหากมัดจำสูงเกินส่วน ศาลจึงมีอำนาจลดมัดจำได้