คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13812/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ไม่มีความผิดทางอาญา แต่ประมาทเลินเล่อในการทำงาน
การกระทำที่ไม่เป็นความผิดในคดีอาญา แต่อาจจะเป็นการกระทำความผิดทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานได้ แม้คดีอาญาจะเป็นความผิดที่เกี่ยวกับแผ่นดินซึ่งอาจจะมีความสำคัญมากกว่าความผิดทางวินัย แต่การพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อคดีอาญาหรือไม่ หรือเป็นความผิดทางวินัยหรือไม่ ย่อมมีองค์ประกอบและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกันไป ไม่อาจนำข้อสรุปของการพิจารณาแต่ละกรณีมาใช้บังคับแก่กันได้ แม้คดีอาญาที่จำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์จะถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาเป็นข้อยุติว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดทางวินัยด้วยได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นพนักงานเก็บรักษาของอันเป็นการปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง กรณีย่อมมีเหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13524/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ - ความผิดทางวินัยร้ายแรง - การนำเงินค่าไฟฟ้าไปฝากบัญชี
โจทก์เป็นพนักงานการเงินของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่เก็บเงินค่าไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้า แต่ไม่ดำเนินการนำเงินค่าไฟฟ้าที่เก็บมาได้ฝากเข้าบัญชีของจำเลยในธนาคารด้วยตนเอง ให้ถูกต้องตามระเบียบการปฏิบัติงานหรือคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยสูญเสียรายได้ในกิจการไป ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งของนายจ้าง และเป็นความผิดทางวินัยกรณีที่ร้ายแรง จำเลยชอบที่จะเลิกจ้างหรือมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงาน โดยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12652/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจัดสรรหุ้นของอดีตพนักงานขึ้นอยู่กับสถานะการเลิกจ้าง หากเลิกจ้างเพราะทุจริต ย่อมไม่มีสิทธิ
ในโครงการของจำเลยที่ 1 ที่เสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่อดีตพนักงานของจำเลยที่ 1 และบริษัทในเครือนั้น อดีตพนักงานที่จะมีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของจำเลยที่ 1 หากพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเพราะถูกเลิกจ้างจะต้องเป็นกรณีที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด โดยในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยและค่าเสียหาย ศาลไกล่เกลี่ยคู่ความจนคดีสามารถตกลงกันได้ซึ่งจำเลยที่ 2 จ่ายเงินให้โจทก์และโจทก์ยอมถอนฟ้อง จึงเท่ากับว่าคำสั่งเลิกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงยังคงอยู่ไม่ได้ถูกเพิกถอน โจทก์จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11432/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างเหตุประมาทเลินเล่อ: การปล้นทรัพย์และบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายไม่ถือเป็นความประมาท
รถบรรทุกสิบล้อขนส่งเหล็กที่จำเลยที่ 2 ขับมีน้ำหนักมาก คนขับจำต้องตรวจสอบยางเป็นระยะ เพื่อป้องกันมิให้ยางระเบิดซึ่งอาจทำให้รถพลิกคว่ำเป็นเหตุให้รถและเหล็กที่บรรทุกมาเสียหายได้ ถนนที่เกิดเหตุก็เป็นถนนคอนกรีตฝั่งละ 3 ช่องทางเดินรถ มีเกาะกลางถนนและมีไฟฟ้าส่องสว่าง ไม่ใช่ถนนที่มีสภาพเปลี่ยวมากนัก เมื่อถูกคนร้ายปล้นรถและเหล็กแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ถูกคนร้ายใช้มีดฟันจนดั้งจมูกหัก แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจคาดหมายว่าจะถูกคนร้ายปล้น การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากทำร้ายผู้บังคับบัญชาถือเป็นเหตุร้ายแรง และการพักงานเพื่อสอบสวนต้องไม่ตัดค่าจ้าง
การพักงานที่เป็นโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยต้องเป็นการพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง การที่จำเลยพักงานโจทก์ 7 วัน และหักค่าจ้างโจทก์ไว้ร้อยละ 50 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อรอการสอบสวนหาข้อเท็จจริงการกระทำผิดของโจทก์จึงไม่ใช่การลงโทษทางวินัย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่าพนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาทหรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัท เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย พ. ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยชกที่ใบหน้า ปาก และศีรษะ แสดงว่าโจทก์ไม่มีความยำเกรงต่อผู้บังคับบัญชา ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ชอบธรรมจากความจงใจทำร้ายประโยชน์นายจ้าง และสิทธิในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
งานเชื่อมโครงหลังคาเหล็กบ้านพักคนงานของจำเลยเป็นหน้าที่ของ ก. ผู้รับเหมาจากจำเลยต้องดำเนินการ โจทก์ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง การที่โจทก์สั่งคนงานของจำเลย 44 คน ไปช่วยผู้รับเหมาทำงานเชื่อมโครงสร้างเหล็กหลังคาโดยที่จำเลยเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้คนงานรวม 172,040 บาท เป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของโจทก์ ทำให้จำเลยขาดประโยชน์จากแรงงานของคนงานเหล่านั้น เป็นกรณีโจทก์จงใจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67, 119 (2), 17 วรรคห้า ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ และ ป.พ.พ. มาตรา 583
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีมีการจดทะเบียนก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และบริษัทในเครือซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินจากกองทุนให้โจทก์หากโจทก์มีสิทธิได้รับตามมาตรา 23 จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกองทุน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสมทบส่วนของจำเลยในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อนายจ้างเคยเตือนเรื่องความผิดนั้นแล้ว และเหตุเลิกจ้างไม่ร้ายแรง
เมื่อนายจ้างลงโทษลูกจ้างในการกระทำความผิดเรื่องนั้นไปแล้ว ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนในเรื่องเดิมได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7791/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสมและสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของนายจ้าง
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้ร้องประกอบกิจการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์จำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศ รถยนต์ที่จำหน่ายใช้ชื่อทางการค้าว่า "เชฟโรเลต" ผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน วันที่ 13 มีนาคม 2552 คณะกรรมการสหภาพแรงงานมีมติให้นัดหยุดงาน เวลา 22 นาฬิกา ของวันนั้นผู้คัดค้านเปลือยกายถ่ายรูปทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวที่หน้าป้ายชื่อบริษัทผู้ร้องและป้ายชื่อ "เชฟโรเลต" เป็นการกระทำไม่ให้เกียรติแก่สถานที่ทำงานของผู้คัดค้าน ลบหลู่ไม่ให้เกียรติแก่ผู้ร้อง ต่อมามีการนำภาพถ่ายดังกล่าวไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศ ย่อมมีผลทำให้ผู้ร้องเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณในทางการค้าของผู้ร้องอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงมีเหตุสมควรและเพียงพอให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6533-6534/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร
เดิมจำเลยมีข้อตกลงจ่ายค่านายหน้าจากการขายให้โจทก์ทั้งสองในอัตราร้อยละ 1 จากยอดเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้า จึงเป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างและโจทก์ทั้งสองผู้เป็นลูกจ้างตกลงกันให้จ่ายค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ต่อมาจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่านายหน้าใหม่โดยกำหนดอัตราค่านายหน้าตามระยะเวลาที่ลูกค้าชำระค่าสินค้า และกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ แม้จำเลยอ้างว่ากำหนดขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าของลูกค้าก็ตาม แต่การทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือการติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของงานในความรับผิดชอบของพนักงานขาย ค่านายหน้าที่จำเลยต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่นี้จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานนั่นเอง ค่านายหน้าตามข้อตกลงเดิมและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4756/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกมีผลเลิกสัญญาจ้างทันที แม้จำเลยมีมติยุบสายงานพร้อมกัน การยุบสายงานไม่ใช่การเลิกจ้าง
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 โจทก์ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยระบุให้มีผลเป็นการพ้นสภาพพนักงานในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลย เจตนาเลิกสัญญาของโจทก์มีผลแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือลาออกต่อจำเลยและจะถอนไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง การอนุมัติให้ลาออกเป็นขั้นตอนและระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลย ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของโจทก์ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ตามหนังสือลาออกของโจทก์
of 205